2 ช่องทางในซื้อ-ขายพันธบัตร
- ซื้อพันธบัตรผ่าน วอลเล็ต สบม. เป็นการลงทุนที่สะดวกผ่าน e-Wallet เพื่อลดความยุ่งยากในการติดต่อกับตัวแทนจำหน่าย และสามารถซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ได้จากทุกธนาคาร ผ่าน APP เป๋าตังค์ และมี “ตลาดรอง” สำหรับการขายพันธบัตร
- ซื้อพันธบัตรผ่านธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ ธ.กรุงไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กสิกรไทย และ ธ.กรุงเทพ ทั่วประเทศ เหมาะกับคนที่จำเป็นจะต้องยืนยันตัว (*อายุไม่ถึง 20 ปี บริบูรณ์)
Contents
แนะนำ 2 ช่องทางทที่เปิดซื้อ-ขาย พันธบัตร ที่สะดวกสบายและมีผู้ใช้บริการมากที่สุดในประเทศไทย
การซื้อ-ขาย พันธบัตร ในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องที่กำลังได้รับความนิยมกันเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพันธบัตรเป็นหนึ่งในรูปแบบของการลงทุนและการออมทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง ไม่ต้องกังวลว่าเงินต้นจะหาย เนื่องจากพันธบัตรเป็นการออกโดยหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีความน่าเชื่อถือนั่นเอง
ถ้าหากใครกำลังสงสัยอยู่ว่า ช่องทางในการซื้อ-ขาย พันธบัตรมีอะไรกันบ้าง ลองมาติดตามอ่านข้อมูลที่น่าสนใจจากบทความชิ้นนี้กัน เชื่อว่าจะช่วยให้เข้าใจช่องทางและการซื้อธนบัตรได้เป็นอย่างดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน
1.ช่องทางซื้อและขายพันธบัตรผ่านวอลเล็ต สบม.
วอลเล็ต สบม. (สะสมบอนด์มั่งคั่ง) เป็นช่องทางการลงทุนในกลุ่มนักเรียน วัยรุ่นวัยทำงาน รวมถึงผู้มีรายได้น้อยที่ทำการออมได้ไม่มาก เป็นการลงทุนที่สะดวกผ่าน e-Wallet เพื่อลดความยุ่งยากในการติดต่อกับตัวแทนจำหน่าย และสามารถซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ได้จากทุกธนาคารผ่าน e-Wallet ID และ QR Promptpay) ลงทุนหน่วยละ 1 บาท ลงทุนขั้นต่ำ 100 บาท และเพิ่มขึ้นครั้งละ 100 บาท
สำหรับช่องทางในการซื้อพันธบัตรผ่านวอลเล็ต สบม. ทำได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ทำรายการผ่าน APP กระเป๋าตังค์เท่านั้น
การขายพันธบัตรในตลาดรอง ผ่านวอลเล็ต สบม.
วอลเล็ต สบม. นอกจากจะเป็นช่องทางในจำหน่ายพันธบัตรแล้ว ยังเป็นช่องทางในการขายพันธบัตรในตลาดรองอีกด้วย โดยผู้ที่ครอบครองเป็นเจ้าของพันธบัตรสามารถเข้าสู่วอลเล็ต สบม. ใน APP เป๋าตังค์ โดยมีขั้นตอนในการขายพันธบัตร ดังต่อไปนี้
- เลือกปุ่ม “ซื้อ-ขายพันธบัตร”
- เลือก “ตลาดรองและพันธบัตร” ที่ต้องการซื้อ
- พิจารณาราคาเลือก “เสนอซื้อ (bid)” จากสถาบันการเงินและเลือก “ขาย” ในราคาที่ต้องการ
- ระบุจำนวนหน่วยที่ต้องการขาย และเลือก “ถัดไป”
- ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และทำการยืนยันการขายพันธบัตร
- ยืนยันการซื้อพันธบัตรด้วยรหัส PIN 6 หลัก
- เมื่อทำการการซื้อพันธบัตรสำเร็จ เลือก “กลับหน้าหลัก”
- สลิปการทำรายการจะถูกเก็บเอาไว้ในมือถือโดยอัตโนมัติ
- กลับสู่หน้าหลัก
- หากต้องการตรวจสอบพันธบัตรที่เป็นเจ้าของอยู่ ให้เลือกที่ “พันธบัตรของฉัน”
2.ช่องทางซื้อพันธบัตรผ่านธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย
ในปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์ที่มีฐานะเป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารไทยพาณิชย์ โดยสามารถทำการติดต่อขอซื้อได้จากสาขาของธนาคารทั่วประเทศ หรือผ่านทาง APP ของธนาคารตัวแทนที่กำหนดเอาไว้ โดยลำดับในการจัดสรรพันธบัตร มักใช้วิธีการแบบ “มาก่อนได้สิทธิ์ก่อน”
การติดต่อซื้อพันธบัตรกับธนาคารโดยตรง เป็นการช่วยอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถสอบถามข้อสงสัยจากเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง และเหมาะกับคนที่อยากซื้อพันธบัตรที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 20 ปี บริบูรณ์ ที่จำเป็นจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองเสียก่อน เพื่อนำส่งเอกสารการยืนยันตัวตนให้กับทางธนาคาร
เงื่อนไขการยกเลิกการสั่งซื้อพันธบัตร ผ่านธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย
- ถ้าหากวงเงินจำหน่ายหรือวงเงินซื้อต่อรายการรวมทุกธนาคารคงเหลือน้อยกว่าวงเงินที่ซื้อ ผู้ซื้อจะไม่ได้รับการจัดสรรและธนาคารตัวแทนจำหน่ายจะทำการ “คืนเงินให้ผู้ซื้อทั้งจำนวน โดยไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย”
- ผู้ซื้อที่ดำเนินการซื้อพันธบัตรและได้รับการจัดสรรแล้วจะยกเลิกการซื้อและของเงินคืนไม่ได้
- กรณีที่ตรวจพบในภายหลังว่าเป็นการซื้อที่ผิดเงื่อนไข ธนาคารตัวแทนจำหน่ายจะคืนเงินให้กับผู้ซื้อทั้งจำนวนโดยไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย
บทสรุปส่งท้าย : การซื้อ-ขาย พันธบัตร ไม่ได้ยากอย่างที่หลายคนคิด
จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าที่จริงแล้วการซื้อ-ขาย พันธบัตรไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากอย่างที่หลายคนเข้าใจ ขอเพียงแค่รู้ช่องทางเพียงเล็กน้อย เพียงเท่านี้ก็จะสามารถทำการลงทุนหรือออมเงินจากการซื้อ-ขาย พันธบัตรได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม