ขอ สินเชื่อ ส่วน บุคคล
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

ทำไมการขอสินเชื่อส่วนบุคคลถึงมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและขอยาก?

ขอ สินเชื่อ ส่วน บุคคล

สถาบันทางการเงินนั้นจะมีเงื่อนไขต่างๆ และมีการพิจารณาหลายขั้นตอนสำหรับการปล่อยให้กู้ ซึ่งก็เพื่อไม่ให้ทางธนาคารเสียเงินไปเปล่าๆ โดยลูกหนี้ไม่มีกำลังใช้คืนจึงต้องมีการพิจารณาทั้งการตรวจสอบอาชีพ การเดินบัญชีและอื่นๆ ที่ยุ่งยากนั่นเองค่ะ

 

เพราะหากปล่อยปละละเลยให้ผู้มาขอสินเชื่อได้เงินไปโดยไม่ตรวจสอบอะไร ก็อาจทำให้ทางสถาบันทางการเงินแบกรับภาระหนักเอาไว้จนถึงขั้นล้มละลายได้ และในบทความนี้ผู้เขียนจะมาบอกต่อเคล็ด(ไม่)ลับ ทำยังไงให้ยื่นขอสินเชื่อส่วนบุคคลได้แบบผ่านฉลุยให้เพื่อนๆ ได้ทราบกันค่ะ

 

4 เคล็ด(ไม่)ลับ ขอสินเชื่อส่วนบุคคลให้ผ่านฉลุย

ขอ สินเชื่อ ส่วน บุคคล

1 เคล็ด(ไม่)ลับ ขอสินเชื่อส่วนบุคคล : ประวัติหนี้สำคัญไม่น้อย

ขอ สินเชื่อ ส่วน บุคคล

ก่อนที่จะยื่นขอสินเชื่อกับทางสถาบันทางการเงินใดๆ ควรทำประวัติทางการเงินของตนเองให้ดีอยู่เสมอ เพราะทางสถาบันทางการเงินนั้นมักจะเช็กเครดิตบูโรที่รวบรวมประวัติทางการเงินเอาไว้ ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

 

- ขอรายงานข้อมูลเครดิตบูโรจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติก่อนยื่นขอสินเชื่อกับทางสถาบันทางการเงิน

 

- ตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาอย่างละเอียดเพราะในบางครั้งอาจมีข้อผิดพลาด หากพบข้อผิดพลาดตรงไหนให้แจ้งรายละเอียดเพื่อการอนุมัติเพื่อข้อมูลที่ถูกต้องต่อการอนุมัติสินเชื่อ

 

- ควรชำระบัตรเครดิตหรือหนี้ที่เหลือแต่จะให้ดีก็ควรหนี้ที่เหลืออยู่ไปเลยค่ะ เพื่อให้ได้อนุมัติได้เร็วยิ่งขึ้น รวมไปถึงการตรวจสอบด้วยเพราะหากมีหนี้น้อยมากๆ ไปจนถึงไม่มี ทางสถาบันทางการเงินจะมองว่าผู้ขอกู้มีศักยภาพในการชำระหนี้มากพอที่จะปล่อยให้กู้ได้นั่นเอง

 

นอกจากนี้ยังควรปรับโครงสร้างหนี้ตนเอง ยื่นชำระให้ตรงเวลา ไม่ให้เกิดจุดผิดพลาดอีกเพื่อให้ทางสถาบันทางการเงินมองประวัติการชำระหนี้แล้วมั่นใจได้ว่าผู้กู้จะชำระหนี้ตรงต่อเวลา ตามยอดต่อไปค่ะ ในขั้นตอนนี้หากไม่มั่นใจควรกระทำต่อไปอย่างน้อย 6 เดือนเพื่อความสม่ำเสมอแน่นอนของประวัติชำระค่ะ

 

2 เคล็ด(ไม่)ลับ ขอสินเชื่อส่วนบุคคล : การเดินบัญชีเพิ่มความมั่นใจ

ขอ สินเชื่อ ส่วน บุคคล

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเดือนโอนเข้ามาสม่ำเสมอทุกเดือนก็โล่งใจได้ไปเปลาะหนึ่งค่ะ แต่ควรมีเงินก้อนนอนในบัญชีเพื่อเพิ่มความมั่นใจแก่ธนาคารสักหน่อยว่าไม่ได้ใช้เงินแบบเดือนชนเดือน

