ไม่จ่ายอิออน 3 เดือน ไม่จ่ายอิออน 1 เดือน
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

Contents

ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน ควรทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เสียเครดิต

ไม่จ่ายอิออน 3 เดือน ไม่จ่ายอิออน 1 เดือน

 

ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก... แถมประเทศไทยยังต้องมาเผชิญหน้ากับโรคระบาดอย่างวิท-19 ทำให้หลายคนอาจประสบกับปัญหาไม่สามารถทำการจ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน

ซึ่งทำให้เกิดความกังวลใจว่าจะทำให้เกิดการเสียเครดิตที่ส่งผลกระทบต่อการทำเรื่องขอกู้ยืมสินเชื่อก้อนใหญ่ในอนาคต

ถ้าหากใครกำลังประสบปัญหาการไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน ขอแนะนำให้ทำตามขั้นตอนในบทความชิ้นนี้ รับรองว่าจะช่วยให้สบายใจมากขึ้นอย่างแน่นอน

 

 

ผลเสียจากการผิดชำระหนี้ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน

ไม่จ่ายอิออน 3 เดือน ไม่จ่ายอิออน 1 เดือน

 

สำหรับผลเสียจากการผิดชำระหนี้กับสถาบันทางการเงิน โดยทั่วไปแล้วมักที่จะส่งกระทบในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

1.ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

 

หากผิดนัดชำระหนี้กับสถาบันทางการเงินจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นกว่าเดิมทั้งในส่วนของดอกเบี้ยที่เพิ่มมากขึ้น และหากผิดชำระเกินระยะเวลาที่กำหนดก็จะต้องถูกปรับด้วยอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ซึ่งอาจสูงมากถึง 18% และ 28% หากเป็นสินเชื่อบุคคล นอกจากนี้การชำระหนี้ล่าช้ากว่ากำหนดยังทำให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อติดตามทวงหนี้ ที่จะปรากฎถูกเรียกเก็บในเดือนถัดไปอีกด้วย

 

2.ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน อาจสียประวัติบูโร

ไม่จ่ายอิออน 3 เดือน ไม่จ่ายอิออน 1 เดือน

 

หากทำการชำระหนี้ล่าช้า หรือไม่ชำระหนี้ อาจจะทำให้เกิดการเสียประวัติเครดิตบูโร ทำให้ไม่สามารถขอสินเชื่อได้อีกในอนาคต เพราะทุกครั้งที่ทำการขอกู้สินเชื่อ สถาบันทางการเงินจะใช้ประวัติเครดิตบูโร ประวัติการจ่ายเงินและชำระเงินรายเดือนในการประกอบการพิจารณา

 

3.ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน อาจถูกโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่ติดตามหนี้จำนวนมาก

 

เมื่อไม่ทำการจ่ายบัตรอิออน (Aeon) เป็นระยะเวลาหลายเดือน เจ้าหน้าที่ติดตามหนี้จะทำการโทรศัพท์เพื่อทวงถามขอให้ไปทำการชำระหนี้ตามหน้าที่ บางคนเจ้าหน้าที่อาจโทรไป 1-2 ครั้ง แต่บางคนเจ้าหน้าที่อาจผลัดเปลี่ยนกันโทรไปหาทุกวันชนิดไม่ได้พักสายกันเลยทีเดียว นอกจากความรำคาญและกังวลที่ได้รับแล้ว การติดตามทวงหนี้เหล่านี้ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกด้วย ถ้าหากใครไม่อยากมีรายจ่ายแฝงเพิ่มขึ้นมาก็ควรทำการชำระหนี้ให้เหมาะสม ตรงตามช่วงเวลาจะเป็นการดีที่สุด

 

4.ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน อาจถูกดำเนินคดีฟ้องร้องและยึดทรัพย์

 

หากผิดชำระหนี้เป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ทางสถาบันทางการเงินจำเป็นที่จะต้องทำการฟ้องร้องคดีแพ่งต่อลูกหนี้เพื่อให้เกิดกระบวนการคืนหนี้ ในกรณีที่หนี้เหล่านั้นมีจำนวนมากอาจถูกศาลตัดสินใจกลายเป็นบุคคลล้มละลายที่ไม่สามารถทำธุรกรรมด้านการเงินได้อีกเป็นระยะเวลานาน

 

5.ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน เสียทั้งเงินและเวลาในการเดินทางไปศาล

 

เมื่อไม่ทำการจ่ายหนี้บัตรอิออน (Aeon) จนกระทั่งเรื่องลุกลามไปถึงขั้นการฟ้องร้องขึ้นศาล สิ่งที่น่ารำคาญมากที่สุดคือ การที่ต้องเดินทางไปยังศาลตามการนัดหมาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลายครั้งจนกว่าจะสามารถทำการประนอมหนี้ระหว่างทั้งสองฝ่ายได้สำเร็จ ทำให้หลายคนต้องลางานและเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังศาลเป็ยจำนวนมากเลยทีเดียว

 

ถ้าเบี้ยวหนี้ไม่จ่ายบัตรอิออน ทำได้หรือเปล่า!?

