ประกันสุขภาพสูงวัย สำหรับคนมีแผนไว้รับมือโรคภัยที่อาจมาเยือนกับ 10 ข้อควรรู้ที่ไม่ควรพลาด!
เมื่ออายุมากเข้าเกินวัย 50... เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความ “สูงวัย” ที่ร่างกายเริ่มเกิดการเสื่อมโทรมไปตามวันเวลา ส่งผลให้อาจเกิดโรคภัยหลายประการขึ้นมาเบียดเบียนการใช้ชีวิต ซึ่งการรักษาพยาบาลก็ย่อมต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากเช่นกัน ดังนั้น การทำประกันสุขภาพสูงวัยเอาไว้เสียตั้งแต่แรก ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
10 เรื่องที่ควรรู้ก่อนทำการตัดสินเลือกทำประกันสุขภาพสูงวัย
1.ประกันสุขภาพ คืออะไร!?
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ให้คำจำกัดความหมายของการประกันสุขภาพเอาไว้ว่า “เป็นการประกันภัย ที่บริษัทประกันภัยตกลงจะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการเจ็บป่วยจากโรคภัยหรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้แก่ผู้เอาประกัน”
2.ประกันสุขภาพสูงวัยให้ความคุ้มครองในด้านใดบ้าง!?
ประกันสุขภาพสูงวัย ต้องให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่าย 7 ข้อ ดังต่อไปนี้
ค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว ได้แก่ ค่าห้องและค่าอาหาร ค่าบริการทั่วไปและค่าใช้จ่ายกรณีเข้ารับการรักษาฉุกเฉิน
- ค่าใช้จ่ายจากการผ่าตัด อาทิ ค่าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด
- ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการให้แพทย์มาดูแล (ค่าแพทย์เข้าเยี่ยม)
- ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD)
- ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร
- ค่าใช้จ่ายจากการรักษาฟัน
- การชดเชยค่าใช้จ่าย เช่น ชดเชยรายได้รายวัน
3.ประกันสุขภาพสูงวัยควรทำในช่วงเวลาใด!?
การทำประกันสุขภาพสูงวัย แบบที่หวังผลในการช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน หรือผู้ป่วยนอกควรทำประกันสุขภาพสูงวัยในช่วงอายุไม่เกิน 60-70 ปี และต้องยังมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่มีประวัติในการเป็นโรคประจำตัวหรือโรคร้ายแรง
4.ควรเลือกทำประกันสุขภาพสูงวัยแบบใด!?
โดยทั่วไปแล้วประกันสุขภาพสูงวัยในปัจจุบัน มักจะเน้นเพียงแค่ความคุ้มครองการชดเชยรายได้ต่อวันเมื่อต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลและรับความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต ขึ้นอยู่กับทุนของประกันที่จ่าย ดังนั้น ขอแนะนำว่าควรทำประกันสุขภาพสูงวัยที่ได้รับการคุ้มครองอย่างครบถ้วนทั้ง 7 ข้อ ที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในตอนต้น ในช่วงอายุที่สามารถทำประกันสุขภาพสูงวัยได้ ในช่วงที่ยังแข็งแรงและยังตรวจไม่พบโรคภัยร้ายแรงที่เป็นกรณียกเว้นการรับการประกันจะเป็นการดีที่สุด
5.รู้จักกับ Deductible และ Copayment ในประกันสุขภาพสูงวัย
- Deductible เป็นการร่วมจ่ายส่วนแรกที่คงที่ เช่น ประกันจ่ายให้ 2,000 บาท ทุกครั้งที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เป็นต้น
- Copayment เป็นการรวมจ่ายแบบ % ที่คงที่ เช่น ยอดการรักษาพยาบาลโดยรวมคือ 100,000 บาท หากประกันเป็นแบบ Copayment 20% หมายความว่า ผู้ที่ถือกรมธรรม์ต้องร่วมจ่าย 20,000 บาท ในการรักษาตัวในโรงพยาบาล เป็นต้น
6.ประกันสุขภาพสูงวัยช่วยลดหย่อนภาษีได้
ประกันสุขภาพสูงวัยหลายแผนสามารถช่วยให้บุตรที่ซื้อประกันให้กับพ่อแม่ได้รับการลดหย่อนภาษีด้วย แต่จำเป็นที่จะต้องสอบถามกับตัวแทนขายประกันให้ดีว่าแผนที่เลือกใช้นั้น สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เฉพาะผู้ที่มีชื่อเอาประกันภัย หรือใช้ในการลดหย่อนภาษีในนามของบุตรที่เป็นผู้ชำระเบี้ยได้ เพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงปลายปี ทำให้มีโอกาสได้รับภาษีคืนต่อปีตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร
7.“วงเงินเอาประกัน” ของประกันสุขภาพสูงวัย คืออะไร!?
วงเงินเอาประกัน คือ เงินที่ทางบริษัทประกันมอบให้กับผู้ซื้อประกัน ที่เป็นจำนวนที่สอดคล้องกับเบี้ยประกันที่ต้องจ่าย หากทำการจ่ายมากก็จะได้รับการคุ้มครองมาก โดยขึ้นอยู่กับผู้ซื้อประกันเต็มใจจะจ่ายเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด
8.เป้าหมายในการทำประกันสุขภาพสูงวัย
โดยทั่วไปแล้วประกันสุขภาพสูงวัย มักจะมีเป้าหมายได้ 2 แบบ ดังต่อไปนี้
- แบบเน้นการความคุ้มครอง คือ จ่ายเฉพาะกรณีเสียชีวิต (*จ่ายเงินชดเชย) และเงินค่ารักษาพยาบาลเมื่อเข้ารักษาตัว (*ประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุ)
- แบบสะสมทรัพย์ จะได้รับเงินคืนตามที่สัญญาได้กำหนดเอาไว้เช่น 5 ปี หรือ 10 ปี และหากครบอายุสัญญาโดยที่ไม่ได้เสียชีวิตก็จะได้รับเงินคืน ทำให้ถือว่าเป็นการออมทรัพย์รูปแบบหนึ่งเช่นกัน
9.ศึกษารายละเอียดประกันสุขภาพสูงวัยให้ดีเสียก่อน
บริษัทประกันแต่ละแห่งมีรายละเอียดในการให้แผนการประกันสุขภาพสูงวัยที่แตกต่างกัน ดังนั้น ควรทำการอ่านศึกษาข้อมูลทั้งหมดในสัญญาให้ดีว่ามีเรื่องใดบ้างที่ให้การคุ้มครอง และเรื่องใดบ้างที่ได้ให้การคุ้มครอง เพราะจะเป็นการช่วยปกป้องผู้ซื้อประกันในภายหลัง
10.ประกันสุขภาพสูงวัยที่น่าสนใจในปัจจุบันมีที่ไหนกันบ้าง!?
สำหรับคนที่กำลังมองหาประกันสุขภาพสูงวัยที่ให้ความคุ้มครองเหมาะสมกับตัวเองแล้วยังตัดสินใจไม่ว่าควรเลือกทำกับประกันสุขภาพสูงวัยที่ไหนดี ลองมารู้จักกับประกันสุขภาพสูงวัยดังต่อไปนี้กัน
บริษัทประกัน | จุดเด่นที่น่าสนใจของประกันผู้สูงอายุ |
ประกันชีวิต 50 อัพ (เพื่อผู้สูงอายุ) - AIA | · ให้ความคุ้มครองตั้งแต่ 50,000 – 300,000 บาท
· กรณีจ่ายครบสัญญาได้รับเงินคืน 150% |
เมืองไทยวัยเก๋า คุ้มทั่วไทย (เพื่อผู้สูงอายุ) - เมืองไทยประกันชีวิต | · จ่ายค่าชดเชยรายได้รายวันเมื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (*ห้องธรรมดาและ ICU)
· ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ · ไม่ต้องสำรองจ่าย |
มรดกเพิ่มพูน (เพื่อผู้สูงอายุ) - ไทยประกันชีวิต | · ครบสัญญาได้เงินคืน
· คุ้มครองจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุสูงสุด 450,000 บาท |
ประกันชีวิตสูงวัย ได้เกินร้อย (เพื่อผู้สูงอายุ) - อลิอันซ์ | · แผนประกันชีวิตพ่วงประกันสุขภาพ
· คุ้มครองถึงอายุ 90 ปี · เบี้ยประกันใช้ลดหย่อนภาษีตามชื่อของผู้เอาประกันได้ |
บทสรุปส่งท้าย : ประกันสุขภาพสูงวัยดีไหม ควรทำไว้หรือเปล่า!?
จากข้อมูลที่ได้ยกมาเป็นตัวอย่างกันไปแล้วในข้างต้น... เชื่อว่าคงจะทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกอยากที่จะสมัครประกันสุขภาพสูงวัย อาไว้เพื่อรับมือกับโรคภัยและสารพัดปัญหาด้านสุขภาพ รวมไปถึงอุบัติเหตุที่ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นในอนาคตกันอย่างแน่นอน แต่อย่าลืมทำการศึกษาประกันสุขภาพสูงวัยของแต่ละบริษัทให้ดีเสียก่อน เพื่อที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองได้ดีที่สุดนั่นเอง...