Contents
- 1 ทำความรู้จักสินเชื่อส่วนบุคคลปิดบัตรเครดิตและการแก้ไขหนี้สินฉบับได้ผลจริง!
- 2 สินเชื่อส่วนบุคคลปิดบัตรเครดิต : ขั้นตอนการแก้ไขหนี้สิน เริ่มจากการตั้งสติ
- 3 1ตั้งสติ
- 4 2ทำการจำแนกค่าใช้จ่าย
- 5 3มองหาธนาคารที่เหมาะสมกับสถานการณ์
- 6 4จัดการหนี้ด้วยการบริหารอันทรงประสิทธิภาพ
- 7 สินเชื่อส่วนบุคคลปิดบัตรเครดิต : ทำความรู้จักกับสินเชื่อส่วนบุคคลปิดบัตรเครดิต (Personal Loan)
- 8 1ขอสินเชื่อส่วนบุคคลปิดบัตรเครดิต (Personal Loan) จากธนาคาร
- 9 2ขอสินเชื่อบ้านแลกเงินปิดบัตรเครดิต (Home for cash)
- 10 สินเชื่อส่วนบุคคลปิดบัตรเครดิต : บทส่งท้าย ถ้าคุณสมบัติได้ โอกาสในการกู้ผ่านยิ่งสูง
ทำความรู้จักสินเชื่อส่วนบุคคลปิดบัตรเครดิตและการแก้ไขหนี้สินฉบับได้ผลจริง!
บัตรเครดิต....ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคปัจจุบันถือเป็นสิ่งที่เกือบทุกท่านมีติดกระเป๋าไว้ใช้สำรองเงินสด หรือบางท่านอาจใช้บัตรเครดิตสำหรับการจับจ่ายใช้สอยเป็นหลักด้วยซ้ำ เนื่องจากการใช้งานสะดวกสบายโดยไม่ต้องพกอะไรให้วุ่นวาย แค่ใบเดียว (หรือหลายใบ) ก็ไปได้ทุกที่ บางครั้งทางบัตรก็ยังจัดแคมเปญแจกของ เก็บแต้มแลกส่วนลดทำให้ความนิยมในการใช้บัตรเครดิตพุ่งสูง ทว่าปัญหาการใช้เงินเกินตัวหรือสภาพคล่องทางการเงินติดขัดโดยไม่ตั้งใจ ท่านผู้ประสบปัญหาจะทำอย่างไรกับหนี้ก้อนใหญ่? ในบทความนี้มีคำตอบค่ะ
สินเชื่อส่วนบุคคลปิดบัตรเครดิต : ขั้นตอนการแก้ไขหนี้สิน เริ่มจากการตั้งสติ
เมื่อคุณพบว่าหนี้สินที่มีเริ่มล้นพ้นตัว โดยมักจะเกิดกับหนี้จากบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดที่มาพร้อมกับดอกเบี้ยสูง ในบทความนี้จะขอให้ทุกท่านที่กำลังประสบปัญหาทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1ตั้งสติ
ในขั้นตอนนี้ทุกท่านต้องมีสติเป็นอย่างแรก อย่าเพิ่งตื่นตระหนกจนคิดอะไรไม่ออก ขอให้ท่านตรวจสอบว่าท่านมีหนี้จำนวนเท่าไหร่เมื่อรวมเงินต้นและดอกเบี้ย มีหนี้กี่แหล่ง ขอให้ท่านคิดคำนวณให้ละเอียดและครบถ้วนทุกหนี้ที่มีค่ะ
2ทำการจำแนกค่าใช้จ่าย
ในขั้นตอนนี้เพื่อตรวจสอบว่าค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของท่าน ค่าใช่จ่ายรายเดือนของท่านหมดไปกับรายการใดบ้าง ตัวอย่างเช่น
2.1 ค่าเช่าที่พัก/ค่าผ่อนที่อยู่อาศัย
2.2 ค่าบริโภค (อาหาร,น้ำ)
2.3 ค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ,ค่าไฟ,ค่าโทรศัพท์,ค่าอินเตอร์เน็ต)
2.4 ค่างวดรถหรือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
2.5 ค่ารักษาพยาบาล
2.6 เงินอุปการะบิดามารดา