 

การพยายามเบี้ยวหนี้ ไม่ยอมจ่ายหนี้บัตรอิออนถือว่าเป็นความคิดที่ไม่ค่อยดีนัก เพราะถ้าหากไม่ทำการชำระหนี้ ไม่จ่ายในระยะเวลาที่เหมาะสม ก็จะทำให้ประวัติ "เครดิตบูโร" มีปัญหาขึ้น จนทำให้การกู้ยืมเงินจากสถาบันทางการเงินในอนาคตเพื่อทำธุรกรรมต่างๆเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น และประวัติเสียดังกล่าวแม้จะทำการชำระจนครบถ้วนในภายหลังก็จะยังคงคิดอยู่ในประวัติเครดิตบูโรอีกกว่า 3 ปี เลยทีเดียว นอกจากนี้ คดีบัตรเครดิตมีอายุความ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ผิดนัดหรือวันที่ชำระหนี้เป็นครั้งสุดท้าย

 

ติดหนี้ไม่จ่ายบัตรอิออน เปิดบริษัทได้หรือเปล่า!?

 

การติดหนี้บัตรอิออน "ไม่มีผลกับการเปิดบริษัท" เพราะตามกฎหมายไม่ได้มีการระบุข้อห้ามในส่วนนี้เอาไว้ อย่างไรก็ตามการติดหนี้บัตรอิออนก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นกับทางบริษัทในอนาคตได้เช่นกัน คือ หากบริษัทมีการทำเรื่องเพื่อข้อกู้ธุรกรรมการเงินในอนาคตก็จะทำให้อนุมัติผ่านได้ค่อนข้างยาก อันเนื่องมาจากประวัติของเครดิตบูโรที่เสียไปจากการติดหนี้บัตรอิออนนั่นเอง

 

 

สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดปัญหาไม่สามารถจ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน

ไม่จ่ายอิออน 3 เดือน ไม่จ่ายอิออน 1 เดือน

 

สำหรับคนที่เกิดปัญหาไม่สามารถจ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน ได้ สิ่งแรกที่ควรทำคือการรีบติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของบัตรอิออน (Aeon) สาขาใกล้บ้านให้รวดเร็วที่สุด เพื่อขอรับคำปรึกษาจากปัญหาที่เกิดขึ้นและแสดงให้เห็นว่าไม่ได้มีเจตนาที่จะทำการหนีหนี้ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะช่วยหาทางเพื่อให้สามารถทำการจ่ายหนี้ได้อย่างเหมาะสมกับทั้งสองฝ่าย อาทิเช่น

 

การพักหนี้กับบัตรอิออน

 

ทางบัตรอิออน (Aeon) อาจช่วยในการพักหนี้ (3-6 เดือน) โดยคิดอัตราดอกเบี้ยปกติในขณะนั้น เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของลูกหนี้ให้หายใจได้อย่างสะดวกมากขึ้น

 

รวมประนอมหนี้กับบัตรอิออน

 

ทางบัตรอิออน (Aeon) อาจช่วยในการรวมประนอมหนี้ โดยการนำเอาหนี้ทุกรายการมารวมกัน แล้วทำการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่เพื่อทำการแบ่งจ่ายขั้นต่ำ (*ประมาณ 4 %/เดือน) จนกว่าหนี้ที่เหลือจะหมด

 

โครงการประนอมหนี้ ในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด-19

 

*ในปัจจุบันทางบัตรอิออน (Aeon) ได้มีนโยบายออกมาเพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโควิท-19 โดยเฉพาะ ถ้าหากใครมีปัญหาการเงินจากปัญหานี้และมีหลักฐานการได้รับผลกระทบเช่น ใบปรับลดเงินเดือน หนังสือแจ้งออก ขอแนะนำว่าให้รีบนำหลักฐานเหล่านี้เข้าแจ้งกับเจ้าหน้าที่ของบัตรอิออน (Aeon) เพื่อขอรับวิธีการช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม ก่อนที่จะเกิดการติดตามทวงหนี้ขึ้นมาจะเป็นการดีที่สุด

 

เป็นหนี้บัตรเครดิตอิออนหลายปี อยากประนอมหนี้ ควรทำอย่างไร!?

