เจาะลึกปัญหาคาใจ กู้เงินนอกระบบ Vs กู้เงินในระบบแบบไหนดีที่สุด!?
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

Contents

ไม่อยากเป็นหนี้บานหัวโตควรรู้ กู้เงินนอกระบบ กับ กู้ในระบบ แบบไหนน่าสนใจกว่ากัน!?

กู้เงินนอกระบบ

 

การกู้เงิน... ไม่ว่าจะในระบบหรือนอกระบบ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่สิ่งที่ควรรู้ก่อนที่จะทำธุรกรรมทางการเงินทั้งสองประเภทคือ “การสร้างหนี้” ที่ค่อนข้างแตกต่างกันพอสมควรเลยทีเดียว ดังนั้น เพื่อเป็นข้อมูลที่ช่วยประกอบการตัดสินใจว่าระหว่างการกู้เงินนอกระบบ กับ กู้เงินในระบบ แบบไหนถึงจะตอบโจทย์ รวมไปถึงมีข้อดี-ข้อเสีย ที่ควรทราบก่อนอะไรกันบ้าง!? บทความชิ้นนี้จึงได้ทำการรวบรวมสิ่งที่ควรทราบมาฝากกันและข้อแนะนำว่าควรอ่านให้จบก่อนตัดสินใจทำธุรกรรมทางการเงินทั้งสองประเภท เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจในภายหลังกัน!

 

 

กู้เงินนอกระบบ คืออะไร!?        

        กู้เงินนอกระบบ

 

กู้เงินนอกระบบ คือ การกู้ยืมกันเองระหว่าง “ประชาชน” โดยไม่ได้ทำการกู้ยืมจากสถาบันทางการเงินที่ได้รับการดูแลจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยทั่วไปแล้วอัตราดอกเบี้ยของการกู้เงินนอกระบบจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5-20% ต่อเดือน หรือร้อยละ 60-24% ต่อปี

กู้เงินในระบบ คืออะไร!?

กู้เงินนอกระบบ

 

กู้เงินในระบบ คือ การที่ประชาชนทำการกู้ยืมเงินกับสถาบันทางการเงินและธนาคารที่ได้รับการดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยมีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 28%

ทำไมการกู้เงินนอกระบบ ถึงได้รับความนิยม!?

กู้เงินนอกระบบ

 

สาเหตุสำคัญที่ทำให้การกู้เงินนอกระบบได้รับความนิยม ส่วนใหญ่มาจากการที่สามารถทำการขอกู้ยืมเงินได้อย่างรวดเร็ว แตกต่างจากการขอยืมเงินในระบบที่ค่อนข้างจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก วุ่นวาย อีกทั้งแหล่งกู้เงินนอกระบบยังมีการใช้คำโฆษณาที่เข้าใจง่ายอย่างเช่น เงินสดทันใจ ได้ชัวร์ อนุมัติไว เป็นต้น ทำให้คนทั่วไปที่มีปัญหาด้านการเงินหลงเชื่อง่ายดายมากขึ้น

 

3 เหตุผลที่ทำให้เกิดการกู้เงินนอกระบบ

กู้เงินนอกระบบ

 

1.กู้เงินนอกระบบเพื่อนำไปใช้จ่ายยามฉุกเฉิน

 

ในบางครั้งเมื่อเกิดปัญหาทางการเงินฉุกเฉิน เร่งด่วน เช่น ค่ารักษาพยาบาลและค่าเทอม เป็นต้น ทำให้กู้เงินนอกระบบที่ง่ายดายกลายมาเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

2.กู้เงินนอกระบบไม่มีข้อจำกัดกวนใจ

 

กู้เงินนอกระบบ ไม่มีข้อจำกัดเหมือนกับการกู้เงินในระบบ อาทิเช่น ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ไม่ต้องใช้อายุงาน ไม่จำกัดอายุ เป็นต้น

