Contents
- 1 บัตรเครดิต KTC ออกมาตรการพักชำระหนี้เพื่อช่วยเหลือจากผลกระทบ COVID – 19
- 2 มาตรการพักชำระหนี้บัตรเครดิต KTC ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
- 3 1.มาตรการพักชำระหนี้บัตรเครดิต KTC : มาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อ
- 4 2.มาตรการพักชำระหนี้บัตรเครดิต KTC : มาตรการเปลี่ยนประเภทหนี้บัตรเครดิต KTC
- 5 3.มาตรการพักชำระหนี้บัตรเครดิต KTC : มาตรการผ่อนผันชำระหนี้บัตรกดเงินสด KTC
- 6 ส่งท้ายก่อนจะจากกัน : สรุปแล้วมาตรการพักชำระหนี้บัตรเครดิต KTC ทำขึ้นมาเพื่อใคร?
บัตรเครดิต KTC ออกมาตรการพักชำระหนี้เพื่อช่วยเหลือจากผลกระทบ COVID – 19
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID – 19 ในปัจจุบันทำให้ภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ต้องแบกรับนั้นมีมากขึ้น ลูกค้าบัตรเครดิต KTC หลาย ๆ คนต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นเป็นเท่าตัว และยังคงต้องชำระหนี้บัตรเครดิตพร้อมกันไปด้วย เมื่อค่าใช้จ่ายมากขึ้นก็ย่อมเกิดเป็นปัญหาภาระหนี้สินที่เพิ่มพูนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อแบ่งเบาภาระเหล่านั้น KTC จึงได้ออกมาตรการพักชำระหนี้บัตรเครดิตนั่นเองค่ะ สำหรับใครที่ยังไม่ค่อยเข้าใจและต้องการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการพักชำระหนี้เพิ่มเติม บทความนี้ผู้เขียนสรุปสิ่งที่เพื่อน ๆ ต้องรู้มาให้แล้วค่ะ
มาตรการพักชำระหนี้บัตรเครดิต KTC ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
1.มาตรการพักชำระหนี้บัตรเครดิต KTC : มาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อ
สำหรับลูกค้าบัตรเครดิต KTC ทาง KTC ได้ปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตแบบอัตโนมัติโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งความประสงค์เป็นรายบุคคล อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดขั้นต่ำ 500 บาท/รอบบัญชีอีกด้วย ซึ่งอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตนั้นเป็นไปดังนี้ค่ะ
- อัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ 5% : มีผลตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2565
- อัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ 8% : มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2566
- อัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ 10% : มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
2.มาตรการพักชำระหนี้บัตรเครดิต KTC : มาตรการเปลี่ยนประเภทหนี้บัตรเครดิต KTC
สำหรับสมาชิกบัตรเครดิต KTC มาตรการพักชำระหนี้บัตรเครดิตจะเปลี่ยนประเภทหนี้บัตรเครดิตเป็นหนี้เงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคลระยะยาว ดอกเบี้ยฯ 12%/ปี นาน 48 เดือนค่ะ ซึ่งในที่นี้ทาง KTC จะสงวนสิทธิ์ให้แก่ผู้ที่มีสภาพบัญชีปกติ หรือไม่ถูกจัดชั้นเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) หรือไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยนานเกินกว่า 90 วันเท่านั้นค่ะ สำหรับเงื่อนไขการเปลี่ยนประเภทหนี้บัตรเครดิต KTC มีดังนี้
