kyc ป ป ง
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

ปปง. กับข้อกำหนด KYC ควรรู้ที่บอกเลยว่าห้ามพลาด!!!

kyc ป ป ง

 

KYC ปปง........หากว่าท่านผู้อ่านไม่เคยรู้จักชื่อนี้ขององค์กรนี้มาก่อน กูรูเครดิตจะพาทุกท่านไปเจาะลึกรายละเอียดขององค์กรที่เป็นต้นคิดในเรื่องระบบ kyc เพื่อยืนยันตัวตนและทำความรู้จักลูกค้า องค์กรที่เป็นหัวเรือใหญ่ของการเห็นชอบการออกกฎหมายบังคับใช้ให้ธนาคารและสถาบันการเงินในกำกับดูแลต้องปฏิบัติ อ่านแค่นี้คงรู้สึกได้แล้วใช่ไหมคะว่าปปง.มีความสำคัญแค่ไหน ไปทำความรู้จักกับ kyc ปปง.กันเลย

 

kyc ปปง : รู้จักไว้กับพี่ใหญ่ผู้กำกับดูแล kyc

kyc ป ป ง

 

ก่อนจะพูดเรื่องว่าปปง.ทำอะไรบ้าง เราควรแนะนำเสียก่อนว่าสำนักงานพี่เบิ้มที่กำกับดูแลธนาคารในเรื่องระบบ kyc คืออะไร กูรูเครดิตจะขอแนะนำแบบกระชับแต่ครบถ้วน ปปง.หรือชื่อเต็มคือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐที่มีหน้าที่กำหนดและดูแล เกี่ยวกับการปราบปรามการฟอกเงิน ไม่เพียงแค่นั้นยังเป็นหน่วยงานที่จะคอยตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินอีกด้วย ทีนี้ก็พอจะเชื่อมโยงกันได้แล้วว่าปปง.เกี่ยวข้องกับ kyc ที่มีมาเพื่อปราบปรามการฟอกเงินอย่างไร 

kyc ปปง : การฟอกเงินคืออะไร? ทำไมต้องคอยตรวจสอบ

kyc ป ป ง

 

นักอ่านบางท่านอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจคำว่าการฟอกเงินอย่างถ่องแท้นักและพาลจะเครียดเมื่อได้เห็นคำว่าธนาคารจะสอดส่องดูแลพฤติกรรมการเงินผ่านการทำธุรกรรม เราจึงขออธิบายว่าการฟอกเงินคือ การนำเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำไม่ถูกต้อง แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาเปลี่ยนเป็นเงินหรือสินทรัพย์ในแบบที่ถูกต้อง ทำให้เหมือนว่า ‘ได้มาชอบโดยกฎหมาย’ พูดกันภาษาชาวบ้าน การฟอกเงินก็คือ การทำให้เงินสกปรกกลายเป็นเงินสะอาดนั่นเองค่ะ

โดยการฟอกเงิน มีขั้นตอนดังนี้

  1. Placement คือ การนำทรัพย์เข้าสู่ระบบเช่น การนำไปฝากธนาคาร (ซึ่งในขั้นตอนนี้มีการนำระบบ kyc เข้ามาช่วยตรวจสอบ)
  2. Layering คือ การแปลงทรัพย์สินโดยการทำธุรกรรมหลายชั้น เพื่อให้ติดตามที่มาของทรัพย์ยากขึ้น
  3.  Integration คือ การปนทรัพย์หรือก็คือ การนำเงินสกปรกมาปนกับเงินสะอาด (ที่ชอบด้วยกฎมาย)

 

kyc ปปง : kyc ที่ปปง.บังคับใช้ ต้องทำยังไงถึงจะถูกต้อง

kyc ป ป ง

  1. ต้องมีการจัดให้ลูกค้าแสดงตน

โดยผู้ให้บริการในกำกับมีหน้าที่ขอสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเมื่อมาทำธุรกรรมค่ะ โดยไม่ใช่ให้พูดคุยอะไรนะคะแต่เป็นการขอข้อมูลและหลักฐานประกอบการแสดงตน เช่น บัตรประชาชน และมีหน้าที่ตรวจสอบว่าคนที่มายื่นขอทำธุรกรรมกับเจ้าของบัตรประชาชนเป็นคนเดียวกันหรือไม่

2. ลูกค้าต้องแสดงตนทุกครั้งเมื่อทำธุรกรรม ดังนี้

2. 1กรณีทำธุรกรรมเงินสดไม่ว่าครั้งเดียวหรือหลายคร้ังที่อาจมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องมีมูลค่ารวมกัน 100,000 บาทข้ึนไป