3.กู้เงินนอกระบบเหมาะกับคนที่มีหนี้สินเดิมกับเงินกู้ในระบบ

 

หลายคนมีปัญหาหนี้สินเดิมกับเงินกู้ในระบบ เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้านและหนี้บัตรเครดิต เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถทำการขอกู้ยืมเงินในระบบเพิ่มได้ ทำให้กู้เงินนอกระบบจึงกลายมาเป็นแหล่งเงินทุนที่จำเป็น

 

วิธีปลดหนี้กู้เงินนอกระบบอย่างรวดเร็ว

กู้เงินนอกระบบ

 

หลังจากที่ตกเป็นหนี้ของกู้เงินนอกระบบแล้ว ถ้าหากใครไม่อยากจมอยู่กับกองหนี้ที่มากขึ้นเรื่อยๆ ขอแนะนำให้ทำการปลดหนี้ให้รวดเร็วมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผ่านขั้นตอนแนะนำดังต่อไปนี้

 

1.ปลดหนี้กู้เงินนอกระบบ : ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

 

ทำการรายการตรวจสอบตัวเองก่อนว่ามีรายจ่ายอะไรบ้างที่จำเป็นและไม่จำเป็น!? จากนั้นให้ทำการตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันออกไป เพื่อให้มีเงินเหลือมากพอที่จะนำไปใช้ชำระหนี้กู้เงินนอกระบบ

2.ปลดหนี้กู้เงินนอกระบบ: อย่าก่อหนี้เพิ่มอย่างเด็ดขาด

 

เมื่อรู้ตัวว่าตนเองเป็นหนี้กู้เงินนอกระบบ ห้ามทำการกู้ยืมเงินที่จะนำไปสู่การสร้างหนี้ก้อนใหม่เพิ่มอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นหนี้ในระบบหรือนอกระบบก็ตาม ไม่อย่างนั้นอาจต้องเผชิญหน้ากับดอกเบี้ยของเงินกู้ก้อนใหม่ที่ทำให้เกิดปัญหามากขึ้นหนักหนากว่าเดิม

3.ปลดหนี้กู้เงินนอกระบบ: หาช่องทางสร้างรายได้เพิ่มเติม

 

เพื่อเป็นการช่วยปลดหนี้กู้เงินนอกระบบให้รวดเร็วมากขึ้น ควรหาช่องทางในการสร้างรายได้เพิ่มเติม แต่อย่าให้เบียดเบียนเวลาพักผ่อนมากจนเกินไปนัก

4.ปลดหนี้กู้เงินนอกระบบ: ชำระหนี้ให้หมดเร็วที่สุด

กู้เงินนอกระบบ

 

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของการกู้เงินนอกระบบคือ “ดอกเบี้ย” ที่เพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อยๆตามระยะเวลาที่ผ่านไป หากเผลอเพียงนิดเดียวอาจสูงมากยิ่งกว่าเงินต้นหลายเท่าเลยทีเดียว ดังนั้น ควรรีบทำการชำระหนี้ให้หมดให้เร็วที่สุด ไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็น “ทาสเงินกู้เงินนอกระบบ” อย่างไม่ทันรู้ตัว

5.ปลดหนี้กู้เงินนอกระบบ : สินเชื่อธนาคารและสถาบันการเงินในระบบช่วยได้

 

หนึ่งในวิธีการปิดหนี้กู้เงินนอกระบบที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีและรวดเร็วมากที่สุด คือ การขอเงินกู้จากธนาคารและสถาบันทางการเงิน เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลและใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน แล้วนำเงินที่ได้รับอนุมัติมาโปะ! ปิดหนี้กู้เงินนอกระบบให้หมด เพราะกู้เงินในระบบมีอัตราดอกเบี้ยที่ถูกมากกว่ากู้เงินนอกระบบนั่นเอง

6.ปลดหนี้กู้เงินนอกระบบ: ขายทรัพย์สินบางส่วนเพื่อโปะ! หนี้

 

