สินเชื่อบ้านมือสอง ธอส.
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

Contents

เคล็ดลับรีไฟแนนซ์ที่ดินฉบับมือใหม่ก็ทำได้ไม่เห็นยาก!

 

สินเชื่อบ้านกรุงศรี Pantip 2562

 

สำหรับการรีไฟแนนซ์...

ไม่ได้มีแค่การรีไฟแนนซ์สินเชื่อส่วนบุคคลหรือสินเชื่อรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตแต่ยังมีการรีไฟแนนซ์บ้านและที่ดิน แต่สำหรับบางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจนักว่าการรีไฟแนนซ์ที่ดินต้องทำอย่างไรและทำต้องอย่างไรให้มีประสิทธิภาพที่สุด

ในบทความนี้จะแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้านและที่ดินที่จะทำให้ท่านเข้าใจง่ายๆโดยไม่มีข้อกงหาใดอีก จะมีอะไรบ้างตามไปอ่านด้านล่างกันได้เลยค่ะ

 

การรีไฟแนนซ์ที่ดิน ที่ดินเปล่า คืออะไร!?

 

การรีไฟแนนซ์ที่ดิน คือ การขอสินเชื่อใหม่กับทางธนาคารใหม่ หรือธนาคารเดิม สำหรับการซื้อที่ดินเปล่า เพื่อใช้ในการปลูกสร้างบ้านที่อยู่อาศัยเพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ลดน้อยลงมากกว่าเดิม โดยทั่วไปแล้วหลักการของการรีไฟแนนซ์ที่ดินเปล่าก็จะเหมือนกับการขอรีไฟแนนซ์บ้านที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีนั่นเอง

 

ย้ายไฟแนนซ์ที่ดินไปยังธนาคารใหม่กับธนาคารเดิม อันไหนคุ้มค่ามากกว่ากัน!?

 

หลายคนอาจจะมีคำถามคาใจว่า เมื่ออัตราของสินเชื่อซื้อที่ดินเพิ่มสูงมากขึ้นจนดูเเหมือนจะกลายมาเป็นภาระ ควรที่จะทำการรีไฟแนนซ์ที่ดิน ควรที่จะย้ายไฟแนนซ์ที่ดินไปยังธนาคารใหม่ หรือขอทำการรีไฟแนนซ์ที่ดินกับทางธนาคารเดิมดีกว่ากัน!?

สำหรับประเด็นนี้ก็สามารถตัดสินใจได้ไม่ยาก ก่อนอื่นเลยลองติดต่อกับทางธนาคารเดิมก่อนหลังจากที่ผ่อนชำระคืนครบสามปีแล้วว่าจะขอลดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่พึงพอใจได้หรือไม่!?

แต่ถ้าหากทางธนาคารไม่สามารถทำได้ การย้ายไฟแนนซ์ที่ดินเปล่าไปยังธนาคารแห่งใหม่ที่มีข้อเสนอโดยรวมที่ดีกว่า ย่อมเป็นเรื่องที่ประหยัดและดีกว่าอย่างแน่นอน

 

ธนาคารใดบ้างที่รับรีไฟแนนซ์ที่ดินและน่าสนใจที่สุดในปัจจุบัน

 

สำหรับคนที่กำลังมองหาธนาคารที่รับรีไฟแนนซ์ที่ดิน ในปัจจุบันเองก็มีให้เลือกกันอยู่หลายแห่ง แต่ที่รับรีไฟแนนซ์ที่ดินโดยมีเงื่อนไขไม่ยุ่งยากและมีความน่าสนใจนั้น มีดังต่อไปนี้

 

1.รับรีไฟแนนซ์ที่ดิน ธนาคารกรุงไทย : สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์

 

จุดเด่นของการรับรีไฟแนนซ์ที่ดินเปล่า

  • อัตราดอกเบี้ยปีแรกเริ่มต้นเพียง 0.75% ต่อปี
  • ทางธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1%
  • ฟรี!  ค่าธรรมเนียมในการยื่นกู้

 

2.รับรีไฟแนนซที่ดิน ธนาคารไทยพาณิชย์ : สินเชื่อบ้านมือสอง

 

จุดเด่นของการรับรีไฟแนนซ์ที่ดินเปล่า

 

  • สินเชื่อสำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อบ้านมือสอง หรือบ้านหลุดจำนองของทางธฯาคาร ทั้งบ้านเดี่ยว คอนโด ทสวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์และที่ดินเปล่า ด้วยสภาพที่ดี ทำเลดี ในราคาพิเศษ
  • ผ่อนชำระยาวนาน สูงสุด 30 ปี
  • ฟรี! ค่าธรรมเนียมการให้บริการสินเชื่อ

