Contents
ทำไมถึงมีหมายศาลบัตรเครดิตมาถึงบ้านกันนะ?
การหยุดจ่ายบัตรเครดิตนั้นจะส่งผลต่อตัวผู้ถือบัตรเครดิตอย่างแน่นอนและค่อนข้างร้ายแรงมากทีเดียว โดยหากหยุดการจ่ายบัตรเครดิตไป 1 หรือ 2 เดือนก็อาจยังไม่มีปัญหาตามมาแต่เมื่อไหร่ที่มียอดค้างชำระเกิน 3 เดือนแล้วล่ะก็หนี้บัตรเครดิตที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นหนี้เสียทันที และก่อนที่จะมีหมายศาลมาถึงบ้านก็อาจเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นก่อน
1 ถูกทวงถามถึงหนี้ค้างชำระบัตรเครดิต KTC จากธนาคาร
อันดับแรกที่ต้องเจอคือการถูกทวงถามถึงการชำระหนี้บัตรเครดิต KTC จากธนาคาร อาจตามยอดหนี้สินหรือทวงถามถึงเหตุผลเกี่ยวกับหนี้บัตรเครดิตหรือเหตุผลของการหยุดชำระ โดยอาจใช้วิธีการโทรทวงถาม ส่งข้อความ SMS/E-mail หรือส่งจดหมายตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ ซึ่งในขั้นต้นนี้เพื่อนๆ ยังสามารถเจรจาเบื้องต้นกับทางธนาคารได้อยู่ค่ะ
2 มีประวัติค้างชำระหนี้ในบูโร
หลังจากมียอดค้างชำระในบัตรเกินจากกำหนดประมาณ 3 เดือน อาจทำให้เพื่อนๆ เป็นผู้ที่มีประวัติการค้างชำระหนี้จากธนาคารกรุงไทย เพราะทางธนาคารจะส่งข้อมูลไปยังบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติที่จะรวบรวมประวัติหนี้เสีย ประวัติค้างชำระต่างๆ ซึ่งหากมีประวัติเสียในเครดิตบูโรจะส่งผลให้เพื่อนๆ ดำเนินธุรกรรมยากขึ้นในอนาคตค่ะ
3 โดนฟ้องศาลและถูกยึดทรัพย์
ในท้ายที่สุดแล้ว เมื่อเพื่อนๆ มียอดค้างชำระเป็นจำนวนมากและกินระยะเวลานานเกินควร ทางธนาคารกรุงไทยจะส่งเรื่องฟ้องศาลเพื่อดำเนินการขั้นตอนต่อไป ซึ่งคดีบัตรเครดิตนั้น ตามกฎหมายแล้วเป็นคดีแพ่ง ในส่วนของโทษจากคดีเหล่านี้จะมีทั้งการให้ชำระหนี้หรือการชดใช้ค่าเสียหายตามที่เห็นสมควร มีอายุความฟ้องบัตร 2 ปี เริ่มนับตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดกำหนดการชำระหรือไม่ชำระหนี้ตามกำหนด
และหากลูกหนี้เพิกเฉยไม่ยอมติดต่อเจ้าหนี้ ไม่ยอมใช้หนี้ เจ้าหนี้อาจทำเรื่องขอยึดทรัพย์หรืออายัดเงินเดือน โดยมีหลักเกณฑ์คือ ลูกหนี้ต้องมีเงินเดือนมากกว่า 20,000 บาทและอายัดไม่เกิน 30% ของเงินเดือน ส่วนเงินที่ไม่สามารถอายัดได้ของลูกหนี้ต้องเหลือไม่น้อยกว่า 20,000 บาท นอกจากนี้จะอายัดเงินโบนัสได้ไม่เกิน 50%
เมื่อได้รับหมายศาลบัตรเครดิต KTC แล้วควรทำอย่างไรต่อ?
