"kyc ระดับ 2 คือ kyc ระดับ 3"
Know your customer
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

Kyc ระดับ 2 และ Kyc ระดับ 3 คืออะไร!?  มีความสำคัญอย่างไรบ้าง!?

"kyc ระดับ 2 คือ kyc ระดับ 3"

 

KYC ระดับ 2 KYC ระดับ 3.......

ท่านผู้อ่านอาจจะอึ้งกันอยู่บ้างที่ความซับซ้อนของระบบ KYC มีมากมายเหลือเกิน แต่เชื่อเถอะค่ะว่าถ้าหากอ่านบทความนี้จบปุ๊บ จะร้องอ๋อ แถมส่ายหัวทันทีว่ามันไม่มีอะไรชวนงงเลย กลับกันยังเป็นระเบียบแบบแผนทำให้อุ่นใจกว่าเดิมที่ข้อมูลส่วนตัวของเราซึ่งทำ kyc กับสถาบันการเงินไปมีระบบขนาดนี้

 

KYC คืออะไร!?

"kyc ระดับ 2 คือ kyc ระดับ 3"

 

KYC หรือ Know Your Customer คือ กระบวนการรู้จักลูกค้า ที่สามารถทำการระบุตัวตนและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามกระบวนการ KYC นี้ ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะการเปิดบัญชีธนาคารหรือทำธุรกรรมการเงินส่วนใหญ่แล้วก็ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลและตรวจสอบลูกค้าเป็นเรื่องปกติ เพื่อป้องกันการโจรกรรมขึ้นนั่นเอง

 

ใครบ้างที่จำเป็นจะต้องทำ KYC

"kyc ระดับ 2 คือ kyc ระดับ 3"

 

โดยพื้นฐานแล้ว ทางสถาบันการเงินและธนาคารจำเป็นที่จ้องมีการทำ KYC ก่อนการให้บริการกับทางลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น e-Payment หรือบรอการที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินดิจิทัล แต่ในปัจจบันเองก็เริ่มมีหลายธุรกินที่ทำ KYC ด้วอย่างเช่น ธุรกิจด้านคมนาคม หรือประกันภัย เป็นต้น

 

KYC ระดับ 2 KYC ระดับ 3 : ย้ำกันอีกครั้งกับความหมายของ KYC

"kyc ระดับ 2 คือ kyc ระดับ 3"

 

KYC ย่อมาจาก Know your customer หรือบางที่อาจจะให้ชื่อเต็มเป็น Know your client ถึงตัวซีจะแตกต่างกันแต่ความหมายเหมือนกัน ถามว่าเหมือนกันอย่างไร? ก็เหมือนกันตรงที่สถาบันการเงินต้องทำความรู้จักกับลูกค้าของตน ด้วยการแสดงตนด้วยหลักฐาน รวมถึงตอบคำถามต่างๆตามมาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย โดยมีโต้โผใหญ่เป็นปปง.ค่ะ

 

ข้อกำหนดของ KYC ตามกฎหมายที่ธนาคารพาณิชย์ต้องปฎิบัติตาม

"kyc ระดับ 2 คือ kyc ระดับ 3"

 

ในปัจจุบันทางธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดในการทำ KYC เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกฏหมาย โดยมีรายละเอียดคือ การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ตัวตนและข้อมูลที่ทางลูกค้าแสดงกับทางธนาคาร พร้อมกับประเมินใน 3 เรื่องดังต่อไปนี้

 

  • ทำการประเมินและจัดความเสี่ยงในการฟอกเงิน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ซึ่งจะขออธิบายลงรายละเอียดในหัวข้อถัดไป
  • ทำการทบทวนข้อมูลการรู้จักกับลูกค้าและปรับปรุงระดับของความเสี่ยงในการฟอกเงินของลูกค้า ให้มีการอปเดทเป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา
  • ทำการตรวจสอบ Sanction List ของลูกค้าว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำความผิดฐานฟอกเงิน หรือกระทำความผิดในการส่งเงินทุนสนันสนุนให้กับการก่อการร้าย

 

KYC ระดับ 2 KYC ระดับ 3 : เช็คกันนิดกับระดับความเสี่ยงของลูกค้า

"kyc ระดับ 2 คือ kyc ระดับ 3"

 

โดย kyc ได้แบ่งระดับความเสี่ยงของลูกค้าไว้ 3 ประเภท ตามเกณฑ์ดังนี้

  1. ลูกค้าระดับ 1 หมายถึง ลูกค้าท่ีมีความเสี่ยงต่ำ (Low Risk)
  2. ลูกค้าระดับ 2 หมายถงึ ลูกค้าที่มีความเสี่ยงปานกลาง (Medium Risk)
  3. ลูกค้าระดับ 3 หมายถึง ลูกค้าที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ(HighRisk)

 

KYC ระดับ 2 KYC ระดับ 3 : ลูกค้าที่ ‘ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ’

"kyc ระดับ 2 คือ kyc ระดับ 3"

 

ลูกค้ากลุ่มนี้ถือว่าอยู่ในประเภทลูกค้าที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นผู้รับผลประโยชน์หรือมีผู้รับผลประโยชน์สุดท้ายอยู่ใน 3 กลุ่ม ดังนี้

  1. ได้รับการแจ้งว่าอยู่ในรายชื่อผู้มีความเสี่ยงสูงซึ่งท่านสามารถตรวจสอบตนเองผ่านระบบ AMLO Person Screening System หรือระบบ APS
  2. เป็นบุคคลที่มีสถานภาะทางการเมือง
  3. ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง ดังนี้ ค้าอัญมณี, ค้าของเก่า, ค้าอาวุธ, รับแลกเปลี่ยนเงิน, รับโอนเงินข้ามประเทศและภายในประเทศแบบที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน, ทำธุรกิจคาสิโน, นายหน้าจัดหางาน, ธุรกิจทัวร์, ธุรกิจสถานบริการ, รับแลกเปลี่ยนเงิน

 

KYC ระดับ 2 KYC ระดับ 3 : ลูกค้า KYC ระดับ 2

"kyc ระดับ 2 คือ kyc ระดับ 3"

 

ลูกค้า KYC ระดับ 2 หมายถึง ลูกค้าที่มีความเสี่ยงปานกลาง (Medium Risk) โดยจัดกลุ่มตามประเภทและการทำ kyc และ cdd ดังนี้

1ลูกค้าบุคคลธรรมดา

  1. ต้องเป็นลูกค้าชาวต่างชาติ
  2. ต้องเป็นลูกค้าที่ไม่ได้อยู่ในระดับความเสี่ยง 1 และ 3
  3. ในการทำ kyc และ cddตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงระดับ 1
  4. ต้องทราบแหล่งที่มาของเงินในบัญชี
  5. ต้องระบุจำนวนรายการที่เดินและยอดเงินเฉลี่ย

2ลูกค้านิติบุคคล

  1. ต้องเป็นลูกค้านิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศ ซึ่งมีรายได้ส่วนใหญ่เป็นเงินสดค่ะ
  2. หากเป็นหน่วยงานการกุศลระหว่างประเทศและ NPO ต้องให้ความช่วยเหลือเพื่อสร้างความเจริญให้กับประเทศด้อยพัฒนาจัดตั้งมาแล้วต่ำกว่า 10  ปี และมีรายได้ต่ำกว่า 800 ล้านบาท
  3. สถาบันการเงินที่ไม่ได้อยู่ในประเทศสมาชิกของ FATF และไม่อยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินสูง (High Risk Country) ตามภาคผนวก ข
  4. สาขาหรือบริษัทในเครือของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่สมาชิกของ FATF และสำนักงานใหญ่ไม่อยู่ในประเทศสมาชิกของ FATF
  5. § บริษัทอื่นทั้งหมดที่ไม่ได้อยู่ใน ระดับ 1 หรือ 3
  6. kyc และ cdd ตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงระดับ 1
  7. ต้องทราบแหล่งที่มาของเงินในบัญชี
  8. ต้องทราบความสัมพันธ์ของผู้มีอำนาจในบัญชีกับเจ้าของบัญชีหรือเจ้าของธุรกิจ
  9. ต้องระบุจำนวนรายการที่เดินและยอดเงินเฉลี่ย

 

KYC ระดับ 2 KYC ระดับ 3 : ลูกค้า KYC ระดับ 3

"kyc ระดับ 2 คือ kyc ระดับ 3"

 

ลูกค้า KYC ระดับ 3 หมายถึง ลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk) โดยจัดกลุ่มตามประเภทและการทำ kyc และ cdd ดังนี้

1ลูกค้าบุคคลธรรมดา

  1. ท่านจะมีความเสี่ยงสูงก็ต่อเมื่อ ท่านลูกค้าที่มีสถานะหรือเกี่ยวข้องกับนักการเมือง
  2. ลูกค้าที่มีถิ่นที่อยู่หรือแหล่งเงินมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงสูง (NCCT/Tax Havens)
  3. ต้องลูกค้าที่มีอาชีพในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
  4. ลูกค้าที่รายงานเป็นรายการธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยต่อปปง.
  5. ลูกค้าที่ไม่ประสงค์จะให้ข้อมูลและหลักฐานการแสดงตน
  6. การตรวจสอบทำได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับ ลูกค้าที่มีความเสี่ยงระดับ 2
  7. ต้องให้สถาบันการเงินทราบถึงแหล่งที่มาของเงินและทรัพย์สิน
  8. ต้องให้ธนาคารทราบแหล่งที่มาของธุรกรรมที่มีมูลค่าสูงหรือผิดปกติ

2ลูกค้านิติบุคคล

  1. นิติบุคคลกับบุคคลธรรมดาในข้อนี้ไม่ต่างกันค่ะ นั่นคือ ลูกค้าที่เป็นนักการเมืองหรือมีความเกี่ยวข้องกับนักการเมือง
  2. บริษัทที่ดำเนินการหรืออาศัยอยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินสูง (NCCT/ Tax Havens)
  3. สถาบันการเงินที่อยู่ในประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก FATF และไม่มีมาตรการในการป้องกันการฟอกเงิน
  4. สาขาหรือบริษัทในเครือของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่สมาชิกของ FATF แต่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการฟอกเงินสูง
  5. ลูกค้าที่มีอาชีพในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
  6. ลูกค้าที่รายงานเป็นรายการธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
  7. ลูกค้าที่มีความเสี่ยงระดับ 2  และไม่สามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ที่ได้ให้ไว้กับธนาคาร
  8. เป็นลูกค้าที่ไม่ประสงค์จะให้ข้อมูลและหลักฐานการแสดงตนกับธนาคาร
  9. ต้องถูกตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงระดับ 2
  10. ต้องทราบโครงสร้างและความสัมพันธ์ของธุรกิจลูกค้า

 

โดยสรุปใครบ้างที่เข้าข่าย KYC ระดับ 3!?

"kyc ระดับ 2 คือ kyc ระดับ 3"

สำหรับลูกค้า KYC ระดับ 3 หรือกลถุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูงนั้น ทางธฯาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดเอาไว้ โดยอ้างอิงจากข้อกฏหมาย โดยแบ่งประเภทที่จำเป็นจะต้องได้รับการจับตามองเป็นพิเศษ ดังต่อไปนี้

ลูกค้าบุคคลธรรมดา ลูกค้านิติบุคคล
  • ลูกค้าที่มีสถานะหรือเกี่ยวข้องกับนักการเมือง
  • n ลูกค้าที่มีถิ่นที่อยู่หรือแหล่งเงินมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงสูง (NCCT/Tax Havens)
  • n ลูกค้าที่มีอาชีพในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
  • n ลูกค้าที่รายงานเป็นรายการธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย (ปปง.๑-๐๓)
  • n ลูกค้าที่ไม่ประสงค์จะให้ข้อมูล/หลักฐานการแสดงตนกับธนาคาร
  • ลูกค้าที่เป็นนักการเมืองหรือมีความเกี่ยวข้องกับนักการเมือง
  • บริษัทที่ดำเนินการหรืออาศัยอยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินสูง (NCCT/ Tax Havens)
  • สถาบันการเงินที่อยู่ในประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก FATF และไม่มีมาตรการในการป้องกันการฟอกเงิน
  • สาขาหรือบริษัทในเครือของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่สมาชิกของ FATF แต่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการฟอกเงินสูง
  • ลูกค้าที่มีอาชีพในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
  • ลูกค้าที่รายงานเป็นรายการธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย (ปปง.๑-๐๓)
  • ลูกค้าที่มีความเสี่ยงระดับ ๒ และมี Return Mail (ไม่สามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ที่ได้ให้ไว้กับธนาคาร)
  • ลูกค้าที่ไม่ประสงค์จะให้ข้อมูล/หลักฐานการแสดงตนกับธนาคาร

 

**หมายเหตุ : กลุ่มอาชีพที่ถือว่ามีความเสี่ยงสูง KYC ระดับ 3

  • เจ้าของสำนักงานกฎหมาย
  • ธุรกิจค้าขายอัญมณี, ค้าของเก่า, ค้าทอง
  • ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
  • ธุรกิจโอนเงินออกนอกประเทศ
  • ธุรกิจคาสิโน และ การพนัน
  • โรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์
  • นายหน้าค้าอาวุธยุทโธปกรณ์
  • หน่วยงานหรือบุคคลที่ดำเนินธุรกิจเงินกู้นอกระบบ

 

KYC ระดับ 2 KYC ระดับ 3 : บทส่งท้าย

"kyc ระดับ 2 คือ kyc ระดับ 3"

 

การแบ่งเกณฑ์ที่ต้องถูกสอดส่องพฤติกรรมทางการเงินอย่างใกล้ชิดเป็นไปตามระเบียบแบบแผนที่ท่านผู้อ่านคงจะสามารถขึ้นได้ขึ้นมาหนึ่งระดับว่าจะไม่ถูกตรวจสอบโดยใช่เหตุ หากว่าท่านไม่ได้ทำอะไรเข้าข่ายดังที่กล่าวมาด้านบน ที่สำคัญหากมีใครมาแอบอ้างบัญชีท่านก็จะทำโดยสะดวกไม่ได้เลยเพราะ มีขั้นตอนเหล่านี้ช่วยกรองอยู่ค่ะ

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
อิออน ออนไลน์ สมัครอิออน ออนไลน์ สมัครบัตรอิออน ออนไลน์ เบอร์คอลเซ็นเตอร์ อิออน อิออน ติดต่อ
ธนาคาร/สถาบันการเงินผู้ให้บริการบัตรเครดิต
อยากสมัครบัตรอิออน (Aeon) ออนไลน์ ติดต่อคอลผ่านเซ็นเตอร์ได้ที่ไหนบ้าง!?
ติดต่อคอลเซ็นเตอร์เพื่อสมัครบัตรอิออน (Aeon) ผ่านออนไลน์ โทรเบอร์ไหนได...
บัตรเครดิตธนาคารออมสิน AOMSIN BANK
ธนาคาร/สถาบันการเงินผู้ให้บริการบัตรเครดิต
รวมบัตรเครดิตธนาคารออมสิน (AOMSIN BANK) กับสิทธิประโยชน์ที่ไม่ควรพลาด
บัตรเครดิตธนาคารออมสินดีไหม โดนใจหรือเปล่า!? บทความนี้มีคำตอบ!!! ใครอย...