ประกัน จิตเวช
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

ประกันสำหรับผู้ป่วยจิตเวชมีอะไรบ้างในปี 2564 บทความนี้มีคำตอบ!

ประกัน จิตเวช

 

            ในปัจจุบันนี้มีเรื่องให้เราต้องเครียดมากมายจนหลาย ๆ คนเกิดอาการป่วยทางใจ ซึ่งอาการป่วยเหล่านี้มักถูกมองข้ามอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากไม่แสดงอาการออกมาผ่านทางร่างกาย แต่ความเป็นจริง ๆ โรคทางจิตเวชนั้นอันตรายและใกล้ตัวไม่ต่างจากโรคภัยไข้เจ็บอื่น ๆ ทั่วไปเลย แต่ถึงกระนั้นการไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรคทางจิตเวชกลับยังไม่เป็นที่รู้จักดีพอ และสำหรับคนที่สนใจอยากไปพบแพทย์เพื่อรักษาปัญหาทางจิตเวชก็มักจะมีข้อสงสัยในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ว่ามีราคาแพงไหม? และสามารถเบิกประกันได้หรือเปล่า? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคน!

 

โรคจิตเวชคืออะไร?

ประกัน จิตเวช

 

            โรคจิตเวชหรือ Mental Disorders คืออาการผิดปกติของจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม บุคลิกภาพ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การเรียน การทำงาน หรือการใช้ชีวิตในสังคม โดยโรคจิตเภชนั้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นความเครียด กรรมพันธุ์ ระบบสารเคมีในสมอง ความผิดปกติส่วนอื่น ๆ ในสมอง หรือแม้กระทั่งมีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วยทางร่างกายก่อนจนลามมาถึงจิตใจ โดยปัจจุบันนี้โรคทางจิตเวชที่พบบ่อยในคนไทยได้แก่

-          โรคแพนิค หรือโรคตื่นตระหนกเกิดจากการที่ระบบประสาทอัตโนมัติมีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นไวเกินปกติทำให้เกิดอาการตื่นตระหนก โดยลักษณะอาการได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว หายใจติดขัด เวียนศีรษะ และจุกแน่น เมื่อแสดงอาการแต่ละครั้งจะมีเวลาประมาณ 10 -20 นาที

-          โรคซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการเศร้าซึม หดหู่ เบื่อหน่าย ไม่มีแรงจะใช้ชีวิต ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงเพราะฉะนั้นหากรู้สึกเศร้าซึม หรือเบื่อหน่ายผิดปกติเกิน 2 สัปดาห์ควรไปพบแพทย์เพื่อประเมิณอาการ

-          โรคจิตเภท ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพหลอน มักจะพูดหรือหัวเราะอยู่คนเดียว มีอาการหลงผิดและหวาดระแวงร่วมด้วย หากป่วยเป็นโรคนี้ต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์โดยไวที่สุดเพราะยิ่งปล่อยไว้นานก็จะยิ่งรักษายากขึ้น และผู้ป่วยต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากหยุดยาแล้วจะกลับมาแสดงอาการอีกครั้ง

-          โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) หลายคนมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการของโรคไบโพลาร์ว่าผู้ป่วยจะมีการสับเปลี่ยนขั้วอารมณ์จากดีเป็นร้ายในเวลาสั้น ๆ แต่ความจริงแล้วผู้ป่วยโรคนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ระหว่างช่วงที่อารมณ์ดีผิดปกติและช่วงซึมเศร้า โดยระยะเวลาในแต่ละช่วงจะมีอาการอยู่หลายเดือนแล้วจะหายเป็นปกติก่อนเกิดการสับเปลี่ยนอารมณ์อีกครั้ง

-          โรคสมองเสื่อม ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะไม่ได้มีอาการหลงลืมความทรงจำในระยะสั้นอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่สามารถจดจำสิ่งที่เพิ่งเรียนรู้ใหม่หรือเรื่องราวในอดีตซึ่งเป็นความทรงจำระยะยาวได้

 

การทำประกันสุขภาพสำหรับผู้ป่วยจิตเวช

ประกัน จิตเวช

 

            เนื่องจากผู้ป่วยทางจิตเวชมักมีความเสี่ยงในการทำร้ายร่างกายตัวเองค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นบริษัทประกันหลายแห่งจึงไม่มีกรมธรรม์สำหรับผู้ป่วยโรคจิตเวช แต่สำหรับผู้เคยป่วยโรคจิตเวชและได้รับการรักษาจนหายแล้วท่านสามารถติดต่อสอบถามไปยังบริษัทประกันก่อนได้และทางบริษัทจะมีการจัดเตรียมแบบสอบถามต่าง ๆ เพื่อประเมิณว่าหายขาดแล้วและไม่มีความเสี่ยงในการทำร้ายตัวเองอีก เพราะฉะนั้น ถึงแม้บริษัทประกันส่วนมากจะไม่อนุมัติให้ผู้ป่วยโรคจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงแต่หากรักษาจนหายขาดแล้วบริษัทก็อาจจะอนุมัติได้ตามการพิจารณาของเจ้าหน้าที่

