Contents
- 1 รู้ก่อนเข้าใจก่อนกับแบบฟอร์ม KYC/CDD ที่ลูกค้าสถาบันการเงินควรรู้จัก
- 2 กฎหมายฟอกเงิน KYC/CDD คืออะไร!?
- 3 ทำไมแบบฟอร์ม KYC/CDD ถึงมีความจำเป็น!?
- 4 หน่วยงานใดบ้างที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของการทำ KYC/CDD
- 5 บุคคลใดบ้างที่ต้องทำการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม KYC/CDD
- 6 สิ่งที่มักพบในแบบฟอร์ม KYC/CDD มีอะไรกันบ้าง!?
- 7 E-KYC ก้าวใหม่ของการทำ KYC/CDD ที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม
- 8 1.E-KYC ระบบ Biometric Authentication
- 9 2.E-KYC ระบบ Digital ID verification
- 10 3.E-KYC ระบบ Geolocation and Identity Verification
- 11 บทสรุปส่งท้าย : แบบฟอร์ม KYC/CDD เป็นเรื่องที่สำคัญจริงหรือเปล่า!?
รู้ก่อนเข้าใจก่อนกับแบบฟอร์ม KYC/CDD ที่ลูกค้าสถาบันการเงินควรรู้จัก
สำหรับคนที่เดินทางไปยังธนาคารและสถาบันทางการเงิน... หลายคนอาจเกิดความสงสัยว่าทำไมขั้นตอนการเปิดบัญชีเงินฝากใหม่ หรือขั้นตอนการกรอกรายละเอียดการลงทุนมักจะมีแบบฟอร์ม KYC/CDD ที่ต้องระบุตัวตนมากมายจนทำให้คนที่ไม่ชอบความวุ่นวายไม่ปลื้ม! กับสิ่งที่เกิดขึ้นมานัก แต่ที่จริงแล้วแบบฟอร์ม KYC/CDD เหล่านี้ มีประโยชน์อย่างมากเลยทีเดียว ส่วนแบบฟอร์มนี้จะมีข้อดี รวมไปถึงเรื่องที่น่ารู้อย่างไรกันบ้างนั้น มาติดตามอ่านจากบทความชิ้นนี้กันได้เลย...
กฎหมายฟอกเงิน KYC/CDD คืออะไร!?
*KYC ย่อมาจาก Know Your Customer หมายถึง กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของบุคคล
*CDD ย่อมาจาก Customer Due Diligence หมายถึง พฤติกรรมการโอนเงิน ฝาก ถอน มีความผิดปกติหรือไม่
ทั้งสองสององค์ประกอบนี้ เป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ส่งผลบังคับให้สถาบันทางการเงินต้องทำการปรับตัวให้มีการทำแบบฟอร์ม KYC/CDD สำหรับลูกค้า เพื่อเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรมโดยใช้ช่องทางของธนาคารขึ้นนั่นเอง
ทำไมแบบฟอร์ม KYC/CDD ถึงมีความจำเป็น!?
ในปัจจุบันจำนวนของอาชญากรรมทางการเงินและการก่อการร้ายทั้งในประเทศและนอกประเทศได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังเกิดช่องทางในการขโมยข้อมูลมากมายจากการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น เช่น การขโมยเลขบัตรเครดิต เลขประกันสังคม เป็นต้น จากนั้นผู้ไม่หวังดีเหล่านี้ ก็จะนำสิ่งที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ที่สร้างความเสียหายให้กับสถาบันทางการเงิน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตัวของผู้ที่ถูกทำการขโมยข้อมูลไปจากการถูกสวมรอย จนอาจทำให้กลายเป็นผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีทางกฎหมายโดยไม่ทันรู้ตัว
หน่วยงานใดบ้างที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของการทำ KYC/CDD
- สถาบันทางการเงิน
- บริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต)
- บริษัทให้บริการ e-Payment และการให้บริการด้านการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
บุคคลใดบ้างที่ต้องทำการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม KYC/CDD
ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กำหนดผู้ที่ต้องทำการกรอกแบบฟอร์ม KYC/CDD เอาไว้ดังต่อไปนี้
- บุคคลธรรมดา
- นิติบุคคล
- บุคคลที่ไม่มีความสามารถตามกฎหมาย (*ผู้เยาว์)
- องค์กรที่ไม่ใช่นิติบุคคล เช่น ชมรม เป็นต้น
สิ่งที่มักพบในแบบฟอร์ม KYC/CDD มีอะไรกันบ้าง!?
สำหรับแบบฟอร์มในการทำ KYC/CDD โดยทั่วไปแล้วมักที่จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- บัตรประชาชน หรือพาสสปอร์ต
- หมายเลขโทรศัพท์
- อีเมล
- ที่อยู่
- Stamen ของธนาคาร
- บิลใบเสร็จค่าน้ำค่าไฟฟ้า และโทรศัพท์
E-KYC ก้าวใหม่ของการทำ KYC/CDD ที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม
ณ ปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นกว่าเดิมก็ทำให้การทำ KYC/CDD มีความสะดวกง่ายดายและรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า E-KYC โดยมีเทคโนโลยี ที่ควรให้ความใส่ใจและรู้จัก ดังต่อไปนี้
1.E-KYC ระบบ Biometric Authentication
เป็นเทคโนโลยีป้องกันการทำ KYC ด้วยการเข้าระบบผ่านการยืนยันตัวตนโดยอาศัยข้อมูลทางชีวมิติ เช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา การจดจำใบหน้า เป็นต้น
2.E-KYC ระบบ Digital ID verification
การยืนยันตัวตนโดยอาศัยการถ่ายภาพหนังสือเดินทาง (Passport) บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรเครดิต เป็นต้น เพื่อส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการยืนยันตัวตนต่อไป
3.E-KYC ระบบ Geolocation and Identity Verification
เป็นการยืนยันตัวตน ด้วยการนำสถานที่ในการทำธุรกรรม เข้ามาช่วยในการตรวจสอบอีกชั้นหนึ่งของ Mobile APP ว่าที่อยู่ ณ บริเวณนั้น มีการทำธุรกรรมจริงๆ
บทสรุปส่งท้าย : แบบฟอร์ม KYC/CDD เป็นเรื่องที่สำคัญจริงหรือเปล่า!?
แบบฟอร์ม KYC/CDD... อาจจะทำให้เสียเวลาไปสักนิด แต่จากข้อมูลที่ได้เกริ่นกันไปแล้วในตอนต้นจะเห็นได้ว่าเรื่องของ KYC/CDD เป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่หลายคนคิด ถ้าหากให้ความร่วมมือกับสถาบันทางการเงินสักนิด ใส่ใจและยอมเสียเวลาอีกสักหน่อย รับรองว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้ตัวเองต้องตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพที่จะสวมรอยเข้ามาในเรื่องของการเงินได้เป็นอย่างดีอย่างแน่นอน...