 

ในส่วนของอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์อาจจะยุ่งยากเพราะรายได้ไม่แน่นอน ไม่มีเงินเข้าสม่ำเสมอแบบมนุษย์เงินเดือนที่งานประจำ แต่ก็ไม่ต้องห่วงไปค่ะ เพราะอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์ก็สามารถขอสินเชื่อส่วนบุคคลได้เช่นกันเพียงแต่อาจจะต้องเตรียมเอกสารมากหน่อยเท่านั้นเอง

3 เคล็ด(ไม่)ลับ ขอสินเชื่อส่วนบุคคล : ประเมินความสามารถของตนเองให้ดี

ขอ สินเชื่อ ส่วน บุคคล

โดยทั่วไปทางสถาบันทางการเงินมักจะอนุมัติวงเงินกู้ให้ได้ไม่เกิน 40% ของรายได้ (เงินที่ผ่อนชำระกับทางธนาคารต้องไม่เกิน 40% ของรายได้) ซึ่งหากเพื่อนๆ ไม่คำนวณให้ดี เรียกวงเงินสูงโดยไม่ดูกำลังของตนเองก็อาจทำให้ได้วงเงินกู้ไม่ตรงความต้องการ และจะเป็นเรื่องใหญ่หากไปตกลงสัญญาใดๆ ที่ต้องใช้เงินจำนวนมากไปแล้วแต่สินเชื่อส่วนบุคคลไม่อนุมัติหรือให้วงเงินไม่ได้ตามที่ต้องการนั่นเองค่ะ

4 เคล็ด(ไม่)ลับ ขอสินเชื่อส่วนบุคคล : เตรียมเอกสารให้พร้อม

ขอ สินเชื่อ ส่วน บุคคล

การเตรียมเอกสารเป็นขั้นตอนที่ง่ายและสามารถทำได้ด้วยการลิสต์รายการเอกสารว่าทางสถาบันทางการเงินต้องการเอกสารใดบ้าง แล้วจัดเตรียมให้พร้อม เพราะหากไปดำเนินเรื่องแล้วขาดเอกสารใดไป จะทำให้การเดินเรื่องช้าหรืออาจไม่อนุมัติจนต้องเดินเรื่องใหม่เลยก็ได้ค่ะ

 

และหากผู้กู้เคยถูกปฏิเสธไปแล้ว 1 ครั้ง ขอบอกเลยว่าการขอสินเชื่อส่วนบุคคลครั้งต่อไปนั้นจะยากและนานกว่าเดิมแน่นอน จึงควรเตรียมเอกสารให้พร้อมตั้งแต่แรกนั่นเองค่ะ

 

บทส่งท้ายกับผู้เขียน : แค่พร้อม สินเชื่อส่วนบุคคลก็ขอไม่ยากอย่างที่คิด

สินเชื่อบุคคล ซิตี้

 

สินเชื่อบุคคล ซิตี้

 

 

การเตรียมตัวขอสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานมากที่สุดเลยค่ะ แต่เพื่อความมั่นใจว่าจะขอสินเชื่อส่วนบุคคลผ่านได้แน่ๆ การเตรียมตัวด้วยระยะเวลานานแต่แน่นอนก็ดีกว่าใช่ไหมล่ะคะ ผู้เขียนมั่นใจว่าหากเพื่อนๆ ปฏิบัติตามเคล็ด(ไม่)ลับทั้ง 4 ข้อนี้ก็จะทำให้การขอสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นไปได้อย่างดีแน่นอนค่ะ หากเพื่อนๆ คนไหนทำตามทั้ง 4 ข้อแล้วผ่านฉลุย อย่าลืมมาแบ่งปันประสบการณ์กันนะคะ

 

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
พันธบัตร เรา ชนะ กสิกร
การลงทุน
พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นพิเศษ [เราชนะ] จำหน่ายโดยธนาคารไทยพาณิชย์ ดีไหม น่าลงทุนหรือเปล่า!? ข้อมูลปี 2022
พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นพิเศษ “เราชนะ” จำหน่ายโดยธนาคารไทยพาณิชย์ คืออะไร...