 

]

การเคลมประกันกรณีป่วยโรคจิตเวช

ประกัน จิตเวช

 

            หากเคยมีประกันสุขภาพอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว และพบว่าเป็นผู้ป่วยจิตเวชขึ้นมา ประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะไม่คุ้มครองโรคทางจิตเวช แต่ก็ยังมีบางกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองโรคนี้ด้วยเช่นกัน

 

ประกันที่คุ้มครองโรคจิตเวช

ประกัน จิตเวช

 

            การรักษาพยาบาลไม่ว่าจะเป็นโรคทางกายหรือโรคทางใจนั้นล้วนมีค่าใช้จ่าย สำหรับการรักษาโรคทางจิตเวชแต่ละครั้งนั้นก็มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณครั้งละ 1,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา หากเป็นโรงพยาบาลรัฐก็จะถูกหน่อย หากเป็นโรงพยาบาลเอกชนก็จะมีราคาสูงขึ้น โดยการรักษาแต่ละครั้งผู้เข้ารับการรักษาสามารถเบิกจ่ายได้จาก

    • บัตรทอง/บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค/บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า

            ผู้ถือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถใช้สิทธิเข้ารับการรักษาได้ที่สถานพยาบาลตามสิทธิของตัวเองได้ทันทีที่ได้รับคำวินิจฉัยจากแพทย์ โดยสามารถตรวจสอบสิทธิ์ของท่ายได้ที่สายด่วน 1330

    • สวัสดิการรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการ

            สวัสดิการรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการครอบคลุมการรักษาโรคทางจิตเวชทั้งสำหรับตัวข้าราชการและครอบครัว โดยสามารถเบิกจ่ายได้ตามจำนวนค่ารักษาจริงสำหรับโรงพยาบาลรัฐ และเบิกจ่ายได้ 50% สำหรับโรงพยาบาลเอกชน

    • ประกันสังคม

            ผู้ถือสิทธิประกันสังคมสามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ดังต่อไปนี้

-           โรงพยาบาลรัฐ 

o    การรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD)  เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น

o    การรักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD)  เบิกได้ตามที่จ่ายจริง ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท

-            โรงพยาบาลเอกชน

o    การรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD)  เบิกค่ารักษาได้ไม่เกิน 1,000 บาท

o    การรักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD)  ค่ารักษาพยาบาลกรณีไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้อง ค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท 

o    การรักษาใน ICU  เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท
กรณีต้องผ่าตัดใหญ่ เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000 – 16,000 บาท

    • ประกันสุขภาพอื่น ๆ

เมืองไทยประกันชีวิต - Elite Health

คุ้มครองทุกโรคทางจิตเวช ตามคำวินิจฉัยของแพทย์

Elite Health แผน 3

- ค่าเบี้ยประกัน 59,872 บาทต่อปี
- การรักษาแบบผู้ป่วยใน 75,000 บาทต่อโรค และไม่เกิน 3 แสนบาทตลอดชีวิต

Elite Health แผน 4

- ค่าเบี้ยประกัน 105,706 บาทต่อปี
- การรักษาแบบผู้ป่วยใน 100,000 บาทต่อโรค และไม่เกิน 4 แสนบาทตลอดชีวิต

            กรุงไทยแอกซ่า – iHealthy

            คุ้มครองทุกโรคทางจิตเวช ตามคำวินิจฉัยของแพทย์

                        iHealthy แผน Diamond

- ค่าเบี้ยประกัน 39,192 บาท
- การรักษาแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน 5,000 บาทต่อปี 

iHealthy แผน Diamond

- ค่าเบี้ยประกัน 74,463 บาท
- การรักษาแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน 200,0000 บาทต่อปี 

           

การใช้สิทธิในการเบิกจ่ายค่ารักษาของสิทธิการรักษาแต่ละอย่างมีรายละเอียดและเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไปรวมถึงมีการคุ้มครองครอบคลุมไปถึงโรคอื่น ๆ ด้วย แต่ในที่นี้เราได้ยกมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคทางจิตเวชเท่านั้น

 

บทสรุปส่งท้าย: ควรทำประกันสำหรับโรคจิตเวชดีไหม?

ประกันสุขภาพเเบบเหมาจ่าย i Healthy

 

ประกันสุขภาพเเบบเหมาจ่าย i Healthy

ปัจจุบันผู้เข้ารับการรักษาโรคทางจิตเวชสามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐได้ แต่กระนั้นบางครั้งอาจไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการรักษา เพราะฉะนั้นการทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมโรคทางจิตเวชเพิ่มเข้าด้วยจึงเป็นตัวเลือกที่ดีในการลดความเสี่ยงได้เช่นกัน...          

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