2.2 กรณีมีการใช้บริการรับชาระเงินแทนในแต่ละคร้ัง ที่มีมูลค่าต้ังแต่ 500,000 บาทขึ้นไป

2.3 กรณีการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือการโอนเงินหรือการชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละครั้ง ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 50,000 ขึ้นไป

 

kyc ปปง : ความเสี่ยงของลูกค้า มีอะไรบ้างนะ? แล้วเราเข้าข่ายหรือไม่?!

kyc ป ป ง

 

ปปง. ได้แบ่งระดับความเสี่ยงของลูกค้าเป็น 3 ระดับค่ะ โดยหากท่านผู้อ่านเป็นลูกค้าที่มีคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ท่านจะมีชื่ออยู่ในลิสต์ลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะถูกเฝ้าระวังเรื่องการฟอกเงินอย่างใกล้ชิด ย้ำว่าอย่างใกล้ชิดเลยนะคะ

  1. หากท่านเป็นลูกค้าหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงที่ได้รับการแจ้งว่าอยู่ในรายชื่อผู้มีความเสี่ยงสูงซึ่งท่านสามารถตรวจสอบตนเองผ่านระบบ AMLO Person Screening System หรือระบบ APS
  2. หากท่านเป็นลูกค้าหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงเป็นบุคคลที่มีสถานภาะทางการเมือง
  3. หากท่านเป็นลูกค้าหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงที่ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง ดังนี้ ค้าอัญมณี, ค้าของเก่า, ค้าอาวุธ, รับแลกเปลี่ยนเงิน, รับโอนเงินข้ามประเทศและภายในประเทศแบบที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน, ทำธุรกิจคาสิโน, นายหน้าจัดหางาน, ธุรกิจทัวร์, ธุรกิจสถานบริการ, รับแลกเปลี่ยนเงิน

 

kyc ปปง : ใครมีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมบ้างล่ะ?

kyc ป ป ง

 

 

ในส่วนของผู้ที่มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม ปปง.ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามความแตกต่างของบทนิยามในมาตรา 3 และ 16 ค่ะ มีดังนี้

  1. ผู้ที่มีหน้าที่รายงานธุรกรรม ประเภทสภาบันการเงิน

ตัวอย่างได้แก่ ธนาคารพาณิชย์, สถาบันการเงินเฉพาะกิจ, สหกรณ์, ตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ (MT), ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (MC), ผู้ประกอบธุรกิจระบบการชำระเงิน, บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน, บริษัทเงินทุน, บริษัทเครดิตฟองซิเอร์, บริษัทประกันชีวิต, ประกันวินาศ, บริษัทบริหารสินทรัพย์

2. ผู้ที่มีหน้าที่รายงานธุรกรรม ประเภทผู้ประกอบอาชีพ

ตัวอย่างได้แก่ ที่ปรึกษาการลงทุน, ผู้ค้าอัญมณี, ผู้ค้าและให้เช่ารถ, นายหน้าอสังหาริมทรัพย์, สินเชื่อส่วนบุคคล, ผู้ค้าของเก่า, ผู้รับแลกเปลี่ยนเงินบุคคลธรรมดา

 

kyc ปปง : บทส่งท้าย

kyc ป ป ง

 

อ่านมาจนจบคงร้องอ๋อกันถ้วนหน้าเลยใช่ไหมคะ จากหลักการและวัตถุประสงค์ของระบบ kyc ไม่ได้มีขึ้นมาเพื่อสอดส่องลูกค้าที่ทำธุรกรรมแต่ทั้งนี้ทำเพื่อระมัดระวังการฟอกเงินและการโจรกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในยุคนี้ กลับกันถ้าไม่มีระบบ kyc ลองคิดว่าถ้าทำบัตรประจำตัวประชาชนหายแล้วมีคนนำไปทำธุรกรรมแบบไม่ตรวจสอบ เราจะเสียหายแค่ไหน จริงไหมคะ?

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
แอ พ บัตร เครดิต กรุงเทพ
ธนาคาร/สถาบันการเงินผู้ให้บริการบัตรเครดิต
[ 5 สิ่งน่ารู้ ] แอพ Mobile Banking จากธนาคารกรุงเทพ ทำอะไรได้บ้าง? สมัครบัตรเครดิตได้ไหม?
แอพ Mobile Banking จากธนาคารกรุงเทพ จำเป็นและสะดวกแค่ไหน? บทความนี้รวม...