Contents
- 1 แบบฟอร์ม KYC สำหรับลูกค้านิติบุคคลเป็นนอย่างไร มีขั้นตอนที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง!?
- 2 kyc นิติบุคคล : ทำความรู้จักความหมาย kyc อีกครั้ง
- 3 kyc นิติบุคคล : เหตุผลที่ต้องมี kyc และคู่หู ccd
- 4 kyc นิติบุคคล : นิติบุคคลคืออะไร?
- 5 kyc นิติบุคคล : ตัวอย่างแบบฟอร์ม kyc นิติบุคคล
- 6 ●แบบฟอร์ม kyc ธนาคารกสิกรไทย
- 7 ●แบบฟอร์ม kyc บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
- 8 ●แบบฟอร์ม kyc ธนาคารทหารไทย
- 9 ●แบบฟอร์ม kyc บริษัทเอเชีย พลัส กรุ๊ป โฮสดิ้ง
- 10 kyc นิติบุคคล : บทส่งท้าย
แบบฟอร์ม KYC สำหรับลูกค้านิติบุคคลเป็นนอย่างไร มีขั้นตอนที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง!?
KYC นิติบุคคล......หลังจากได้รู้ความหมาย ขั้นตอน วิธีการและความสำคัญของระบบนี้ไปแล้วในบทความก่อน คราวนี้เราจะพาท่านผู้อ่านเจาะลึกเรื่อง kyc ให้มากขึ้น ซึ่งขะพูดถึงเกี่ยวกับนิติบุคคลที่สถาบันการเงินมีข้อกำหนดและกฎเกณฑ์แยกย่อยให้การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ kyc ในผู้ที่ไม่ใช่บริษัท ซึ่งจุดนี้จะต้องเกี่ยวกับท่านผู้อ่านอย่างแน่นอนค่ะ
kyc นิติบุคคล : ทำความรู้จักความหมาย kyc อีกครั้ง
KYC หรือ Know Your Customer หมายถึง กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของบุคคล ที่เวลาเราไปทำธุรกรรมที่ธนาคารหรือสถาบันการเงิน เช่น การเปิดบัญชี กรณีนี้จะชัดเจนที่สุดเพราะว่าท่านผู้อ่านจะต้องมอบหลักฐานส่วนบุคคล อาทิ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการบันทึกเกี่ยวกับไบโอเมตตริค เช่น การแสกนลายนิ้วมือ มีการบันทึกภาพของท่าน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ถือเป็นหนึ่งในระบบ KYC ค่ะ
kyc นิติบุคคล : เหตุผลที่ต้องมี kyc และคู่หู ccd
ท่านผู้อ่านอาจจะเคยคิดในใจตอนไปทำธุรกรรมที่ธนาคารหรือแม้แต่ทำผ่านโทรศัพท์ เช่นMobile Banking, Internet Banking ว่าทำไมสถาบันการเงินต้องขอให้ยืนยันตัวตนนั่นนี่ บางทีอัพโหลดไฟล์บัตรประชาชนพร้อมตัวเลขหลังบัตร ถ่ายรูปคู่ก็แล้ว นั่นก็ยังไม่พอ ต้องมีการไปยืนยันตัวตนที่ธนาคารซ้ำสอง นี่แหละค่ะ กระบวนการของ kyc ส่วน ccd หรือ Customer Due Diligence พฤติกรรมการโอนเงิน ฝาก ถอน มีความผิดปกติหรือไม่จะอยู่ในช่วงที่ท่านทำธุรกรรมค่ะ ทั้งนี้ก็มีเพื่อเฝ้าระวังการทำผิดกฎหมาย เช่น การฟอกเงินหรือการโจรกรรม
kyc นิติบุคคล : นิติบุคคลคืออะไร?
นิติบุคคลก็คือบุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้นเพื่อให้มีสิทธิ หน้าที่และสามารถทำกิจการอันเป็นการก่อนิติสัมพันธ์ได้ตามในกรอบวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยแบ่งเป็นนิติบุคคลสองประเภท ดังนี้
- นิติบุคคลในกฎหมายเอกชน : นิติบุคคลที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแบ่งและพานิชย์
- นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน : นิติบุคคลที่เกิดขึ้นตามกฎหมายมหาชน โดยอาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติกำนดให้จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ และจะดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณะและมีการใช้อำนาจมหาชนเช่น กระทรวง ทบวง กรมองค์องค์การมหาชนของรัฐ เทศบาลวัด
kyc นิติบุคคล : ตัวอย่างแบบฟอร์ม kyc นิติบุคคล
●แบบฟอร์ม kyc ธนาคารกสิกรไทย
●แบบฟอร์ม kyc บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
●แบบฟอร์ม kyc ธนาคารทหารไทย
●แบบฟอร์ม kyc บริษัทเอเชีย พลัส กรุ๊ป โฮสดิ้ง
kyc นิติบุคคล : บทส่งท้าย
จัดมาให้แบบเต็มๆตั้งแต่ความหมายของ kyc และ ccd รวมถึงหน้าที่และความสำคัญของระบบนี้ที่มีต่อลูกค้าสถาบันการเงิน รวมไปถึงการนำคำจำกัดความของนิติบุคคลที่ท่านผู้อ่านบางท่านอาจยังไม่รู้มาในแบบที่ย่อยง่าย เข้าใจสะดวก ตบท้ายด้วยการยกตัวอย่างแบบฟอร์มของสถาบันการเงินหรือแม้กระทั่งสถาบันการลงทุนที่ปฏิบัติตามระบบ kyc เช่นกัน ไม่ใช่ว่าเข้าระบบเฉพาะบุคคลธรรมดาแต่นิติบุคคลก็ต้องให้ความร่วมมือเช่นกัน เตรียมตัวให้พร้อมซ้อมให้ชินมือไปกับบทความนี้นะคะ