Contents
- 1 ประกันสุขภาพอะไรบ้างที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้!? บทความนี้มีคำตอบ
- 2 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี
- 3 ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้มีอะไรกันบ้าง!?
- 4 มารู้จักกับ 2 ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี ที่น่าสนใจกันเถอะ!
- 5 1.ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี : ตัวเอง
- 6 เงื่อนไขการนำประกันชีวิตแบบบำนาญมาลดหย่อนภาษี
- 7 2.ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี : บิดามารดา
- 8 เงื่อนไขในการนำประกันสุขภาพของบิดามารดามาใช้ในการลดหย่อนภาษี
- 9 อย่าลืมแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีกับบริษัทประกันภัย
- 10 บทสรุปส่งท้าย : ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีดีไหม ควรทำหรือเปล่า!?
ประกันสุขภาพอะไรบ้างที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้!? บทความนี้มีคำตอบ
หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อนว่า... ที่จริงแล้วประกันสุขภาพสามารถนำมาใช้ช่วยลดหย่อนภาษีรายได้บุคคลได้พอสมควรเลยทีเดียว แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกประกันจะได้รับสิทธิ์นี้กันหมด ดังนั้น ถ้าหากใครกำลังให้ความสนใจกับประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีขอแนะนำว่าให้ทำการอ่านบทความชิ้นนี้ให้จบ รับรองว่าจะช่วยให้ทราบของประเภทประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้เป็นอย่างดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน...
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี
สำหรับคนที่ต้องการจะทำประกันสุขภาพเพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษี ขอแนะนำว่าไม่ควรวางแผนทำประกันสุขภาพเพื่อเหตุผลดีงกล่าวในเวลาที่กระชั้นชิดมากจนเกินไปนัก เพราะประกันสุขภาพของทุกบริษัทจะมีระยะเวลาในการรอคอยการอนุมัติ การซื้ออย่างกระชั้นชิดกับช่วงเวลาลดหย่อนภาษีมากจนเกินไปจะทำให้อาจพลาดการยื่นขอส่วนลดหย่อนภาษีในปีนั้น ดังนั้น ควรทำการวางแผนซื้อประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีเอาไว้เสียตั้งแต่เนิ่นๆจะเป็นการดีกว่านั่นเอง
ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้มีอะไรกันบ้าง!?
โดยทั่วไปแล้วประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ได้แก่ “ประกันชีวิตตัวเอง” และ “ประกันชีวิตของพ่อแม่” โดยสามารถทำการสรุปประเภทของประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี ออกได้เป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
- ประกันที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอาการเจ็บป่วย บาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากอาการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บ
- ประกันอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะและการแตกหักของกระดูก
- ประกันภัยโรคร้ายแรง
- ประกันภัยการดูแลระยะยาว
มารู้จักกับ 2 ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี ที่น่าสนใจกันเถอะ!
มาดูกันดีกว่าว่าประกันสุขภาพ ที่สามารถนำไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้นั้นจะมีอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง
1.ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี : ตัวเอง
- ทำการลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท / ปี
- รวมเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปและเงินฝากแบบมีประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
เงื่อนไขการนำประกันชีวิตแบบบำนาญมาลดหย่อนภาษี
ต้องทำประกันสุขภาพกับบริษัทในประเทศไทยเท่านั้น
2.ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี : บิดามารดา
- ทำการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท / ปี
- กรณีแบ่งจ่ายเบี้ยประกันพ่อแม่กับพี่น้องของตัวเอง สามารถทำการลดหย่อนภาษีได้สูงสุดตามจำนวนยอดเงินหารเฉลี่ยด้วยจำนวนพี่น้องที่ร่วมจ่าย ตัวอย่างเช่น จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ 15,000 บาท ร่วมกันกับพี่น้อง 3 คน จะได้รับการลดหย่อนภาษีต่อคนสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท เป็นต้น)
- กรณีคู่สมรสไม่มีรายได้ เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่และคู่สมรส สามารถนำไปใช้ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท / ปี
เงื่อนไขในการนำประกันสุขภาพของบิดามารดามาใช้ในการลดหย่อนภาษี
- ประเภทเบี้ยประกันสุขภาพที่นำมาลดหย่อนได้ เหมือนกับประกันสุขภาพตัวเอง
- ผู้ชำระเบี้ยประกัน / คู่สมรส ต้องเป็นบุตรแท้ๆตามกฎหมาย (*ยกเว้นบุตรบุญธรรม)
- บิดามารดาต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
- ผู้ชำระเบี้ยประกัน หรือบิดา มารดา คนใดคนหนึ่งต้องอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วัน ในปีที่ทำประกันสุขภาพ
อย่าลืมแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีกับบริษัทประกันภัย
สำหรับคนที่ต้องการใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี อย่าลืมทำการแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีกับบริษัทประกันภัยด้วย เพื่อที่ทางบริษัทจะได้ทำการส่งข้อมูลเกี่ยวกับเบี้ยประกันสุขภาพให้กับทางสรรพากร
บทสรุปส่งท้าย : ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีดีไหม ควรทำหรือเปล่า!?
ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี... เป็นหนึ่งในตัวช่วยลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้น้อยลงได้เป็นอย่างดี ในขณะที่หลายคนอาจคิดว่าการจ่ายเบี้ยประกันเป็นจำนวนมากให้กับประกันสุขภาพอาจเป็นเรื่องที่ดูสิ้นเปลือง เพราะตัวเองแข็งแรงดี แต่อย่าลืมว่าเรื่องของสุขภาพนั้นไม่เข้าใครออกใคร ในวันพรุ่งนี้โรคภัยอาจมาเยือนได้ แถมถ้าหากคิดว่าเบี้ยประกันที่หักไปเมื่อนำไปทำการลดหย่อนภาษีได้มากถึง 15,000 บาทแล้ว ประกันสุขภาพก็แทบเหมือนกับได้มาเปล่า ถ้าหากคิดแบบนี้แล้วการทำประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีเอาไว้ เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวกันเลยทีเดียว...