#5 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ ประกัน และ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ สำคัญอย่างไร ทำไมต้องทำ ปี 2022
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม
ฉบับย่อ
• พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ แตกต่างจาก ประกัน รถจักรยานยนต์
• การทำ พ.ร.บ. และ ประกัน เป็นเรื่องสำคัญเพราะนี่เกี่ยวข้องกับชีวิตและทรัพย์สิน การเลือกทางที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ คงเป็นทางเลือกที่ดี
• ในการทำ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ มีค่าใช้จ่ายด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายก็อาจแตกต่างกันไปจาก CC ของรถ

ประกัน และ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ สำคัญขนาดไหน มาดู 5 เรื่อง ที่ต้องรู้ก่อนทำ!

ประกัน พ ร บ รถจักรยานยนต์

 

การเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์... คงเป็นหนึ่งในวิธีการคมนาคมที่หลายคนให้ความสำคัญเพราะความสะดวกที่แตกต่างจากรถยนต์ อีกทั้งบ้านเมืองที่วุ่นวายในปัจจุบันก็อาจทำให้การสัญจรติดขัดเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้น จึงไม่แปลกเลยที่หลายคนหันมาใช้รถจักรยานยนต์แทนและแน่นอนสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้กับการเดินทางทุกประเภทคือ อุบัติเหตุ แม้เราอาจขับขี่ด้วยความระมัดระวังอยู่แล้วแต่บ่อยครั้งอุบัติเหตุเกิดจากความประมาทของผู้อื่น แต่ถึงอย่างไร สิ่งที่หลายคนกังวลอาจไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไปแต่เราจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันความเสียหายที่มิอาจหลีกเลี่ยง แม้จะไม่มีสิ่งใดที่สามารถทดแทนความเสียหายได้แต่การทำประกัน พ.ร.บ. สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น ในบทความนี้เราจะมารู้จักกับความสำคัญของ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ไปดูกันเลย!

 

1. มารู้จักกันก่อนว่า ประกัน และ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ต่างกันอย่างไร : พ.ร.บ.

ประกัน พ ร บ รถจักรยานยนต์

 

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ที่จริง พ.ร.บ. เป็นชื่อที่เราเรียกกันแบบย่อๆ ซึ่ง ชื่อเต็มก็คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. เป็นประกันรถ “ภาคบังคับ” ที่กฎหมายได้ระบุอย่างชัดเจนว่า รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกจะต้องทำ เพื่อเป็นหลักประกันว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะได้รับประกันความคุ้มครองอย่างทันท่วงที ซึ่งความคุ้มครองนี้จะครอบคลุมเงินชดเชยและเงินค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ผู้ทำ พ.ร.บ. มั่นใจได้ว่า ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเกตุที่ใด เราจะได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องกังวลกับเรื่องค่ารักษาพยาบาล

 

2. มารู้จักกันก่อนว่า ประกัน และ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ต่างกันอย่างไร : ประกัน

ประกัน พ ร บ รถจักรยานยนต์

 

ประกัน รถจักรยานยนต์ ประกันรถจักรยานยนต์แตกต่างจาก พ.ร.บ. โดยที่ประกันจะเป็นการประกันรถ “ภาคสมัครใจ” นี่ก็หมายความว่า ตามกฎหมายแล้วเราจะทำหรือไม่ทำก็ได้ ไม่มีความผิด ซึ่งการคุ้มครองจากประกันจะเป็นการคุ้มครองเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. โดยจะคุ้มครองทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้เอาประกัน โดยวงเงินและขอบเขตของการคุ้มครองจะเป็นไปตามประเภทของประกันรถจักรยานยนต์และประเภทของประกันรถจักรยานยนต์ก็จะเหมือนกันกับประกันภัยรถยนต์ โดยจะแบ่งเป็นประกันชั้น 1,2 และ 3

 

3. ทำไมต้องทำประกัน พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์?

ประกัน พ ร บ รถจักรยานยนต์

 

เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว กฎหมายได้ระบุอย่างชัดเจนว่ารถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกจะต้องทำ และแน่นอน หากเราเมินเฉยไม่ทำ พ.ร.บ. นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว เราจะไม่สามารถต่อทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกได้อีกด้วย

 

4. ประกันจาก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง?

ประกัน พ ร บ รถจักรยานยนต์

 

คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น ยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ในส่วนนี้คือ ค่าใช้จ่ายที่ พ.ร.บ. จะดำเนินการชดเชยให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ สามารถเบิกจ่ายได้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด ซึ่งครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อน โดยจะมีการคุ้มครอง ต่อไปนี้

• กรณีบาดเจ็บ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามจริง วงเงินไม่เกิน 30,000 บาท / คน

• กรณีเสียชีวิต,ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ สามารถเบิกได้สูงสุดไม่เกิน 35,000 บาท / คน

• หากเสียหายทั้งสองกรณี สามารถเบิกรวมกันได้ไม่เกิน 65,000 / คน

 

ค่าสินไหมทดแทน กรณีพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก ในส่วนนี้คือ ค่าใช้จ่ายที่ พ.ร.บ. จะชดเชยให้เมื่อพิสูจน์แล้วว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก ครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อนเช่นกัน โดยมีการคุ้มครอง ต่อไปนี้

• กรณีบาดเจ็บ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายพยาบาลตามค่าใช้จ่ายจริง วงเงินไม่เกิน 80,000บาท

• กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ ชดเชย 300,000 บาท

• กรณีสูญเสียอวัยวะ

- นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป ชดเชย 200,000 บาท

- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ชดเชย 250,000 บาท

- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ชดเชย 300,000 บาท

• กรณีมีการรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน ชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

 

5. ประกัน พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้าง?

ประกัน พ ร บ รถจักรยานยนต์

 

ค่าใช้จ่ายในการทำ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ในแง่ของการคุ้มครอง พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์และรถยนต์นั้นไม่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือเรื่องของ ค่าใช้จ่าย ในการทำ พ.ร.บ. ซึ่งรถจักรยานยนต์จะขึ้นอยู่กับ CC ของเครื่อง มีราคาโดยประมาณ ดังนี้

• เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 CC 150 บาท ขึ้นไป

• เครื่องยนต์ 75 – 125 CC 350 บาท ขึ้นไป

• เครื่องยนต์ 125 – 150 CC 450 บาท ขึ้นไป

• เครื่องยนต์มากกว่า 150 CC 650 บาท ขึ้นไป

 

 

สรุป ความสำคัญและความแตกต่างของการทำ ประกัน และ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

ประกัน พ ร บ รถจักรยานยนต์

 

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ คือการคุ้มครองความเสียหาย ที่เกิดจากอุบัติเหตุซึ่งไม่รวมค่าใช้จ่ายจากความเสียหายของรถ  เป็นการประกัน "ภาคบังคับ" จำเป็นต้องทำตามที่กฎหมายกำหนด

ประกัน รถจักรยานยนต์ คือการคุ้มครองการประกันนอกเหนือจาก พ.ร.บ. เป็นการประกัน "ภาคสมัครใจ" ซึ่ง จะทำหรือไม่ทำก็ได้

 

.
มีประกัน พ.ร.บ. แล้ว ต้องทำประกันรถจักรยานยนต์เพิ่มไหมคะ?

.
ขอแนะนำว่าควรทำ เพีราะประกัน พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองเพียงบางส่วนเท่านั้น หากมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเข้ามาแล้วไม่มประกันช่วย ระวังต้องจ่ายส่วนต่างเองจนหลังอานนะ

 

บทสรุปส่งท้าย : ความแตกต่างระหว่าง ประกัน และ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ที่ต้องรู้!

รู้ใจ ประกันออนไลน์

 

รู้ใจ ประกันออนไลน์

 

เห็นไหมว่า ประกัน และ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์....นั้นแตกต่างกันโดยทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่หลายคนทำคู่กันเนื่องจาก พ.ร.บ. เป็นสิ่งที่ต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว แต่พ.ร.บ.ไม่ได้ครอบคลุมการคุ้มครองบางอย่าง จึงทำให้การคุ้มครองส่วนที่ไม่ได้อยู่ใน พ.ร.บ. นั้นตกไปอยู่ในการคุ้มครองของ ประกัน แต่ถึงอย่างไร ประกัน ไม่ได้เป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำ การทำประกัน จึงเป็นการตัดสินใจส่วนตัว แต่หลายคนก็ให้ความสนใจกับการทำประกัน เพราะชีวิตและทรัพย์สินนั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิต การเลือกวิธีที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ก็คงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับใครหลายคน...

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
บัตรกดเงินสดธนาคารธนชาต Thanachard
ธนาคาร/ผู้ให้บริการบัตรกดเงินสด
สั่งเงินสดได้ดังใจ ด้วยบัตรกดเงินสดธนาคารธนชาต Thanachard Flash Plus มีดีอย่างไรมาฟังชาว Pantip กัน!
กดเงินด่วนแบบไม่ต้องกวนใครด้วยบัตรกดเงินสดธนาคารธนชาต Flash Plus ที่ชา...