หลักเกณฑ์ kyc
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

Contents

พาไปดู หลักเกณฑ์ kyc แบบกูรู ใครอยากรู้ อย่าพลาดบทความนี้!

หลักเกณฑ์ kyc

 

หลักเกณฑ์ kyc.......หากท่านผู้อ่านได้อ่านความหมายของระบบ kyc รับทราบถึงสาเหตุและวิธีบังคับใช้ แต่ก็คงยังจะไม่คลายสงสัยว่าอะไรคือ หลักเกณฑ์ของการทำ kyc บ้าง ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลยหากผู้ใช้บริการอยากรู้เพื่อความมั่นใจในอีกขั้น บทความนี้ได้เตรียมทุกอย่างมาอย่างครบถ้วนเพื่อคุณผู้อ่านชาวกูรูเครดิตเพราะแบบนั้นอย่ารอช้า ไปติดตามข้อมูลจุกๆด้านล่างกันเลย

 

หลักเกณฑ์ kyc : กระบวนการรู้จักลูกค้ามีอะไรบ้าง? 

กระบวนการรู้จักลูกค้า (KYC หรือ Know Your Customer) มีขั้นตอนหลักๆอยู่สองขั้นตอนค่ะ นั่นคือ การแสดงตนของลูกค้า (Identification)กับการพิสูจน์ตัวตนลูกค้า (Verification) โดยทางสถาบันการเงินที่เราไปใช้บริการต้องปฏิบัติ ดังนี้

 

1ต้องให้ลูกค้าแสดงตนและตรวจสอบความถูกต้อง

ทางสถาบันการเงินมีหน้าที่จัดให้ผู้ใช้บริการแสดงตน และมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องแต่ไม่ใช่แค่ถูกต้องอย่างเดียวนะคะ ยังต้องตรวจสอบความเป็นปัจจุบันของเอกสารแสดงตนด้วย ที่สำคัญคือ ทางสถาบันการเงินมีหน้าที่ตรวจสอบว่าคนในเอกสารกับคนที่นำมายื่นเป็นคนเดียวกันหรือไม่

 

2ต้องบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมของธุรกรรมและบัญชีเงินฝาก

สถาบันการเงินต้องพิสูจน์ลูกค้าที่ไม่ได้เปิดบัญชีเงินฝากแบบพบเห็นกันต่อหน้าอย่างเข้มข้นกว่า ไม่เพียงแค่นั้นยังต้องติดตามดูแลการเคลื่อนไหวเพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ

 

3ต้องให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี

ต้องคำนึงถึงความเสี่ยง คำนึงถึงผลกระทบของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการเปิดบัญชีเงินฝากและรักษาความมั่นคงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Security) เพื่อช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับสถาบันการเงิน

 

4ต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบาย

จะต้องมีการกำหนดนโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้เหมาะสมและสื่อสาร รวมถึงทำความใจกับพนักงานที่ปฏิบัติการเพื่อให้ตระหนัก ระมัดระวังและป้องกันการเปิดบัญชีเงินฝากปลอม

 

5ต้องไม่เปิดบัญชีเงินฝากให้กับบุคคลที่น่าสงสัย

หลักเกณฑ์ kyc

 

สถาบันการเงินไม่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าที่จงใจปกปิดชื่อจริง นามแฝงและชื่อปลอม หากเป็นชื่อทางการค้าต้องมีการรับรองจากภาครัฐเท่านั้น

 

หลักเกณฑ์ kyc : หลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า

หลักเกณฑ์ kyc

 

การรู้จักลูกค้า (KYC) ของสถาบันการเงินมี 2 ประเภท ประเภทแรกคือ แบบพบเห็นหน้า ประเภทที่สองคือ แบบไม่พบเห็นลูกค้าต่อหน้า

 

1การแสดงตนของลูกค้า (Identification)

สถาบันการเงินต้องได้รับข้อมูลและเอกสารการยืนยัน การแสดงตนของลูกค้าตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินค่ะ

 

2การพิสูจน์ตัวตนของลูกค้า (Verification)

เมื่อธนาคารหรือสถาบันการเงินได้รับเอกสารจากข้อหนึ่ง ต้องนำมาตรวจสอบความถูกต้องและแท้จริงและความเป็นปัจจุบันด้วยความรัดกุมค่ะ ซึ่งมีเกณฑ์การพิสูจน์ตัวตน ดังนี้

 

การพิสูจน์ตัวตนลูกค้าด้วยสถาบันการเงินเอง

หลักเกณฑ์ kyc

 

  • การพิสูจน์ตัวตนลูกค้าแบบพบกันต่อหน้า (Face-to-Face)