2.7 เงินสงเคราะห์บุตร
2.8 ค่าใช้จ่ายเพื่อตัวเอง (ช็อปปิ้ง, เสื้อผ้า, ดูหนังฟังเพลง)
2.9 เงินสำรองเวลาฉุกเฉิน
2.10 ค่าภาษีและค่ากองทุน
2.11 ตรวจสอบความสามารถในการชำระหนี้
เมื่อท่านตรวจสอบจำนวนเงินและแหล่งที่มา รวมถึงค่าใช้จ่ายรายเดือนเรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนนี้ให้ท่านทำการประเมินตัวเองว่าความสามารถในการผ่อนชำระเป็นอย่างไรบ้าง เริ่มด้วยการนำรายได้หักลบกับรายจ่าย เนื่องด้วยถ้าเกิดการชักหน้าไม่ถึงหลัง เราจะก่อหนี้เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งโดยทั่วไปเงินสำหรับใช้ผ่อนจ่ายไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของจำนวนเงินรายรับ
3มองหาธนาคารที่เหมาะสมกับสถานการณ์
ในขั้นตอนนี้การมองหาธนาคตที่เหมาะสมกับสถานการณ์และเงื่อนไขของท่านจะเป็นสิ่งที่เหมาะที่ควรมากกว่าอะไรทั้งสิ้น เริ่มด้วยการตรวจสอบดอกเบี้ยของสินเชื่อในแต่ละธนาคาร เพื่อที่จะให้เป็นผลดีกับการเงินของท่านที่สุดค่ะ
4จัดการหนี้ด้วยการบริหารอันทรงประสิทธิภาพ
ขั้นตอนแรก
ท่านควรจะเริ่มที่การจัดการรวมยอดหนี้ทั้งหมดที่มีให้เป็นก้อนเดียวค่ะ เพื่อป้องกันการเสียค่าธรรมเนียมชำระเงินในการแยกย่อยจ่าย นอกจากนั้นการมีหนี้ก้อนเดียวยังสามารถบริหารจัดการได้ง่ายกว่าการมีหนี้เล็กๆน้อย
ขั้นตอนที่สอง
เลือกชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงสุดก่อนหนี้ที่มีดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้เงินต้นลดลงและจะทำให้รายจ่ายจากดอกเบี้ยในยอดเงินนั้นลดลง ส่งผลให้เราสามารถประหยัดรายจ่ายได้ และหากมีหนี้นอกรอบ ท่านควรจะจัดการกับหนี้ก้อนนั้นก่อน เนื่องจากเรทดอกเบี้ยมักสูงกว่าหนี้อื่น
ขั้นตอนที่สาม
เพื่อไม่ให้เกิดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมชำระล่าช้า ท่านจึงต้องชำระหนี้ให้ตรงเวลามากที่สุดและนอกจากนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับประวัติการชำระของท่านอีกด้วย หากว่าท่านมีประวัติการชำระดี ธนาคารอาจพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยหรือเสนอสิทธิพิเศษอื่นให้
ขั้นตอนที่สี่
หากมีสภาพคล่องทางการเงินมีมากพอ ขอให้ท่านชำระหนี้มากกว่ายอดเรียกเก็บขั้นต่ำ ด้วยจะทำให้เงินต้นและดอกเบี้ยลดลงไวขึ้น หนี้ที่มีก็จะหมดไวขึ้น
ขั้นตอนที่ห้า
ท่านควรตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อเพิ่มการประหยัดให้มากขึ้น ลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยเพื่อจะเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้มากขึ้น
