Contents
- 1 รีไฟแนนซ์ อทบ. สินเชื่อเพื่อนายทหารกับประโยชน์มากมายที่ไม่ควรพลาด!
- 2 รีไฟแนนซ์อทบ สินเชื่อเพื่อนายทหารที่มาพร้อมกับสิทธิประโยชน์หลากหลาย : ทำความรู้จักกับสินเชื่ออทบ.
- 3 รีไฟแนนซ์อทบ สินเชื่อเพื่อนายทหารที่มาพร้อมกับสิทธิประโยชน์หลากหลาย : ขั้นตอนกู้สินเชื่ออทบ.
- 4 โครงการเงินกู้อทบ.บำบัดทุกข์
- 5 โครงการเงินกู้อทบ.พิเศษ
- 6 โครงการเงินกู้อทบ.เพื่อการเคหะสงเคราะห์
- 7 อยากทราบจำนวนยอดกูเงิน อทบ. เคหะสงเคราะห์และอื่น ๆ ไม่ยาก ลองทำด้วยตัวเองผ่านระบบออนไลน์กัน
- 8 ช่องทางสำหรับการดาวน์โหลดกู้เงินจากทาง อทบ. ผ่านระบบออนไลน์
- 9 เงินกู้ อทบ. อนุมัติภายในกี่วัน !?
- 10 อยากสอบถามความคืบหน้าในการกู้เงินจากทาง อทบ. ทำได้ผ่าานช่องทางใดกันบ้าง!?
- 11 รีไฟแนนซ์อทบ สินเชื่อเพื่อนายทหารที่มาพร้อมกับสิทธิประโยชน์หลากหลาย : บทส่งท้าย
รีไฟแนนซ์ อทบ. สินเชื่อเพื่อนายทหารกับประโยชน์มากมายที่ไม่ควรพลาด!
หากท่านเป็นทหารบก...
คงจะรู้จักหรือคุ้นหน้าคุ้นตากับสินเชื่ออทบ.หรือกิจการออมทรัพย์ข้าราชการทหารบกเป็นอย่างดี ด้วยนี่คือ โครงการเงินกู้สำหรับข้าราชการทหาร หนึ่งใสสวัสดิการของรั้วของชาติ
โดยในบทความนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักกับอทบ.และผลิตภัณฑ์สินเชื่อต่างๆที่มีให้บริการแก่ทหารบก โดยจะมีอะไรบ้างตามไปอ่านกันด้านล่างได้เลยค่ะ
รีไฟแนนซ์อทบ สินเชื่อเพื่อนายทหารที่มาพร้อมกับสิทธิประโยชน์หลากหลาย : ทำความรู้จักกับสินเชื่ออทบ.
อทบ.หรือชื่อเต็มคือ กิจการออมทรัพย์ข้าราชการทหารบก ก่อตั้งโดยจอมพล.ป.พิบูลสงครามเพื่อให้ข้าราชการได้ออมเงินไว้หลังเกษียณอายุ ตั้งแต่นั้นมา ก็มีการฝากมาตลอด ซึ่งผู้บังคับบัญชาจึงมีแนวคิดช่วยเหลือสมาชิกอทบ.โดยให้กู้เงินได้ไม่เกินวงเงินที่ตนฝาก ซึ่งมีโครงการที่ข้าราชการทหารจะสามารถยื่นกู้ได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. เงินกู้อทบ.บำบัดทุกข์
คือ สินเชื่อเงินกู้ที่ผู้ฝากยื่นขอไปเพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีพ โดยมีเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากเป็นหลักประกัน
2. เงินกู้อทบ.พิเศษ
เงินกู้ที่ผู้ฝากยื่นกู้เพื่อซื้อที่ดินเป็นของตนเอง เพื่อการไถ่ถอนจำนองหรือเพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีพ โดยมีที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นหลักประกัน
3. เงินกู้อทบ.เคหสงเคราะห์
เงินกู้ที่ผู้ฝากกู้ไปเพื่อซื้อบ้านพร้อมที่ดิน ห้องชุดหรือปลูกสร้างอาคารที่พักอาศัยในที่ดินของตนเอง/คู่สมรสหรือยื่นกู้ไปเพื่อการไถ่ถอนจำนอง/ ไถ่ถอนจากการขายฝาก โดยมีที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุดเป็นหลักประกัน
รีไฟแนนซ์อทบ สินเชื่อเพื่อนายทหารที่มาพร้อมกับสิทธิประโยชน์หลากหลาย : ขั้นตอนกู้สินเชื่ออทบ.
