ไม่จ่ายอิออน 3 เดือน ไม่จ่ายอิออน 1 เดือน
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

Contents

ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน ควรทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เสียเครดิต

ไม่จ่ายอิออน 3 เดือน ไม่จ่ายอิออน 1 เดือน

 

ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก... แถมประเทศไทยยังต้องมาเผชิญหน้ากับโรคระบาดอย่างวิท-19 ทำให้หลายคนอาจประสบกับปัญหาไม่สามารถทำการจ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน

ซึ่งทำให้เกิดความกังวลใจว่าจะทำให้เกิดการเสียเครดิตที่ส่งผลกระทบต่อการทำเรื่องขอกู้ยืมสินเชื่อก้อนใหญ่ในอนาคต

ถ้าหากใครกำลังประสบปัญหาการไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน ขอแนะนำให้ทำตามขั้นตอนในบทความชิ้นนี้ รับรองว่าจะช่วยให้สบายใจมากขึ้นอย่างแน่นอน

 

 

ผลเสียจากการผิดชำระหนี้ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน

ไม่จ่ายอิออน 3 เดือน ไม่จ่ายอิออน 1 เดือน

 

สำหรับผลเสียจากการผิดชำระหนี้กับสถาบันทางการเงิน โดยทั่วไปแล้วมักที่จะส่งกระทบในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

1.ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

 

หากผิดนัดชำระหนี้กับสถาบันทางการเงินจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นกว่าเดิมทั้งในส่วนของดอกเบี้ยที่เพิ่มมากขึ้น และหากผิดชำระเกินระยะเวลาที่กำหนดก็จะต้องถูกปรับด้วยอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ซึ่งอาจสูงมากถึง 18% และ 28% หากเป็นสินเชื่อบุคคล นอกจากนี้การชำระหนี้ล่าช้ากว่ากำหนดยังทำให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อติดตามทวงหนี้ ที่จะปรากฎถูกเรียกเก็บในเดือนถัดไปอีกด้วย

 

2.ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน อาจสียประวัติบูโร

ไม่จ่ายอิออน 3 เดือน ไม่จ่ายอิออน 1 เดือน

 

หากทำการชำระหนี้ล่าช้า หรือไม่ชำระหนี้ อาจจะทำให้เกิดการเสียประวัติเครดิตบูโร ทำให้ไม่สามารถขอสินเชื่อได้อีกในอนาคต เพราะทุกครั้งที่ทำการขอกู้สินเชื่อ สถาบันทางการเงินจะใช้ประวัติเครดิตบูโร ประวัติการจ่ายเงินและชำระเงินรายเดือนในการประกอบการพิจารณา

 

3.ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน อาจถูกโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่ติดตามหนี้จำนวนมาก

 

เมื่อไม่ทำการจ่ายบัตรอิออน (Aeon) เป็นระยะเวลาหลายเดือน เจ้าหน้าที่ติดตามหนี้จะทำการโทรศัพท์เพื่อทวงถามขอให้ไปทำการชำระหนี้ตามหน้าที่ บางคนเจ้าหน้าที่อาจโทรไป 1-2 ครั้ง แต่บางคนเจ้าหน้าที่อาจผลัดเปลี่ยนกันโทรไปหาทุกวันชนิดไม่ได้พักสายกันเลยทีเดียว นอกจากความรำคาญและกังวลที่ได้รับแล้ว การติดตามทวงหนี้เหล่านี้ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกด้วย ถ้าหากใครไม่อยากมีรายจ่ายแฝงเพิ่มขึ้นมาก็ควรทำการชำระหนี้ให้เหมาะสม ตรงตามช่วงเวลาจะเป็นการดีที่สุด

 

4.ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน อาจถูกดำเนินคดีฟ้องร้องและยึดทรัพย์

 

หากผิดชำระหนี้เป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ทางสถาบันทางการเงินจำเป็นที่จะต้องทำการฟ้องร้องคดีแพ่งต่อลูกหนี้เพื่อให้เกิดกระบวนการคืนหนี้ ในกรณีที่หนี้เหล่านั้นมีจำนวนมากอาจถูกศาลตัดสินใจกลายเป็นบุคคลล้มละลายที่ไม่สามารถทำธุรกรรมด้านการเงินได้อีกเป็นระยะเวลานาน

 

5.ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน เสียทั้งเงินและเวลาในการเดินทางไปศาล

 

เมื่อไม่ทำการจ่ายหนี้บัตรอิออน (Aeon) จนกระทั่งเรื่องลุกลามไปถึงขั้นการฟ้องร้องขึ้นศาล สิ่งที่น่ารำคาญมากที่สุดคือ การที่ต้องเดินทางไปยังศาลตามการนัดหมาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลายครั้งจนกว่าจะสามารถทำการประนอมหนี้ระหว่างทั้งสองฝ่ายได้สำเร็จ ทำให้หลายคนต้องลางานและเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังศาลเป็ยจำนวนมากเลยทีเดียว

 

ถ้าเบี้ยวหนี้ไม่จ่ายบัตรอิออน ทำได้หรือเปล่า!?

 

การพยายามเบี้ยวหนี้ ไม่ยอมจ่ายหนี้บัตรอิออนถือว่าเป็นความคิดที่ไม่ค่อยดีนัก เพราะถ้าหากไม่ทำการชำระหนี้ ไม่จ่ายในระยะเวลาที่เหมาะสม ก็จะทำให้ประวัติ "เครดิตบูโร" มีปัญหาขึ้น จนทำให้การกู้ยืมเงินจากสถาบันทางการเงินในอนาคตเพื่อทำธุรกรรมต่างๆเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น และประวัติเสียดังกล่าวแม้จะทำการชำระจนครบถ้วนในภายหลังก็จะยังคงคิดอยู่ในประวัติเครดิตบูโรอีกกว่า 3 ปี เลยทีเดียว นอกจากนี้ คดีบัตรเครดิตมีอายุความ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ผิดนัดหรือวันที่ชำระหนี้เป็นครั้งสุดท้าย

 

ติดหนี้ไม่จ่ายบัตรอิออน เปิดบริษัทได้หรือเปล่า!?

 

การติดหนี้บัตรอิออน "ไม่มีผลกับการเปิดบริษัท" เพราะตามกฎหมายไม่ได้มีการระบุข้อห้ามในส่วนนี้เอาไว้ อย่างไรก็ตามการติดหนี้บัตรอิออนก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นกับทางบริษัทในอนาคตได้เช่นกัน คือ หากบริษัทมีการทำเรื่องเพื่อข้อกู้ธุรกรรมการเงินในอนาคตก็จะทำให้อนุมัติผ่านได้ค่อนข้างยาก อันเนื่องมาจากประวัติของเครดิตบูโรที่เสียไปจากการติดหนี้บัตรอิออนนั่นเอง

 

 

สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดปัญหาไม่สามารถจ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน

ไม่จ่ายอิออน 3 เดือน ไม่จ่ายอิออน 1 เดือน

 

สำหรับคนที่เกิดปัญหาไม่สามารถจ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน ได้ สิ่งแรกที่ควรทำคือการรีบติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของบัตรอิออน (Aeon) สาขาใกล้บ้านให้รวดเร็วที่สุด เพื่อขอรับคำปรึกษาจากปัญหาที่เกิดขึ้นและแสดงให้เห็นว่าไม่ได้มีเจตนาที่จะทำการหนีหนี้ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะช่วยหาทางเพื่อให้สามารถทำการจ่ายหนี้ได้อย่างเหมาะสมกับทั้งสองฝ่าย อาทิเช่น

 

การพักหนี้กับบัตรอิออน

 

ทางบัตรอิออน (Aeon) อาจช่วยในการพักหนี้ (3-6 เดือน) โดยคิดอัตราดอกเบี้ยปกติในขณะนั้น เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของลูกหนี้ให้หายใจได้อย่างสะดวกมากขึ้น

 

รวมประนอมหนี้กับบัตรอิออน

 

ทางบัตรอิออน (Aeon) อาจช่วยในการรวมประนอมหนี้ โดยการนำเอาหนี้ทุกรายการมารวมกัน แล้วทำการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่เพื่อทำการแบ่งจ่ายขั้นต่ำ (*ประมาณ 4 %/เดือน) จนกว่าหนี้ที่เหลือจะหมด