ขั้นตอนที่หก
ไม่ควรสร้างหนี้เพิ่มเติม ถ้าหากหนี้ก่อนเก่ายังไม่ได้รับการชำระจนหมด เนื่องจากจะทำให้เกิดการพอกพูนภาระมากไปกว่าเดิมและถ้าหากจะใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติมก็ควรพิจารณาเลือกประเภทที่ดอกเบี้ยถูกกว่าเท่านั้นค่ะ
สินเชื่อส่วนบุคคลปิดบัตรเครดิต : ทำความรู้จักกับสินเชื่อส่วนบุคคลปิดบัตรเครดิต (Personal Loan)
แม้ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบแต่ท่านสามารถรวมยอดหนี้ทั้งหมดเป็นก้อนเดียว เพื่อได้รับดอกเบี้ยที่ถูกกว่า อันนำไปซึ่งการลดภาระค่าใช้จ่ายที่เคยมากมายมหาศาลในแต่ละรอบบิลได้ โดยมีสองวิธีที่ได้รับความนิยมนั่นคือ
1ขอสินเชื่อส่วนบุคคลปิดบัตรเครดิต (Personal Loan) จากธนาคาร
เมื่อทำเรื่องขอสินเชื่อส่วนบุคคลแล้วธนาคารอนุมัติให้ ท่านจะได้รับเช็คเงินสดตามจำนวนที่ยื่นกู้และเมื่อท่านนำเช็คนี้ไปขึ้นชำระหนี้บัตรเครดิตทั้งหมด ขั้นตอนต่อจากนี้จะเป็นเรื่องของท่านกับธนาคาร เนื่องด้วยดอกเบี้ยบัตรเครดิตอยู่ในระดับ 20-30% ต่อปีจะทำให้ท่านรับภาระมากกว่าดอกเบี้ยจากธนาคารที่เริ่มเพียง 9% ต่อปีจากรายจ่ายหลักหลายหมื่นจะเหลือเพียงหลักหมื่นนิดๆ ซึ่งสามารถช่วยชีวิตท่านได้มากมาย
2ขอสินเชื่อบ้านแลกเงินปิดบัตรเครดิต (Home for cash)
เนื่องด้วยบ้านถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ท่านสามารถนำไปใช้ขอยื่นกู้สินเชื่อ แล้วดอกเบี้ยที่คิดจากธนาคารจะไม่อยู่ในอัตราที่สูงนัก เนื่องจากมีหลักทรัพย์มั่นคงค้ำประกัน วงเงินที่ท่านจะได้รับค่อนข้างสูงกว่าและสามารถนำไปปิดหนี้อื่นนอกจากบัตรเครดิตได้ด้วย เช่น หนี้นอกระบบ เนื่องด้วยดอกเบี้ยบัตรเครดิตอยู่ในระดับ 20-30% ต่อปีจะทำให้ท่านรับภาระมากกว่าดอกเบี้ยบ้านแลกเงินสดจากธนาคารที่เริ่มเพียง 5.5% ต่อปี จากรายจ่ายหลักหลายหมื่นจะสามารถลดเหลือเพียงหลักหลายพัน ซึ่งสามารถช่วยชีวิตท่านได้อย่างก้าวกระโดดค่ะ
สินเชื่อส่วนบุคคลปิดบัตรเครดิต : บทส่งท้าย ถ้าคุณสมบัติได้ โอกาสในการกู้ผ่านยิ่งสูง
ซึ่งทั้งสองวิธีนี้ทางธนาคารจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อก็ต่อเมื่อตรวจดูความสามารถของผู้ยื่นกู้ในการผ่อนชำระซึ่งมีข้อควรระวังนั่นคือ หากรายได้ของท่านน้อยกว่ารายจ่ายครึ่งหนึ่งหรือก็คือรายจ่ายมากกว่าราย สินเชื่อที่ท่านยื่นขอมักจะไม่ได้รับอนุมัติ ที่สำคัญโปรดระวังในเรื่องของประวัติแบล็คลิสท์ (Blacklist) แต่ถึงอย่างนั้นถ้าหากท่านประสบปัญหาเหล่านี้ก็แนะนำให้เข้าไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อหาทางที่ดีและเหมาะสมที่สุดนะคะ