1.1 สถาบันการเงินจะต้องดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง ความแท้จริง และความเป็นปัจจุบันของ ข้อมูลและเอกสารหลักฐานการแสดงตนที่ได้รับจากการระบุตัวตนหรือการแสดงตนของลูกค้า

1.2 ทางสถาบันการเงินจะต้องพิสูจน์ว่าเป็นลูกค้าหรือบุคคลที่ได้รับมอบอานาจทอดสุดท้ายจากนิติบุคคล รายนั้นจริง

1.3 เอกสารที่นำมายื่นจะต้องเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ เช่น การใช้ประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) เป็นเอกสารหลักฐานการแสดงตน สถาบันการเงินต้อง ตรวจสอบข้อมูลจากเครื่องอ่านบัตรประจาตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card Reader) และตรวจสอบสถานะของบัตรประจาตัวประชาชนผ่านระบบการตรวจสอบทางอิเล็กทรอนิกส์

1.4 สามารถใช้เทคโนโลยีชีวมิติเพื่อพิสูจน์ลูกค้า

 

  • การพิสูจน์ตัวตนลูกค้าแบบไม่พบเห็นต่อหน้า (Non Face-to-Face)

2.1 สถาบันการเงินจะต้องดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง ความแท้จริงและความเป็นปัจจุบันของ ข้อมูลและเอกสารหลักฐานการแสดงตนที่ได้รับจากการระบุตัวตนหรือการแสดงตนของลูกค้า

2.2 ทางสถาบันการเงินจะต้องพิสูจน์ว่าเป็นลูกค้าหรือบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจทอดสุดท้ายจากนิติบุคคลรายนั้นจริง

2.3 เอกสารที่นำมาต้องเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ เช่น บัตรประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) โดยต้องตรวจสอบข้อมูลจากเครื่องอ่านบัตรประจาตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card Reader) และตรวจสอบสถานะของบัตรประจาตัวประชาชนผ่านระบบการตรวจสอบทางอิเล็กทรอนิกส์

2.4  สถาบันการเงินต้องถ่ายรูปลูกค้า ไม่เพียงเท่านั้นยังต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อพิสูจน์ความเป็นบุคคลและสังเกตพฤติกรรมลูกค้า (Liveness Detection) และเทคโนโลยีเปรียบเทียบข้อมูลชีวมิติของลูกค้า (Biometric Comparison)

การพิสูจน์ตัวตนลูกค้าด้วยระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล

เป็นการยืนยันตัวตนลูกค้าผ่าน National Digital Platform หรือ (NDID Platform) แทนการพิสูจน์การยื่นเอกสาร ซึ่งการพิสูจน์ในระบบนี้จะต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าการพิสูจน์ลูกค้าด้วยสถาบันการเงินเอง

 

หลักเกณฑ์ kyc : บทส่งท้าย

หลักเกณฑ์ kyc

 

หลังจากอ่านจบจะเห็นได้เลยว่าหลักเกณฑ์ระบบ kyc ไม่ใช่เล่นๆเลย เนื่องจากมีการพิสูจน์หลายขั้นตอนมาก ไม่ว่าจะเป้นทางหลักฐานเอกสารหรือทางเทคโนโลยีเพื่อป้องกันการเปิดบัญชีปลอมอันนำมาซึ่งการโจรกรรมหรือการฟอกเงิน ที่แม้จะหลบเลี่ยงไปเปิดแบบไม่เห็นหน้าก็ยังไม่ได้รับข้อยกเว้น กลับกันยิ่งตรวจเข้มกว่าเดิม นับว่าเป็นระบบที่ปลอดภัยหายห่วงสำหรับลูกค้าสถาบันการเงินทุกคนเลยค่ะ

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
[15 บัตรกดเงินสด] อนุมัติง่าย วงเงินสูงในปี 2021-2022 มีของอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง!?
ธนาคาร/ผู้ให้บริการบัตรกดเงินสด
[15 บัตรกดเงินสด] อนุมัติง่าย วงเงินสูงในปี 2021-2022 มีของอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง!?
มาทำความรู้จักกับ 15 บัตรกดเงินสดว่ามีของอะไรบ้างที่น่าสนใจ ควรค่ากับก...
ประกัน นวกิจ ดี ไหม
ประกัน
ประกันรถยนต์นวกิจดีจริงไหม? พร้อมไขข้อข้องใจกับประกันรถยนต์ผ่อนสบาย มีรถยนต์ใช้ระหว่างซ่อม! [ข้อมูลปี 2021]
ให้ความคุ้มครองรอบด้าน พร้อมดูแลรถยนต์ของคุณ ด้วยนวกิจประกันภัย จากเมื...