- ในการเปลี่ยนประเภทหนี้บัตรเครดิตนี้ครอบคลุมถึงยอดหนี้รวมของบัตรเครดิตส่วนบุคคลและบัตรเสริมที่อยู่ภายใต้บัญชีของบัตรเครดิตหลัก รวมถึงยอดเงินต้นคงค้างของรายการที่ยังผ่อนชำระอยู่
- บัตรเครดิตทุกใบที่อยู่ภายใต้บัญชีบัตรเครดิตหลักจะถูกระงับใช้ชั่วคราวจนกว่าจะชำระหนี้ครบถ้วน รวมถึงการระงับบริการหักค่าใช้จ่ายรายเดือนอัตโนมัติด้วย
- จะต้องชำระเงินต้นที่เกินกว่าวงเงินที่ได้รับอนุมัติก่อนดำเนินการเปลี่ยนประเภทหนี้
- ต้องชำระค่าอากรแสตมป์สำหรับหนี้เงินกู้จากการเปลี่ยนประเภทหนี้
- ในกรณีที่เกิดการผิดชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่ง อัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับขึ้นเป็น 16%/ปี ตั้งแต่วันที่บันทึกรายการเงินกู้
- สงวนสิทธิ์ในการพิจารณาช่วยเหลือเฉพาะลูกค้าบัตรเครดิต KTC ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID – 19 รวมทั้งการขอข้อมูลหรือเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาตามเกณฑ์ที่ KTC กำหนดด้วย
3.มาตรการพักชำระหนี้บัตรเครดิต KTC : มาตรการผ่อนผันชำระหนี้บัตรกดเงินสด KTC
สำหรับลูกค้าบัตรกดเงินสด KTC PROUD นั้นจะได้รับการผ่อนผันการชำระหนี้บัตรกดเงินสดเป็นหนี้เงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคลระยะยาว ดอกเบี้ยฯ 22%/ปี นาน 48 เดือนค่ะ ซึ่งในที่นี้ทาง KTC จะสงวนสิทธิ์ให้แก่ผู้ที่มีสภาพบัญชีปกติ หรือไม่ถูกจัดชั้นเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) หรือไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยนานเกินกว่า 90 วันเท่านั้นค่ะ สำหรับเงื่อนไขการผ่อนผันการชำระหนี้บัตรกดเงินสด KTC PROUD มีดังนี้
- บัตรกดเงินสด KTC PROUD จะถูกระงับการใช้ไว้ชั่วคราว จนกว่าจะทำการชำระหนี้เงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคลระยะยาวครบถ้วน และไม่สามารถใช้บริการหักค่าประกันรายเดือนอัตโนมัติได้ตั้งแต่วันที่บันทึกรายการเงินกู้
- ในส่วนของดอกเบี้ยฯ และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ยังคงค้างเอาไว้ก่อนวันบันทึกรายการเงินกู้จะถูกเรียกเก็บในงวดสุดท้ายของการผ่อนชำระสินเชื่อส่วนบุคคลระยะยาว หรือก็คือชำระในงวดสุดท้ายของการปิดบัญชีสินเชื่อดังกล่าวนั่นเอง
- ในกรณีที่เกิดการผิดนัดชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่ง อัตราดอกเบี้ยฯ จะถูกปรับขึ้นเป็นอัตราดอกเบี้ยฯ ที่เรียกเก็บแบบปกติของลูกค้าบัตรกดเงินสดแต่ละราย (สูงสุดไม่เกิน 25%/ปี) ตั้งแต่วันที่บันทึกรายการเงินกู้
- สงวนสิทธิ์ในการพิจารณาช่วยเหลือเฉพาะลูกค้าบัตรเครดิต KTC ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID – 19 รวมทั้งการขอข้อมูลหรือเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาตามเกณฑ์ที่ KTC กำหนดด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการพักชำระหนี้ คลิก
ส่งท้ายก่อนจะจากกัน : สรุปแล้วมาตรการพักชำระหนี้บัตรเครดิต KTC ทำขึ้นมาเพื่อใคร?
มาตรการดังกล่าวที่ KTC จัดทำขึ้นก็เพื่อช่วยลดภาระหนี้ให้กับลูกค้าของ KTC นั่งเองค่ะ ซึ่งนอกจากมาตรการพักชำระหนี้บัตรเครดิตแล้ว ยังมีทั้งมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อ และมาตรการผ่อนผันชำระหนี้บัตรกดเงินสดอีกด้วย เพื่อให้ครอบคลุมถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มที่ใช้บริการ KTC นั่นเองค่ะ