kyc ของ ธนาคาร
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

KYC -ของธนาคาร คืออะไร!? มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง!?

kyc ของ ธนาคาร

 

KYC ของธนาคาร.......เมื่อได้ยินหรือทำความรู้จักกับ KYC ไปแล้วว่ามันคืออะไร อะไรคือขั้นตอนและวิธีการรวมถึงวัตถุประสงค์ของมัน ที่สำคัญท่านผู้อ่านอาจจะยิ่งสงสัยว่าเมื่อยามเปิดบัญชีกับธนาคารหรือสถาบันการเงินก็เท่ากับว่าท่านได้ทำ KYC แล้ว ทีนี้คงจะอยากรู้ใช่ไหมคะว่า KYC ของธนาคารเป็นยังไง มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง ตามไปอ่านด้านล่างกันเลยค่ะ

 

KYC ของธนาคาร : ความหมายของ KYC

KYC ของธนาคาร : ทางธนาคารแห่งประเทศและธนาคารพาณิชย์ได้ให้ความหมายไว้ว่า KYC หรือ Know Your Customer หมายถึง กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของบุคคล ซึ่งจะเกิดขึ้นเพื่อให้ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินได้รู้จักกับลูกค้า รู้ข้อมูลทางการเงินเบื้องต้นทุกอย่าง ทั้งนี้ก็เพื่อประเมินความเสี่ยงในการลงทุนและเพื่อคอยดูแลในเรื่องพฤติกรรมทางธุรกรรมการเงินค่ะ

 

KYC ของธนาคาร : KYC และคู่หู CCD ในกฎหมายฟอกเงิน 

kyc ของ ธนาคาร

 

KYC ของธนาคาร : โดยเจ้า KYC จะมาคู่กับ CCD ค่ะ ซึ่งทั้งสองตัวเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายฟอกเงิน ที่เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอีกที ซึ่งรัฐบาลได้ออกกฎหมายบังคับใช้ให้ทุกๆธนาคารและสถาบันการเงินที่ต้องตรวจสอบลูกค้าทุกคนที่เปิดบัญชี เช่น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล บุคคล ที่ไม่มีความสามารถตามกฎหมาย (ผู้เยาว์) และองค์กรที่ไม่ใช่นิติบุคคล 

 

KYC ของธนาคาร : ความเป็นมาของ KYC

KYC ของธนาคาร : KYC มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2550 เพื่อตามให้ทันการโจรกรรมและการฟอกเงินในยุคใหม่ที่มักใช้ช่องทางเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ จึงทำให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือ ปปง. เลือกที่จะออกกฎหมายข้อนี้เพื่อให้ธนาคารและสถาบันการเงินในกำกับดูแลทำ KYC กับลูกค้าของธนาคารนั้นๆทุกแห่ง

 

KYC ของธนาคาร : หลักเกณฑ์การทำ KYC ของธนาคาร

 

  • KYC ของธนาคาร : หลักการของธนาคารเมื่อต้องทำ KYC

การเปิดบัญชีเงินฝากทั้งสองแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบพบเห็นลูกค้าต่อหน้า (Face-to-Face) หรือการไม่พบลูกค้าต่อหน้าแต่เป็นการที่ลูกค้าเปิดบัญชีผ่านเครื่อง kiosk , Internet Banking , Mobile Banking ก็ได้แต่ข้อสำคัญคือ สถาบันการเงินต้องมีกระบวนการรู้จักลูกค้า (Know Your Customer: KYC)  ซึ่งเป็นกระบวนการที่สถาบันการเงินต้องพิสูจน์ตัวตนว่าลูกค้าที่มาขอเปิดบัญชีเงินฝากเป็นลูกค้ารายนั้นจริง เพื่อป้องกันการทุจริตจากการปลอมแปลงหรือใช้ข้อมูลบุคคลอื่นในการทางธุรกรรมและเพื่อป้องกันการฟอกเงินค่ะ

  • KYC ของธนาคาร : ขั้นตอนการทำ KYC
  1. KYC ของธนาคาร : สถาบันการเงินต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตนและตรวจสอบความถูกต้องความแท้จริงและความเป็นปัจจุบันของข้อมูลและเอกสารหลักฐานการแสดงตนที่ได้รับจากลูกค้า
  2. KYC ของธนาคาร : สถาบันการเงินต้องบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความเสี่ยงของธุรกรรมและช่องทางการเปิดบัญชีเงินฝาก
  3. KYC ของธนาคาร : สถาบันการเงินต้องให้ความสาคัญและบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงและผลกระทบของเทคโนโลยี ให้นำมาใช้ในการให้บริการเปิดบัญชีเงินฝากและรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Security) เพื่อให้กระบวนการรู้จักลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
  4. KYC ของธนาคาร : สถาบันการเงินต้องให้ความสาคัญกับกระบวนการรู้จักลูกค้าโดยกำหนดนโยบายและกระบวนการการปฏิบัติงานภายในของสถาบันการเงินที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ต้องสื่อสารทำความเข้าใจและให้ความรู้กับลูกค้าเพื่อให้ตระหนัก ระวังและป้องกันการถูกเปิดบัญชีเงินฝากปลอมโดยบุคคลอื่น
  5. KYC ของธนาคาร : ห้ามสถาบันการเงินจะเปิดบัญชีเงินฝากให้กับลูกค้าที่ปกปิดชื่อจริง ใช้ชื่อแฝง หรือใช้ชื่อปลอม

 

KYC ของธนาคาร : บทส่งท้าย

kyc ของ ธนาคาร

 

เป็นอย่างไรบ้างคะกับการทำความรู้จัก kyc ของธนาคารที่ทางเราคัดสรรมาให้ โดยการทำ KYC นี้มีขึ้นเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองไม่ใช่ว่าเป็นการสอดส่องเพื่อหาข้อผิดพลาด ที่สำคัญระบบนี้ยังจะช่วยดูแลสิ่งผิดปกติในการทำธุรกรรมของท่านด้วยและความปลอดภัยอย่างยิ่งของระบบ KYC นั่นคือ หากท่านถูกโจรกรรมทางการเงิน ระบบนี้ก็จะช่วยเหลือท่านได้เช่นกันค่ะ คราวหน้าจะมีอะไรมาฝากอีก โปรดรอติดตามด้วยนะคะ

 

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
เช็กยอดบัตรเครดิตออมสิน ออนไลน์
ธนาคาร/สถาบันการเงินผู้ให้บริการบัตรเครดิต
เช็คยอดบัตรเครดิตออมสินออฟไลน์ ออนไลน์หรือแอพฯ ช่องทางไหนเร็วสุด!?
มารู้จักกับ 5 ช่องทางในการเช็คยอดและตรวจสอบ บิลบัตรเครดิตออมสิน ทั้งแล...