 

รีไฟแนนซ์ที่ดิน ต้องทำอย่างไร มาทำความเข้าใจง่ายๆในบทความนี้ : ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์

 

 

1. ตรวจสอบสัญญา

ในการรีไฟแนนซ์ท่านจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบสัญญาว่าทางสถาบันการเงินนั้นๆกำหนดว่าให้สามารถเริ่มรีไฟแนนซ์ได้ช่วงใด โดยปกติแล้วในสัญญามักจะระบุว่าสามารถเริ่มรีไฟแนนซ์บ้านได้เมื่อผ่อนไปแล้ว 3 ปี

2. เลือกธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เหมาะสม

เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องเกิดขึ้นระหว่างทำสัญญารีไฟแนนซ์ใหม่ โดยพยายามเลือกธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายจากเดิมให้ได้มากที่สุด

3. เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน

การรีไฟแนนซ์ต้องใช้เอกสารมากมายเพราะ เทียบเท่ากับการขอยื่นกู้สินเชื่อใหม่อีกครั้ง ดังนั้นท่านต้องจัดเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนเพื่อย่นระยะเวลาการรอพิจารณาและป้องกันการโดนตีกลับเพราะ เอกสารไม่ครบหรือไม่สมบูรณ์หรือไม่ผ่านเกณฑ์ โดยเอกสารจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล เอกสารที่เกี่ยวกับข้อมูลของผู้กู้ ใช้เพื่อยืนยันตัวตนกับธนาคาร

1.1 สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ

 

1.2 สำเนาทะเบียนบ้าน

1.3 สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ของคู่สมรส (ถ้ามี)

1.4 สำเนาทะเบียนสมรส/หย่า/ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)

1.5 สำเนาใบมรณะบัตร และทะเบียนสมรสของคู่สมรส (กรณีคู่สมรสเสียชีวิต)

 

เอกสารแสดงหลักประกันที่นำมารีไฟแนนซ์

2.1 สำเนาแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน เช่น โฉนดที่ดิน หรือ หนังสือรับรองกรรมสิทธิ์ห้องชุด

2.2 ใบอนุญาติปลูกสร้าง/หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง เช่นสำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดิน ทด.13 หรือสัญญาให้ที่ดิน ทด.14

2.3 สำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน

2.4 สำเนาสัญญากู้เงินธนาคารเดิม

2.5 สำเนาใบเสร็จเงินกู้เดือนล่าสุด

2.6 แผนที่ตั้งหลักประกันโดยสังเขป

4. เอกสารแสดงรายได้

 

ท่านต้องเตรียมเอกสารแสดงรายได้ไปด้วย โดยเอกสารแสดงรายได้แบ่งเป็นสองแบบ ดังนี้

 

สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ประจำ

 

1.1 สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองการทำงาน(ตัวจริง)

1.2 รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน

1.3 สำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)

 

สำหรับบุคคลธรรมดาที่ทำธุรกิจส่วนตัว

 

2.1 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน/ใบทะเบียนการค้า

2.2 สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีชื่อผู้กู้/ผู้กู้ร่วม

2.3 สำเนารายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน (ทั้งในนามบุคคลและกิจการ)

2.4 สำเนา ภ.พ. 30 (ถ้ามี)

 

 

รีไฟแนนซ์ที่ดิน ต้องทำอย่างไร มาทำความเข้าใจง่ายๆในบทความนี้ : รีไฟแนนซ์อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ ประเมินข้อดี ข้อเสีย

รีไฟแนนซ์บ้านธนาคารออมสิน

 

ประการแรกอยากให้ทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่ารีไฟแนนซ์ (Refinance) การรีไฟแนนซ์คือ การที่ท่านชำระเงินกู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดด้วยเงินกู้ใหม่ ซึ่งมีหลักประกันเป็นสินทรัพย์ตัวเดิมโดยขอกู้เงินจากสถาบันการเงินแห่งใหม่เพื่อนำไปปลดภาระเงินกู้เก่าที่มีอยู่

ข้อดีของการรีไฟแนนซ์

 

1. การรีไฟแนนซ์จะทำให้ได้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ที่ถูกกว่า ซึ่งจะทำให้การผ่อนชำระในดอกเบี้ยถูกลงกว่าเดิม

2. การรีไฟแนนซ์ ในบางกรณีได้วงเงินกู้มากขึ้นกว่ายอดคงค้างเดิม

3. การรีไฟแนนซ์จะช่วยลดภาระหนี้ เนื่องจากจำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนลดลง

4. การรีไฟแนนซ์จะได้รับเงินส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง นั่นคือ การมีเงินเหลือใช้จ่าย ซึ่งท่านสามารถนำเงินส่วนนี้ไปหมุนเวียนได้

ข้อเสียของการรีไฟแนนซ์

 

1. การรีไฟแนนซ์จะทำให้ระยะเวลาผ่อนชำระนานขึ้น

2. ท่านจะต้องเสียค่าจัดรีไฟแนนซ์ใหม่ เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ รวมถึงเสียเวลาและอาจต้องเสียค่าปรับหากมีการไถ่ถอนสัญญาหนี้ก่อนกำหนด

3. การรีไฟแนนซ์นั้นมีความยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร เช่น เอกสารเกี่ยวกับรายได้ของผู้กู้ ในบางครั้งอาจทำให้ไม่สามารถทำการรีไฟแนนซ์ได้

 

รีไฟแนนซ์ ธอส.

ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านและที่ดิน

 

1. ค่าปรับการคืนเงินกู้ก่อนกำหนดตามสัญญาที่มีอยู่ ประมาณ 2-3% ของวงเงินกู้

2. ค่าจัดการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ ประมาณ 0-1% ของวงเงินกู้ใหม่

3. ค่าธรรมเนียมในการจำนอง ประมาณ 1% ของราคาประเมิน

4. ค่าประเมินราคาหลักประกัน ประมาณ 2,500 บาท-0.25% ของราคาประเมิน

5. ค่าทำประกันอัคคีภัย ประมาณ 2,000 บาทสำหรับบ้านมูลค่า 1 ล้านบาท

6. ค่าอากรแสตมป์ ประมาณ 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่

 

รีไฟแนนซ์ที่ดิน ต้องทำอย่างไร มาทำความเข้าใจง่ายๆในบทความนี้ : เทคนิคและขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้านและที่ดิน

รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต 2563

 

1. พิจารณาอัตราดอกเบี้ยในแต่ละธนาคารเพื่อหาดอกเบี้ยที่ดีที่สุด

2. เปรียบเทียบสัญญาเก่าและเงื่อนไขสินเชื่อรีไฟแนนซ์อันใหม่เพื่อพิจารณาว่าค่าใช้จ่ายส่วนต่างประหยัดลงมากน้อยแค่ไหน ถ้าประหยัดได้มากก็คุ้มค่าที่จะยื่นขอรีไฟแนนซ์ค่ะ

3. ติดต่อธนาคารเดิมเพื่อขอสรุปยอดหนี้เงินกู้และนำเอกสารที่ได้ไปยื่นกู้กับธนาคารใหม่

4. ทำเรื่องยื่นขอกู้สินเชื่อรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ เตรียมเอกสารให้ครบถ้วนเรียบร้อย

5. รอผลพิจารณาอนุมัติจากธนาคารใหม่

6. เมื่อได้รับการอนุมัติจากธนาคารใหม่แล้วให้กลับไปติดต่อธนาคารเก่า เพื่อนัดวันไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดิน

 

รีไฟแนนซ์ที่ดิน ต้องทำอย่างไร มาทำความเข้าใจง่ายๆในบทความนี้ : บทส่งท้าย

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะกับสินเชื่อรีไฟแนนซ์ที่ดิน จะเห็นได้ว่าสามารถตอบโจทย์ทุกท่านที่อยากลดภาระได้เป็นอย่างดี ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกใจ อีกทั้งยังไม่ได้ตั้งเกณฑ์คุณสมบัติจนเกินเอื้อม เอกสารที่ใช้ถ้ามีครบถ้วนสมบูรณ์ก็มั่นใจได้เลยว่าไม่ต้องเสียเวลารอนาน ดังนั้นจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นอีกทางที่ช่วยให้ท่านผู้อ่านเจอสินเชื่อที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของชีวิตค่ะ

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
เพิ่มวงเงินบัตรเครดิต KTC ทั้ง 2 แบบ (ชั่วคราวและถาวร) คืออะไร? ทำอย่างไร?
ธนาคาร/สถาบันการเงินผู้ให้บริการบัตรเครดิต
เพิ่มวงเงินบัตรเครดิต KTC ทั้ง 2 แบบ (ชั่วคราวและถาวร) คืออะไร? ทำอย่างไร?
เพิ่มวงเงินบัตรเครดิต KTC ทั้ง 2 แบบ (ชั่วคราวและถาวร) คืออะไร? ทำอย่า...