 

โครงการประนอมหนี้ ในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด-19

 

*ในปัจจุบันทางบัตรอิออน (Aeon) ได้มีนโยบายออกมาเพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโควิท-19 โดยเฉพาะ ถ้าหากใครมีปัญหาการเงินจากปัญหานี้และมีหลักฐานการได้รับผลกระทบเช่น ใบปรับลดเงินเดือน หนังสือแจ้งออก ขอแนะนำว่าให้รีบนำหลักฐานเหล่านี้เข้าแจ้งกับเจ้าหน้าที่ของบัตรอิออน (Aeon) เพื่อขอรับวิธีการช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม ก่อนที่จะเกิดการติดตามทวงหนี้ขึ้นมาจะเป็นการดีที่สุด

 

เป็นหนี้บัตรเครดิตอิออนหลายปี อยากประนอมหนี้ ควรทำอย่างไร!?

 

สำหรับคนที่เป็นหนี้บัตรเครดิตอิออนมาเป็นระยะเวลานานหลายปีและยังไม่ได้ชำระ จนกระทั่งถูกฟ้องร้องขึ้นศาล มีขั้นตอนแนะนำที่ควรทราบ ดังต่อไปนี้

1.อายุความของบัตรเครดิตอยู่ที่ 2 ปี หากถูกฟ้องร้องในช่วงเวลาหลังจากนี้ "มูลหนี้เครดิตขาดอายุความ" ขอแนะนำให้สู้ในชั้นศาล โดยห้ามลงนาม "ปรับปรุงโครงสรา้งหนี้" หรือ "ชำระหนี้" โดยเด็ดขาด เนื่อจากจะทำให้เริ่มต้นนับอายุความใหม่

2.ระยะเวลาในการดำเนินคดจะอยู่ที่ประมาณ 6 -12 เดือน หรือมากกว่านั้น

3.ในช่วงระยะเวลาดำเนินการ ควรเก็บเงินก้อนเอาไว้ชำระหนี้ โดยควรมีจำนวนอย่างน้อยเท่ากับเงินต้นของหนี้

4.ทำการประนอมหนี้ในชั้นศาล โดยอาจได้รับการลดหนี้จากอิออนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกรณี

5.ตกลงระยะเวลาในการชำระหนี้ และทำการส่งหนี้ตรงเวลาในจำนวนที่ตกลงกันเอาไว้อย่างเหมาะสม

 

ไม่มีเงินจ่ายหนี้ก้อนสุดท้ายของบัตรกดเงินสดอิออน จะถูกฟ้องร้องอีกหรือเปล่า!?

 

ในกรณีที่ได้ทำการชำระหนี้ตามจำนวนงวดที่ได้รับการตกลงจากการประนอมหนี้แล้ว แต่เมื่อถึงงวดสุดท้ายที่ต้องจ่ายเงินก้อนให้กับบัตรเครดิตอิออน กลับเกิดปัญหาไม่สามารถจ่ายได้ ทางอิออนสามารถที่จะทำการฟ้องร้องตามสิทธิได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม มักที่จะมีการทวงถามหนี้ก่อน ทำให้ยังพอมีเวลาที่จะเจรจาต่อรองเพื่อยืดชำระหนี้ได้อีกครั้ง

 

หากบิดาหรือมารดาเป็นหนี้บัตรอิออนแล้วเสียชีวิต บุตรต้องรับผิดชอบหรือเปล่า!?

