กองทุน รวม หัก ภาษี ณ ที่ จ่าย
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม
ฉบับย่อ :

เงินปันผลจากกองทุนรวมต้องเสียภาษีอะไรบ้าง?

  • เลือกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% สะดวก ง่าย และช่วยลดภาระภาษีก้อนใหญ่ช่วงปลายปี
  • เลือกที่จะไม่หักภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% แต่ให้นำไปทำการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงปลายปี *มีความยุ่งยากมากกว่า ต้องแจ้งกับทาง บลจ. เจ้าของกองทุนเพื่อใช้สิทธิในการไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย

อยากลงทุนกับกองทุนรวม แล้วต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือเปล่า? มากน้อยแค่ไหน? บทความนี้มีคำตอบ

กองทุน รวม หัก ภาษี ณ ที่ จ่าย

 

“กองทุนรวม” ถือว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของการลงทุนที่ได้รับความนิยมกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการลงทุนที่ง่ายดาย ใช้เงินจำนวนไม่มากก็สามารถที่จะเลือกสร้างผลกำไรจากกองทุนรวมที่ได้รับการดูแลโดยผู้จัดการมืออาชีพได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม การลงทุนกับกองทุนรวมหลังจากที่ได้รับผลกำไรตอบแทนกลับมาผู้ลงทุนก็มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายภาษีให้กับภาครัฐเช่นกัน ดังนั้น เพื่อให้คนที่กำลังลงทุนกับกองทุนรวมเข้าใจเกี่ยวกับภาษี และภาษีหัก ณ ที่จ่ายของกองทุนรวมได้อย่างเหมาะสมกว่าเดิม ลองมาติดตามข้อมูลที่น่าสนใจจากบทความชิ้นนี่กันได้เลย

 

ภาษีทั่วไป และภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม

กองทุน รวม หัก ภาษี ณ ที่ จ่าย

 

ในการลงทุนกับกองทุนรวม มีส่วนของภาษี และภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่มีความน่าสนใจควรทราบ ดังต่อไปนี้

 

1.กองทุนรวมไม่ใช่หน่วยภาษี

กองทุน รวม หัก ภาษี ณ ที่ จ่าย

 

  รายได้ หรือเงินได้ที่ได้รับมาจากกองทุนรวมไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเงินปันผล ดอกเบี้ย ผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายหุ้น หรือตราสารหนี้จังได้รับการยกเว้นภาษี

 

2.กองทุนรวมต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% หรือถูกนำไปคำนวณในปลายปี

กองทุน รวม หัก ภาษี ณ ที่ จ่าย

 

สำหรับผู้ที่ทำการถือหน่วยการลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีการเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายได้ที่ได้รับมาจากกองทุนรวมในส่วนของ “เงินปันผล” ต้องมีการเสียภาษี โดยสามารถเลือกทำการเสียภาษีได้เป็นสองแบบตามความต้องการดังต่อไปนี้

 

  • เลือกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% สะดวก ง่ายดาย และช่วยลดภาระภาษีก้อนใหญ่
  • เลือกที่จะไม่หักภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% แต่ให้นำไปทำการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงปลายปี *มีความยุ่งยากมากกว่า" เนื่องจากต้องแจ้งกับทาง บลจ. เจ้าของกองทุนเพื่อใช้สิทธิในการไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย

 

เลือกหักภาษี ณ ที่จ่ายเงินปันผลจากกองทุนรวมกับคำนวณจ่ายครั้งเดียวในช่วงปลายปี แบบไหนดีกว่ากัน?

กองทุน รวม หัก ภาษี ณ ที่ จ่าย

 

   การหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของผู้เสียภาษีให้น้อยลง ทำให้เมื่อถึงช่วงปลายปีก็ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเสียภาษีเป็นเงินก้อนใหญ่เป็นจำนวนมาก และในบางครั้งหากจำนวนของภาษีหัก ณ ที่จ่ายโดยรวมมีจำนวนที่มากกว่าฐานการเสียภาษียังสามารถทำเรื่องเพื่อขอภาษีคืนในภายหลังได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มีฐานของภาษีมากกว่า 10% ขอแนะนำให้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวมจะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระได้มากกว่า เพราะหากเมื่อรวมกับผลกำไรจากการปันผลแล้วอาจทำให้ต้องเสียภาษีสูงกว่า 10% ที่ถูกหักไปนั่นเอง ซึ่งช่วยลดจำนวนของภาษีที่จำเป็นจะต้องจ่ายได้เป็นอย่างดี

 

กำไรส่วนเกินทุนไม่ต้องเสียภาษี

กองทุน รวม หัก ภาษี ณ ที่ จ่าย

 

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ของกำไรที่เกินทุนของ MMF หรือ SSF ที่ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขของการลงทุนตามที่กรมสรรพากรกำหนด ต้องได้รับการนำไปคำนวณเพื่อเสียเงินได้บุคคลธรรมดาต่อไป

 

.
เงินปันผลจากกองทุนรวม ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย หรือคำนวณปลายปีดีกว่ากันคะ?

.
ขอแนะนำว่าให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไปเลยจะดีกว่า เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภาษีก้อนใหญ่ในอนาคต

 

บทสรุปส่งท้าย : เงินปันผลจากกองทุนรวม ควรหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือเปล่า? เชื่อว่าบทความนี้จะมอบคำตอบ

กองทุน รวม หัก ภาษี ณ ที่ จ่าย

 

หลังจากที่ได้ทราบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาษีของกองทุนรวม ทั้งแบบหัก ณ ที่จ่าย และแบบคำนวณในช่วงปลายปี เชื่อว่าตอนนี้คงจะช่วยให้หลาย ๆ คนเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดในการหักภาษีได้เป็นอย่างดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และเตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม...

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