Contents
- 1 ปปง. กับข้อกำหนด KYC ควรรู้ที่บอกเลยว่าห้ามพลาด!!!
- 2 kyc ปปง : รู้จักไว้กับพี่ใหญ่ผู้กำกับดูแล kyc
- 3 kyc ปปง : การฟอกเงินคืออะไร? ทำไมต้องคอยตรวจสอบ
- 4 kyc ปปง : kyc ที่ปปง.บังคับใช้ ต้องทำยังไงถึงจะถูกต้อง
- 5 kyc ปปง : ความเสี่ยงของลูกค้า มีอะไรบ้างนะ? แล้วเราเข้าข่ายหรือไม่?!
- 6 kyc ปปง : ใครมีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมบ้างล่ะ?
- 7 kyc ปปง : บทส่งท้าย
ปปง. กับข้อกำหนด KYC ควรรู้ที่บอกเลยว่าห้ามพลาด!!!
KYC ปปง........หากว่าท่านผู้อ่านไม่เคยรู้จักชื่อนี้ขององค์กรนี้มาก่อน กูรูเครดิตจะพาทุกท่านไปเจาะลึกรายละเอียดขององค์กรที่เป็นต้นคิดในเรื่องระบบ kyc เพื่อยืนยันตัวตนและทำความรู้จักลูกค้า องค์กรที่เป็นหัวเรือใหญ่ของการเห็นชอบการออกกฎหมายบังคับใช้ให้ธนาคารและสถาบันการเงินในกำกับดูแลต้องปฏิบัติ อ่านแค่นี้คงรู้สึกได้แล้วใช่ไหมคะว่าปปง.มีความสำคัญแค่ไหน ไปทำความรู้จักกับ kyc ปปง.กันเลย
kyc ปปง : รู้จักไว้กับพี่ใหญ่ผู้กำกับดูแล kyc
ก่อนจะพูดเรื่องว่าปปง.ทำอะไรบ้าง เราควรแนะนำเสียก่อนว่าสำนักงานพี่เบิ้มที่กำกับดูแลธนาคารในเรื่องระบบ kyc คืออะไร กูรูเครดิตจะขอแนะนำแบบกระชับแต่ครบถ้วน ปปง.หรือชื่อเต็มคือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐที่มีหน้าที่กำหนดและดูแล เกี่ยวกับการปราบปรามการฟอกเงิน ไม่เพียงแค่นั้นยังเป็นหน่วยงานที่จะคอยตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินอีกด้วย ทีนี้ก็พอจะเชื่อมโยงกันได้แล้วว่าปปง.เกี่ยวข้องกับ kyc ที่มีมาเพื่อปราบปรามการฟอกเงินอย่างไร
kyc ปปง : การฟอกเงินคืออะไร? ทำไมต้องคอยตรวจสอบ
นักอ่านบางท่านอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจคำว่าการฟอกเงินอย่างถ่องแท้นักและพาลจะเครียดเมื่อได้เห็นคำว่าธนาคารจะสอดส่องดูแลพฤติกรรมการเงินผ่านการทำธุรกรรม เราจึงขออธิบายว่าการฟอกเงินคือ การนำเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำไม่ถูกต้อง แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาเปลี่ยนเป็นเงินหรือสินทรัพย์ในแบบที่ถูกต้อง ทำให้เหมือนว่า ‘ได้มาชอบโดยกฎหมาย’ พูดกันภาษาชาวบ้าน การฟอกเงินก็คือ การทำให้เงินสกปรกกลายเป็นเงินสะอาดนั่นเองค่ะ
โดยการฟอกเงิน มีขั้นตอนดังนี้
- Placement คือ การนำทรัพย์เข้าสู่ระบบเช่น การนำไปฝากธนาคาร (ซึ่งในขั้นตอนนี้มีการนำระบบ kyc เข้ามาช่วยตรวจสอบ)
- Layering คือ การแปลงทรัพย์สินโดยการทำธุรกรรมหลายชั้น เพื่อให้ติดตามที่มาของทรัพย์ยากขึ้น
- Integration คือ การปนทรัพย์หรือก็คือ การนำเงินสกปรกมาปนกับเงินสะอาด (ที่ชอบด้วยกฎมาย)
kyc ปปง : kyc ที่ปปง.บังคับใช้ ต้องทำยังไงถึงจะถูกต้อง
- ต้องมีการจัดให้ลูกค้าแสดงตน
โดยผู้ให้บริการในกำกับมีหน้าที่ขอสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเมื่อมาทำธุรกรรมค่ะ โดยไม่ใช่ให้พูดคุยอะไรนะคะแต่เป็นการขอข้อมูลและหลักฐานประกอบการแสดงตน เช่น บัตรประชาชน และมีหน้าที่ตรวจสอบว่าคนที่มายื่นขอทำธุรกรรมกับเจ้าของบัตรประชาชนเป็นคนเดียวกันหรือไม่
2. ลูกค้าต้องแสดงตนทุกครั้งเมื่อทำธุรกรรม ดังนี้
2. 1กรณีทำธุรกรรมเงินสดไม่ว่าครั้งเดียวหรือหลายคร้ังที่อาจมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องมีมูลค่ารวมกัน 100,000 บาทข้ึนไป
2.2 กรณีมีการใช้บริการรับชาระเงินแทนในแต่ละคร้ัง ที่มีมูลค่าต้ังแต่ 500,000 บาทขึ้นไป
2.3 กรณีการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือการโอนเงินหรือการชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละครั้ง ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 50,000 ขึ้นไป
kyc ปปง : ความเสี่ยงของลูกค้า มีอะไรบ้างนะ? แล้วเราเข้าข่ายหรือไม่?!