บางครั้งอาจจำเป็นที่จะต้องตัดใจขายทรัพย์สินมีค่าบางอย่าง เพื่อนำเงินก้อนมาโปะหนี้ของกู้เงินนอกระบบ จากนั้นค่อยทำงานเก็บเงินก้อนใหม่มาซื้อทรัพย์สินเหล่านั้นอีกครั้งในภายหลังก็ยังไม่สาย

7.ปลดหนี้กู้เงินนอกระบบ : เจรจากับเจ้าหนี้

 

ถ้าหากรู้สึกว่าตัวเองจ่ายหนี้กู้เงินนอกระบบไม่ไหว แนะนำให้รีบไปทำการเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ให้รวดเร็วที่สุด เพื่อขอลดดอกเบี้ยหรือผัดผ่อนการจ่ายเงิน เพื่อให้มีเวลามากพอในการรวบรวมเงินมาจ่ายคืนในภายหลัง

8.ปลดหนี้กู้เงินนอกระบบ: ยืมเงินจากญาติและเพื่อนสนิท

 

การขอยืมเงินก้อนจากคนใกล้ตัวอาจจะคนละเล็กละน้อย เพื่อนำไปใช้ในการโปะ! หนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งในหนทางปลดหนี้ที่น่าสนใจเป็นอย่างมากเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามอย่าลืมทำการชำระใช้คืนกับบุคคลเหล่านี้ตามลำดับความสำคัญให้รวดเร็วที่สุด ไม่เช่นนั้น แม้หนี้จะหมดไป แต่อาจสูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างกันไปอย่างน่าเสียดายได้เช่นกัน

 

บทสรุปส่งท้าย : ใช้เงินมือเติบ ระวังตกเป็น “ทาสกู้เงินนอกระบบ” โดยไม่ทันรู้ตัว!!!

กู้เงินนอกระบบ

 

          จากข้อมูลที่น่าสนใจในตอนต้น... จะเห็นได้ว่ากู้เงินนอกระบบนั้น มีข้อเสียมากมายเมื่อเทียบกับข้อดีที่มีเพียงแค่ความ “สะดวกรวดเร็ว และ “ไม่เช็กประวัติลูกหนี้” เท่านั้น แต่ผลลัพธ์ ผลเสียที่เกิดขึ้นตามมาในภายหลังนั้น เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ที่น่าขนลุกอย่างมากเลยทีเดียว ดังนั้น หากใครกำลังมองหาแหล่งสินเชื่อยืมเงินกันอยู่ ขอแนะนำว่าให้เลือกทำการกู้เงินในระบบจากสถาบันทางการเงินและธนาคาร ที่ได้รับการดูแลจากธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นการดีกว่าอย่างแน่นอน...

 

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
[7 ขั้นตอน] พร้อมรายละเอียดการสมัครบัตรเครดิต K Bank อนุมัติไว สมัครได้ง่ายผ่านแอพ K PLUS!
ธนาคาร/สถาบันการเงินผู้ให้บริการบัตรเครดิต
[7 ขั้นตอน] พร้อมรายละเอียดการสมัครบัตรเครดิต K Bank อนุมัติไว สมัครได้ง่ายผ่านแอพ K PLUS!
สมัครบัตรเครดิต KBank ผ่าน K PLUS ทางเลือกสำหรับการเปิดบัตรที่รวดเร็ว!...
เปิด [5 จุดเด่นหลัก] เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคล ทางเลือกเงินฉุกเฉินเพิ่มโอกาสเข้าถึงสินเชื่อให้คนไทย!
สินเชื่อ
เปิด [5 จุดเด่นหลัก] เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคล ทางเลือกเงินฉุกเฉินเพิ่มโอกาสเข้าถึงสินเชื่อให้คนไทย!
“สินเชื่อส่วนบุคคล” คืออะไรกันนะ? มีจุดเด่นอะไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบท...