ประกันชีวิต รถยนต์
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

Contents

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ เรื่องใกล้ตัวที่คนทำประกันรถยนต์ควรรู้!!!

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ

 

ถ้าหากกล่าวถึงประกันภัยรถยนต์... เชื่อทุกคนยอมรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่ถ้าพูดถึง “ประกันรถยนต์ภาคบังคับ” หลายคนอาจเริ่มสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่!? แล้วมีความแตกต่างจากประกันภัยทั่วไปอย่างไรกันบ้าง!? เพื่อเป็นการช่วยคลายความสงสัย บทความชิ้นนี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลและเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประกันรถยนต์ภาคบังคับ มาฝากกัน

 

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ คืออะไร!?

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ

 

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance) หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า “ประกันภัย พ.ร.บ.” เป็นประกันภัยที่ถูกกำหนดขึ้นมา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยกำหนดให้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคัน ทุกชนิดที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทาบกและรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นจะต้องทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ

วัตถุประสงค์ของประกันรถยนต์ภาคบังคับ

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ

 

1.ประกันรถยนต์ภาคบังคับ เพื่อคุ้มครองและให้การช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บหรือช่วยเหลือในเรื่องของค่าปลงศพหากเสียชีวิต

2.ประกันรถยนต์ภาคบังคับ เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุรถยนต์

3.ประกันรถยนต์ภาคบังคับ เป็นสวัสดิการสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้กับประชาชน ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุประสบภัยจากรถ

4.ประกันรถยนต์ภาคบังคับ ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดรอย แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว

 

คนที่มีหน้าที่ต้องทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ คือใครบ้าง!?

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ

 

  • เจ้าของรถ
  • ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อ
  • เจ้าของรถที่นำรถมาทำการจดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ

ความคุ้มครองเบื้องต้นของประกันรถยนต์ภาคบังคับ

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ

 

สำหรับ “ค่าเสียหายเบื้องต้น” ของประกันรถยนต์ภาคบังคับ มีรายละเอียดและจำนวนเงิน ดังต่อไปนี้

1.ประกันรถยนต์ภาคบังคับ กรณีบาดเจ็บ

 

ได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท / หนึ่งคน

2.ประกันรถยนต์ภาคบังคับ กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย

 

หากได้รับความเสียหายจากร่างกาย (ทุพพลภาพ) อย่างหนึ่งอย่างใด จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 35,000 บาท ต่อคน โดยความเสียหายดังกล่าว มีดังต่อไปนี้

  • ตาบอด
  • หูหนวก
  • เป็นใบหรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
  • สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
  • สูญเสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว
  • สูญเสียอวัยวะอื่นใด
  • จิตพิการอย่างติดตัว
  • ทุพพลภาพอย่างถาวร

3.ประกันรถยนต์ภาคบังคับ กรณีได้รับบาดเจ็บ

 

ได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 1. และต่อมาทุพพลภาพตามข้อ 2. รวมกันแล้วจะได้รับไม่เกิน 6,500 / หนึ่งคน

4.ประกันรถยนต์ภาคบังคับ กรณีเสียชีวิต

 

ได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท / หนึ่งคน

5.ประกันรถยนต์ภาคบังคับ กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล

 

รวมไปถึงค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามจริงที่จ่ายตามข้อ 1. รวมไม่เกิน 65,000 บาท ต่อหนึ่งคน

 

หากไม่ทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ ต้องเสียค่าปรับหรือเปล่า!?

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ

 

ในกรณีที่ทำการฝ่าฝืน ไม่ยอมทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ จะมีโทษตามกฎหมาย โดยเป็นโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

 

บทสรุปส่งท้าย: ประกันรถยนต์ภาคบังคับดีไหม!? ควรทำหรือเปล่า!?

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ

 

          ประกันรถยนต์ภาคบังคับ... เป็นข้อบังคับตามกฎหมายที่คนใช้รถจำเป็นที่จะต้องให้ความใส่ใจในการต่ออายุประกันเอาไว้ไม่ให้ขาด เพราะไม่เช่นนั้นจะต้องโดนโทษปรับที่เรียกได้ว่ามากกว่าค่าเบี้ยประกันรถยนต์ภาคบังคับอย่างมาก นอกจากนี้การทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ ยังช่วยให้อุ่นใจได้ว่าหากเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนประกันตัวนี้ ก็จะสามารถช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายบางส่วนได้ เมื่อรวมกับประกันภัยรถยนต์ตัวอื่นก็จะยิ่งทำให้สบายใจด้วยทุนประกันที่ครอบคลุมทุกส่วนได้เป็นอย่างดี...

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