ปปง. ได้แบ่งระดับความเสี่ยงของลูกค้าเป็น 3 ระดับค่ะ โดยหากท่านผู้อ่านเป็นลูกค้าที่มีคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ท่านจะมีชื่ออยู่ในลิสต์ลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะถูกเฝ้าระวังเรื่องการฟอกเงินอย่างใกล้ชิด ย้ำว่าอย่างใกล้ชิดเลยนะคะ
- หากท่านเป็นลูกค้าหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงที่ได้รับการแจ้งว่าอยู่ในรายชื่อผู้มีความเสี่ยงสูงซึ่งท่านสามารถตรวจสอบตนเองผ่านระบบ AMLO Person Screening System หรือระบบ APS
- หากท่านเป็นลูกค้าหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงเป็นบุคคลที่มีสถานภาะทางการเมือง
- หากท่านเป็นลูกค้าหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงที่ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง ดังนี้ ค้าอัญมณี, ค้าของเก่า, ค้าอาวุธ, รับแลกเปลี่ยนเงิน, รับโอนเงินข้ามประเทศและภายในประเทศแบบที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน, ทำธุรกิจคาสิโน, นายหน้าจัดหางาน, ธุรกิจทัวร์, ธุรกิจสถานบริการ, รับแลกเปลี่ยนเงิน
kyc ปปง : ใครมีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมบ้างล่ะ?
ในส่วนของผู้ที่มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม ปปง.ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามความแตกต่างของบทนิยามในมาตรา 3 และ 16 ค่ะ มีดังนี้
- ผู้ที่มีหน้าที่รายงานธุรกรรม ประเภทสภาบันการเงิน
ตัวอย่างได้แก่ ธนาคารพาณิชย์, สถาบันการเงินเฉพาะกิจ, สหกรณ์, ตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ (MT), ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (MC), ผู้ประกอบธุรกิจระบบการชำระเงิน, บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน, บริษัทเงินทุน, บริษัทเครดิตฟองซิเอร์, บริษัทประกันชีวิต, ประกันวินาศ, บริษัทบริหารสินทรัพย์
2. ผู้ที่มีหน้าที่รายงานธุรกรรม ประเภทผู้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่างได้แก่ ที่ปรึกษาการลงทุน, ผู้ค้าอัญมณี, ผู้ค้าและให้เช่ารถ, นายหน้าอสังหาริมทรัพย์, สินเชื่อส่วนบุคคล, ผู้ค้าของเก่า, ผู้รับแลกเปลี่ยนเงินบุคคลธรรมดา
kyc ปปง : บทส่งท้าย
อ่านมาจนจบคงร้องอ๋อกันถ้วนหน้าเลยใช่ไหมคะ จากหลักการและวัตถุประสงค์ของระบบ kyc ไม่ได้มีขึ้นมาเพื่อสอดส่องลูกค้าที่ทำธุรกรรมแต่ทั้งนี้ทำเพื่อระมัดระวังการฟอกเงินและการโจรกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในยุคนี้ กลับกันถ้าไม่มีระบบ kyc ลองคิดว่าถ้าทำบัตรประจำตัวประชาชนหายแล้วมีคนนำไปทำธุรกรรมแบบไม่ตรวจสอบ เราจะเสียหายแค่ไหน จริงไหมคะ?