โครงการเงินกู้อทบ.บำบัดทุกข์
1.ต้องเป็นข้าราชการทหารประจำและมีอทบ.ฝาก
2. ยื่นคำขอกู้เงินผ่านหน่วยงานต้นสังกัด
3. วงเงินกู้ ให้กู้ได้โดยถือจำนวนเงิน อทบ.ฝากเป็นเกณฑ์
3.1 สามารถกู้ในวงเงินเกินกว่าเงินอทบ.ฝากที่มีอยู่ได้ไม่เกิน 30,000 บาท โดยให้ข้าราชการสังกัดเดียวกันกับผู้กู้ 1 นาย เป็นผู้ค้ำประกัน
3.2 สามารถกู้ในวงเงินเกินกว่าเงิน อทบ.ฝาก ที่มีอยู่ได้ไม่เกิน 100,000 บาท โดยให้ข้าราชการสังกัดเดียวกันกับผู้กู้ 2 นาย เป็นผู้ค้ำประกัน
4. ผู้กู้และผู้ค้ำประกันจะต้องมีเงินได้คงเหลือ ไม่น้อยกว่า 3,000 บาท
5. ผู้กู้ผ่อนชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 10 งวด สามารถขอกู้ใหม่ได้ โดยวงเงินกู้ใหม่ที่จะได้รับ จะหักชำระหนี้คงค้างเดิม
6. กรณีวงเงินกู้ 100,000 บาท สามารถเลือกผ่อนชำระ 48 เดือน หรือ 60 เดือน
7. เมื่ออนุมัติเงินกู้แล้ว จะทำการโอนเงินเข้าบัญชีหน่วยต้นสังกัดโดยตรง
โครงการเงินกู้อทบ.พิเศษ
1. นำโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) เป็นหลักประดับเงินกู้ (ประเภทที่ 1)
2. นำโฉนดที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็นหลักประกันเงินกู้ (ประเภทที่ 2)
3. เป็นข้าราชการประจำและมีเงินอทบ. ฝาก
4. ยื่นคำขอกู้เงินผ่านหน่วยต้นสังกัด
5. ต้องทำประกันอัคคีภัยไว้ตลอดระยะเวลาจำนอง(ประเภทที่ 2)
6. มีระยะเวลาผ่อนชำระเงินกู้ 10-20 ปี
7. จะจ่ายเงินกู้ก็ต่อเมื่อจดทะเบียนจำนองและหลักฐานถูกต้อง โดยรับเงินที่ สก.ทบ.เท่านั้น
8. หากผู้กู้ชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยว่า 1 ใน 3 สามารถกู้ใหม่ได้ โดยไม่ต้องชำระหนี้เดิม โดยจำแนก ชั้นยศ วงเงินกู้และระยะเวลาผ่อนชำระ
โครงการเงินกู้อทบ.เพื่อการเคหะสงเคราะห์
1. รับราชการ ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีเงิน อทบ.ฝาก
2. นำโฉนดที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด มาเป็นหลักประกันเงินกู้
3. ใช้ผู้กู้ร่วมได้ โดยผู้กู้ร่วมต้องเป็นคู่สมรส หรือบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้กู้ร่วมเป็นข้าราชการ ทบ. กู้ได้จำนวนเงินตามชั้นยศ
ผู้กู้ร่วมเป็นข้าราชการทั่วไป กู้ได้ไม่เกิน 65 เท่า
ผู้กู้ร่วมเป้นพนักงานรัฐวิสาหกิจ/เอกชน/อาชีพส่วน กู้ไม่เกิน 40 เท่า
4. ยื่นคำขอกู้ผ่านหน่วยงานต้นสังกัด
5. ต้องทำประกันอัคคีภัยตลอดอายุสัญญาการกู้เงิน
6. การจ่ายเงินกู้
การปลูกสร้างอาคารจ่ายเงินเป็น 3 งวด อัตรา 2:1:1 รับเงินที่ กอท.สก.ทบ. เท่านั้น
การซื้อบ้านพร้อมที่ดินหรือห้องชุด จ่ายเงินเมื่อจดทะเบียนจำนอง ณ ที่สำนักงานที่ดิน
7. ผ่อนชำระเงินกู้ไม่เกิน 40 ปี นับอายุผู้กู้เป็นเกณฑ์ โดยชำระคืนให้เสร็จสิ้นก่อน อายุ 65 ปี โดยจำแนก ชั้นยศ วงเงินกู้และระยะเวลาผ่อนชำระ
อยากทราบจำนวนยอดกูเงิน อทบ. เคหะสงเคราะห์และอื่น ๆ ไม่ยาก ลองทำด้วยตัวเองผ่านระบบออนไลน์กัน
ถ้าหากใครกำลังตัดสินใจว่าจะทำการกู้เงินจาก อทบ. ก็สามารถทำได้ผ่านระบบออนไลน์อย่างง่ายดาย โดยผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
ตรวจสอบคำนวณยอดเงินกูู้ อทบ. และเงินกู้ประเภทอื่น >>> คลิก!
ช่องทางสำหรับการดาวน์โหลดกู้เงินจากทาง อทบ. ผ่านระบบออนไลน์
สำหรับคนที่ต้องการทำการกู้เงินจากทาง อทบ. ขอแนะนว่าควรทำการดาวน์โหลดแบบฟอร์มเตรีมเอาไว้ให้พร้อมเสียก่อน เพื่อที่จะได้สามารถทำการกรอกเแบบฟอร์มอย่างถูกต้อง และจัดเตรียมเอกสารสำหรับการกู้ของ อทบ. เอาไว้อย่างเหมาะสม เพื่อที่จะได้ยื่นเรื่องขอกู้ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ถ้าหากต้องการดาวน์โหลดเอกสารขอกู้เงินกับทาง อทบ. ผ่านทางออนไลน์ >>> คลิก!
เงินกู้ อทบ. อนุมัติภายในกี่วัน !?
หลังจากที่ทำการสมัครเงินกู้ของทาง อทบ. พร้อมกับส่งมอบเอกสารประกอบการสมัครอย่างครบถ้วนไปแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงจะเกิดคำถามตามมาว่าเงินกู้ อทบ. อนุมัติภายในกี่วัน!? เพราะแน่นอนว่าทุกคนก็คงต้องการที่จะใช้เงินอย่างรวดเร็วมากที่สุดอย่างแน่นอน
โดยพื้นฐานแล้ว เงินกู้ของทาง อทบ. จะใช้ระยะเวลาในการตรวจเอกสารและพิจารณาอนมุติเงินกู้ เพื่อโอนเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ขอกู้ ภายในระยะเวลา "ไม่เกิน 30 วัน" หลังจากที่ทาง สก.ทบ. รับหนังสือ และทำการตรวจเอกสารอย่างครบถ้วน พร้อมกับผ่านเกณฑ์การพิจารณาตามคุณสมบัติของผู้กู้แล้ว
อยากสอบถามความคืบหน้าในการกู้เงินจากทาง อทบ. ทำได้ผ่าานช่องทางใดกันบ้าง!?
สำหรับคนที่ยื่นใบสมัครขอกู้เงินกับทาง อทบ. และส่งเอกสารทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อยากทราบว่าขั้นตอนขอการกู้เงินอยู่ในระหว่างขั้นตอนใด ก็สามารถที่จะติดต่อกับ นาบสิบการเงิน ปรมน.ทบ. เพื่่อสอบถามความคืบหน้าในการนำเรียนหนังสือขอกู้เงินให้กับทาง เสธ ปรมน.ทบ. ลงนาม หมายเลขโทศัพท์ 099-060-9922
รีไฟแนนซ์อทบ สินเชื่อเพื่อนายทหารที่มาพร้อมกับสิทธิประโยชน์หลากหลาย : บทส่งท้าย
เป็นอย่างไรบ้างคะกับสินเชื่ออทบ.หรือกิจการออมทรัพย์ข้าราชการทหารบกที่ทางเรารวบรวมมา โดยสินเชื่อและสินเชื่อรีไฟแนนซ์จากอทบ.มีข้อดีอยู่มากมายแต่ข้อจำกัดก็มีด้วยเช่นกัน
ดังนั้นท่านจึงควรพิจารณาถึงเงื่อนไขที่ธนาคารตั้งไว้ว่าเหมาะสมกับตัวท่านหรือไม่ ถ้าหากว่าไม่ติดขัดในคุณสมบัติข้อใด ก็เริ่มเตรียมเอกสารให้พร้อมเพื่อทำไปยื่นขอพิจารณาได้เลยค่ะ