1 ตรวจสอบชื่อ-นามสกุลว่าเป็นชื่อของตนเองของเราหรือตัวตนของเราจริงหรือไม่ (บางกรณีชื่อ-สกุลซ้ำกัน)
2 ตรวจสอบกับทางเครดิตบูโรว่าเป็นหนี้สินของตนจริงหรือไม่
3 ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับยอดหนี้ว่าเป็นหนี้เท่าไหร่ มีเงินต้นเท่าไหร่ ยอดฟ้องและดอกเบี้ยทั้งหมดรวมเป็นเงินกี่บาท
4 ตรวจสอบอายุความเจ้าหนี้ที่ได้ยื่นฟ้องว่ามีอายุความถูกต้องหรือเปล่า
-บัตรเครดิต 2 ปี
-ร้านค้าเจ้าของเครื่องรูด 10 ปี
5 เตรียมตัวทำงบการเงินที่บอกรายรับ-รายจ่ายเพื่อช่วยให้สามารถทำเรื่องเข้าสู่ขั้นตอนการประนอมหนี้ได้
4 ข้อควรรู้เมื่อเข้าสู่การเจรจาในชั้นศาล
1 ไม่จำเป็นต้องมีทนาย
หากได้รับหมายศาลในกรณีเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จำเป็นต้องมีทนาย เพื่อนๆ สามารถสู้ได้ด้วยตัวเอง ยกเว้นกรณีต้องการระยะเวลาในการเก็บเงิน จำเป็นต้องให้ทนายยื่นคำให้การ
2 ขอผ่อนผันได้
ไปศาลตามนัด ขอผ่อนชำระเป็นงวด (มีตั้งแต่ชำระ 6 งวด ไปจนถึง 60 งวด) และขอหยุดดอกเบี้ยระหว่างการชำระหนี้ และขอให้ทำบันทึกโจทก์-จำเลยโดยระบุจำนวนงวดที่จะชำระ และต้องชำระเข้าบัญชีเจ้าหนี้เท่านั้น
3 เจ้าหนี้สามารถอายัดทรัพย์ได้
หากลูกหนี้มีทรัพย์สิน เจ้าหนี้สามารถทำการอายัดทรัพย์สินได้ เช่น บ้านที่ติดจำนองกับธนาคาร แต่หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สิน การอายัดเงินเดือนจะเป็นสิ่งที่เจ้าหนี้อายัดแทน โดยการอายัดเงินไม่จำเป็นต้องถูกอายัดโดยเจ้าหนี้รายแรกเสมอไป เจ้าหนี้รายอื่นทุกรายสามารถยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมูลหนี้ของเจ้าหนี้ได้ตามสัดส่วนเงินเดือนลูกหนี้
4 สามารถยืดระยะเวลาชำระหนี้ได้
เตรียมคำให้การกับศาลหรือทำข้อมูลแก้ต่างตามที่เจ้าหนี้ยื่นฟ้องโดยให้ทนายยื่นคำให้การต่อสู้ในศาล เพราะวิธีนี้จะสามารถยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปได้ประมาณ 6 เดือน-1ปี ทำให้ลูกหนี้สามารถมีเวลาเก็บเงินแล้วกลับมาเจรจาไกล่เกลี่ยได้อีกครั้งในนัดครั้งที่ 2
*ทั้งนี้ลูกหนี้ควรไปศาลนัดวันนัดเมื่อได้รับหมายศาลบัตรเครดิตจะเป็นทางดีที่สุดค่ะ
บทส่งท้ายกับผู้เขียน : มีหมายศาลบัตรเครดิต KTC มาที่บ้าน ไม่ต้องตกใจ ทำตามขั้นตอนง่ายๆ ก็หมดปัญหา!
เพื่อนๆ คนไหนที่ค้างชำระหนี้บัตรเครดิต KTC แล้วมีหมายศาลมาที่บ้านก็ลองนำวิธีที่ได้บอกไปในบทความไปใช้ดูนะคะ เพื่อจะได้ผ่อนหนักเป็นเบา ผู้เขียนมั่นใจว่าถ้าเพื่อนๆ ทำตามอย่างเคร่งครัดและโปร่งใส แสดงความจริงใจที่จะชำระหนี้แก้ธนาคาร ปัญหาหนี้บัตรเครดิตก็จะค่อยๆ ลดลงไปจนหายวับไปเองค่ะ