 

กรณีที่ลูกหนี้ที่เป็นบิดาหรือมารดาเสียชีวิต เจ้าหนี้จะต้องทำการฟ้องทายาทของลูกหนี้ภายในระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแแค่วันที่ทราบเรื่องการเสียชีวิตของลูกหนี้ หากทำการฟ้องร้องเกินกว่าระยะเวลาดังกล่าว ทายาทของลูกหนี้สามารถที่จะปฏิเสธการชำระหนี้แทนบิดาหรือมารดาได้ นอกจากนี้ ทายาทจะมีความรับผิดชอบเท่ากับที่ได้รับ "มรดก" มาเท่านั้น หากผู้เสียชีวิตไม่มีมรดกตกทอด ทายาทไม่ต้องรับผิดชอบเป็นการส่วนตัว และทายาทไม่ควร "รับสภาพหนี้อย่างเด็ดขาด" เพราะจะทำให้กลายเป็นลูกหนี้แทนตามกฏหมายนั่นเอง

 

ไม่จ่ายหนี้บัตรอิออน (Aeon) ถ้าถูกอายัดเงินเดือน ต้องเสียมากน้อยแค่ไหน!?

 

หลังจากที่ถูกทางบัตรอิออน (Aeon) ทำการฟ้องร้องศาลอาจมีคำสั่งให้ทำการอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ เพื่อที่จะนำมาชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ในกรณีนี้ลูกหนี้จะต้องมีเงินเดือนมากกว่า 20,000 บาท และถ้าหากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร บิดา มาราดา ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ก็สามารถที่จะนำหลักฐานเหล่านี้มาประกอบการพิจารณาเพื่ออลดหย่อน ณ กรมบังคับคดี เพื่อช่วยลดจำนวนของเงินเดือนที่ถูกอายัดให้น้อยลงกว่าเดิมได้เช่นกัน

 

นอกเหนือจากเงินเดือน เงินประเภทไหนบ้างที่บัตรอิออน (Aeon) อายัดเพื่อใช้หนี้ได้ตามกฎหมาย

 

  • เงินโบนัส อายัดได้ไม่เกิน 50%
  • เงินตอบแททนจากการออกจากงาน
  • เงินตอบแทนค่าสวัสดิการ เช่น ค่าที่พัก ค่าอุปโภคบริโภค เป็นต้น
  • เงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือเงินปันผลที่เกิดขึ้นจากการลงทุน
  • ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน เช่น กองทุน เป็นต้น
  • เงินค่าตำแหน่งทางวิชาการ (*สังกัดเอกชน)

 

เงินแบบใดบ้างที่บัตรอิออน (Aeon) ไม่สามารถอายัดนำมาใช้จ่ายหนี้ได้!

 

  • เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเน็ญและเบื้ยหวัดของลูกนี้ที่ทำอาชีพเป็นข้าราชการ
  • เบี้ยเลี้ยงชีพสำหรับคนพิการ และคนชรา เป็นต้น
  • เงินประจำตำแหน่งทางวิชาการ กรณีเป็นข้าราชการ
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
  • เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • รายได้ที่บุคคลอื่นมอบให้เพื่อการเลี้ยงชีพรายเดือน ที่ไม่เกิน 20,000 บาท ต่อเดือน (*ในกรณีที่มากกว่าจำนวนดังกล่าว สามารถถูกยึดได้)
  • บำเหน็จ หรือรายได้อื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ของพนักงานที่ไม่ใช่ข้าราชการที่ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อเดือน (*ในกรณีที่มากกว่าจำนวนดังกล่าว สามารถถูกยึดได้)
  • เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ จากการตายของบุคคลอื่น

 

ติดหนี้ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) จนถูกฟ้องร้อง เดินทางออกนอกประเทศได้หรือเปล่า!?

 

สำหรับคดีฟ้องร้องเกี่ยวกับบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด ถูกจัดอยู้ในหมวดของคดี "แพ่ง" ไม่ใช่คดีอาญาที่นำไปสู่การติดคุก ทำให้คนที่มีปัญหาการถูกฟ้องร้องเพราะไม่จ่ายหนี้บัตรอิออน (Aeon) สามารถที่จะเดินทางเข้า-ออกประเทศได้ตามปกติ

 

อยากปิดหนี้บัตรอิออน (Aeon) ก่อนถูกฟ้องไม่ยาก สินเชื่อส่วนบุคคลช่วยได้!

 

สำหรับคนที่ประสบปัญหาด้านการเงินจนประสบปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ของบัตรอิออน (Aeon) จนกังวลว่าจะทำให้ถูกฟ้องร้อง แล้วกำลังมองหาวิธีการปิดหนี้บัตรอิออน (Aeon) อย่างได้ผล รวดเร็วและผ่อนชำระคืนยาวนานแบบที่ไม่เจ็บตัว ขอแนะนำว่าการขอกู้สินเชื่อส่วนบุคคลจากธนาคารที่มีความน่าเชื่อสามารถช่วยสยบปัญหานี้ได้แบบอยู่หมัดอย่างแน่นอน แต่.. ถ้าหากใครยังตัดสินใจไม่ได้ว่าควรปิดหนี้บัตรอิออน (Aeon) กับธนาคารไหนดี ลองมารู้จักกับสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคาร Citi ที่รับรองว่าจะตอบโจทย์ความต้องการให้ได้อย่างยอดเยี่ยมแน่นอน..

 

สินเชื่อส่วนบุคคลธนาคาร Citi (Citi Personal Loan)

สินเชื่อบุคคล ซิตี้

 

 

สินเชื่อบุคคล ซิตี้

 

 

จุดเด่นที่น่าสนใจของสินเชื่อส่วนบุคคลธนาคาร Citi (Citi Personal Loan)

 

  • สินเชื่ออเนกประสงค์ ที่ไม่จำกัดวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
  • กู้ง่าย อนุมัติเงินก้อนรวดเร็วทันใจ
  • อนุมัติวงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้
  • ขั้นตอนการสมัครแสนง่ายดาย
  • อัตราดอกเบี้ยต่ำ แบบลดต้นลดดอก
  • ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน เมื่อต้องการใช้เงินสดฉุกเฉิน
  • ผ่อนสบาย นานสูงสุด 60 เดือน

 

อัตราของดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงินของสินเชื่อส่วนบุคคล Citi

 

ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงินของสินเชื่อส่วนบุคคลธนาคาร Citi (Citi Personal Loan) เป็นแบบลดต้นลดดอก โดยมีอัตราของดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 13.99 -25 % ต่อปี

 

คุณสมบัติของผู้สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล Citi

 

  • สัญชาติไทย
  • อายุ 21 ปี ขึ้นไป และเมื่อรวมกับระยะเวลาในการผ่อนชำระต้องไม่เกิน 60 ปี
  • รายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 20,000 บาท ขึ้นไป
  • พนักงานบริษัท ต้องมีอายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
  • เจ้าของกิจการ ต้องดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกันอย่างน้อย 2 ปี
  • ผู้กู้รายใหม่ที่ไม่เคยทำการกู้เงินสินเชื่อกับบริษัทฯ ก่อนวันที่ 1 ก.ย. 2560 และมีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาท ต่อเดือน จะต้องมีการกู้สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรรกดเงินสดหรืออยู่ในระหว่างการยื่นเรื่องขอสินเชื่อกับสถาบันทางการเงินอื่นไม่เกิน 3 แห่ง ภายในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนทำการยื่นขอกู้ Citi Personal Loan (*ในกรณีนี้ จำนวนการอนุมัติวงเงินสูงสุด 1.5 เท่า ของรายได้ต่อเดือน และผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 30,000 บาท ต่อเดือนขึ้นไป จะได้รับวงเงินสินเชื่อสูงสุด 5 เท่า ของรายได้ ต่อเดือน)

 

เอกสารประกอบการพิจารณาของสินเชื่อส่วนบุคคล Citi

 

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สลิปเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือน ย้อนหลังไม่เกิน 2 เดือน
  • สำเนาสมุดบัญชีหน้าแรก และสำเนารายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
  • *กรณีเจ้าของกิจการ ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด

 

 

บทสรุปส่งท้าย : ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน ควรกลุ้มใจหรือเปล่า!?

 

 

ปัญหาการไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน...

แม้ฟังดูเป็นเรื่องที่ควรกลุ้มใจ แต่ที่จริงแล้วปัญหาทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีทางออกทางแก้ไขได้อย่างเหมาะสม

ดังนั้น ขอให้ใจเย็นสักนิดแล้วทำการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมตรงจุด เพียงเท่านี้ก็จะสามารถช่วยจัดการกับปัญหากวนใจได้อย่างแน่นอน...

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