 

สำหรับคนที่เป็นหนี้บัตรเครดิตอิออนมาเป็นระยะเวลานานหลายปีและยังไม่ได้ชำระ จนกระทั่งถูกฟ้องร้องขึ้นศาล มีขั้นตอนแนะนำที่ควรทราบ ดังต่อไปนี้

1.อายุความของบัตรเครดิตอยู่ที่ 2 ปี หากถูกฟ้องร้องในช่วงเวลาหลังจากนี้ "มูลหนี้เครดิตขาดอายุความ" ขอแนะนำให้สู้ในชั้นศาล โดยห้ามลงนาม "ปรับปรุงโครงสรา้งหนี้" หรือ "ชำระหนี้" โดยเด็ดขาด เนื่อจากจะทำให้เริ่มต้นนับอายุความใหม่

2.ระยะเวลาในการดำเนินคดจะอยู่ที่ประมาณ 6 -12 เดือน หรือมากกว่านั้น

3.ในช่วงระยะเวลาดำเนินการ ควรเก็บเงินก้อนเอาไว้ชำระหนี้ โดยควรมีจำนวนอย่างน้อยเท่ากับเงินต้นของหนี้

4.ทำการประนอมหนี้ในชั้นศาล โดยอาจได้รับการลดหนี้จากอิออนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกรณี

5.ตกลงระยะเวลาในการชำระหนี้ และทำการส่งหนี้ตรงเวลาในจำนวนที่ตกลงกันเอาไว้อย่างเหมาะสม

 

ไม่มีเงินจ่ายหนี้ก้อนสุดท้ายของบัตรกดเงินสดอิออน จะถูกฟ้องร้องอีกหรือเปล่า!?

 

ในกรณีที่ได้ทำการชำระหนี้ตามจำนวนงวดที่ได้รับการตกลงจากการประนอมหนี้แล้ว แต่เมื่อถึงงวดสุดท้ายที่ต้องจ่ายเงินก้อนให้กับบัตรเครดิตอิออน กลับเกิดปัญหาไม่สามารถจ่ายได้ ทางอิออนสามารถที่จะทำการฟ้องร้องตามสิทธิได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม มักที่จะมีการทวงถามหนี้ก่อน ทำให้ยังพอมีเวลาที่จะเจรจาต่อรองเพื่อยืดชำระหนี้ได้อีกครั้ง

 

หากบิดาหรือมารดาเป็นหนี้บัตรอิออนแล้วเสียชีวิต บุตรต้องรับผิดชอบหรือเปล่า!?

 

กรณีที่ลูกหนี้ที่เป็นบิดาหรือมารดาเสียชีวิต เจ้าหนี้จะต้องทำการฟ้องทายาทของลูกหนี้ภายในระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแแค่วันที่ทราบเรื่องการเสียชีวิตของลูกหนี้ หากทำการฟ้องร้องเกินกว่าระยะเวลาดังกล่าว ทายาทของลูกหนี้สามารถที่จะปฏิเสธการชำระหนี้แทนบิดาหรือมารดาได้ นอกจากนี้ ทายาทจะมีความรับผิดชอบเท่ากับที่ได้รับ "มรดก" มาเท่านั้น หากผู้เสียชีวิตไม่มีมรดกตกทอด ทายาทไม่ต้องรับผิดชอบเป็นการส่วนตัว และทายาทไม่ควร "รับสภาพหนี้อย่างเด็ดขาด" เพราะจะทำให้กลายเป็นลูกหนี้แทนตามกฏหมายนั่นเอง

 

ไม่จ่ายหนี้บัตรอิออน (Aeon) ถ้าถูกอายัดเงินเดือน ต้องเสียมากน้อยแค่ไหน!?

 

หลังจากที่ถูกทางบัตรอิออน (Aeon) ทำการฟ้องร้องศาลอาจมีคำสั่งให้ทำการอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ เพื่อที่จะนำมาชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ในกรณีนี้ลูกหนี้จะต้องมีเงินเดือนมากกว่า 20,000 บาท และถ้าหากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร บิดา มาราดา ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ก็สามารถที่จะนำหลักฐานเหล่านี้มาประกอบการพิจารณาเพื่ออลดหย่อน ณ กรมบังคับคดี เพื่อช่วยลดจำนวนของเงินเดือนที่ถูกอายัดให้น้อยลงกว่าเดิมได้เช่นกัน

 

นอกเหนือจากเงินเดือน เงินประเภทไหนบ้างที่บัตรอิออน (Aeon) อายัดเพื่อใช้หนี้ได้ตามกฎหมาย

 

  • เงินโบนัส อายัดได้ไม่เกิน 50%
  • เงินตอบแททนจากการออกจากงาน
  • เงินตอบแทนค่าสวัสดิการ เช่น ค่าที่พัก ค่าอุปโภคบริโภค เป็นต้น
  • เงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือเงินปันผลที่เกิดขึ้นจากการลงทุน
  • ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน เช่น กองทุน เป็นต้น
  • เงินค่าตำแหน่งทางวิชาการ (*สังกัดเอกชน)

 

เงินแบบใดบ้างที่บัตรอิออน (Aeon) ไม่สามารถอายัดนำมาใช้จ่ายหนี้ได้!

 

  • เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเน็ญและเบื้ยหวัดของลูกนี้ที่ทำอาชีพเป็นข้าราชการ
  • เบี้ยเลี้ยงชีพสำหรับคนพิการ และคนชรา เป็นต้น
  • เงินประจำตำแหน่งทางวิชาการ กรณีเป็นข้าราชการ
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
  • เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • รายได้ที่บุคคลอื่นมอบให้เพื่อการเลี้ยงชีพรายเดือน ที่ไม่เกิน 20,000 บาท ต่อเดือน (*ในกรณีที่มากกว่าจำนวนดังกล่าว สามารถถูกยึดได้)
  • บำเหน็จ หรือรายได้อื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ของพนักงานที่ไม่ใช่ข้าราชการที่ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อเดือน (*ในกรณีที่มากกว่าจำนวนดังกล่าว สามารถถูกยึดได้)
  • เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ จากการตายของบุคคลอื่น

 

ติดหนี้ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) จนถูกฟ้องร้อง เดินทางออกนอกประเทศได้หรือเปล่า!?

 

สำหรับคดีฟ้องร้องเกี่ยวกับบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด ถูกจัดอยู้ในหมวดของคดี "แพ่ง" ไม่ใช่คดีอาญาที่นำไปสู่การติดคุก ทำให้คนที่มีปัญหาการถูกฟ้องร้องเพราะไม่จ่ายหนี้บัตรอิออน (Aeon) สามารถที่จะเดินทางเข้า-ออกประเทศได้ตามปกติ

 

อยากปิดหนี้บัตรอิออน (Aeon) ก่อนถูกฟ้องไม่ยาก สินเชื่อส่วนบุคคลช่วยได้!

 

สำหรับคนที่ประสบปัญหาด้านการเงินจนประสบปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ของบัตรอิออน (Aeon) จนกังวลว่าจะทำให้ถูกฟ้องร้อง แล้วกำลังมองหาวิธีการปิดหนี้บัตรอิออน (Aeon) อย่างได้ผล รวดเร็วและผ่อนชำระคืนยาวนานแบบที่ไม่เจ็บตัว ขอแนะนำว่าการขอกู้สินเชื่อส่วนบุคคลจากธนาคารที่มีความน่าเชื่อสามารถช่วยสยบปัญหานี้ได้แบบอยู่หมัดอย่างแน่นอน แต่.. ถ้าหากใครยังตัดสินใจไม่ได้ว่าควรปิดหนี้บัตรอิออน (Aeon) กับธนาคารไหนดี ลองมารู้จักกับสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคาร Citi ที่รับรองว่าจะตอบโจทย์ความต้องการให้ได้อย่างยอดเยี่ยมแน่นอน..

 

สินเชื่อส่วนบุคคลธนาคาร Citi (Citi Personal Loan)

สินเชื่อบุคคล ซิตี้

 

 

สินเชื่อบุคคล ซิตี้

 

 

จุดเด่นที่น่าสนใจของสินเชื่อส่วนบุคคลธนาคาร Citi (Citi Personal Loan)

 

  • สินเชื่ออเนกประสงค์ ที่ไม่จำกัดวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
  • กู้ง่าย อนุมัติเงินก้อนรวดเร็วทันใจ
  • อนุมัติวงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้
  • ขั้นตอนการสมัครแสนง่ายดาย
  • อัตราดอกเบี้ยต่ำ แบบลดต้นลดดอก
  • ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน เมื่อต้องการใช้เงินสดฉุกเฉิน
  • ผ่อนสบาย นานสูงสุด 60 เดือน

 

อัตราของดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงินของสินเชื่อส่วนบุคคล Citi

 

ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงินของสินเชื่อส่วนบุคคลธนาคาร Citi (Citi Personal Loan) เป็นแบบลดต้นลดดอก โดยมีอัตราของดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 13.99 -25 % ต่อปี

 

คุณสมบัติของผู้สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล Citi

 

  • สัญชาติไทย
  • อายุ 21 ปี ขึ้นไป และเมื่อรวมกับระยะเวลาในการผ่อนชำระต้องไม่เกิน 60 ปี
  • รายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 20,000 บาท ขึ้นไป
  • พนักงานบริษัท ต้องมีอายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
  • เจ้าของกิจการ ต้องดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกันอย่างน้อย 2 ปี
  • ผู้กู้รายใหม่ที่ไม่เคยทำการกู้เงินสินเชื่อกับบริษัทฯ ก่อนวันที่ 1 ก.ย. 2560 และมีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาท ต่อเดือน จะต้องมีการกู้สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรรกดเงินสดหรืออยู่ในระหว่างการยื่นเรื่องขอสินเชื่อกับสถาบันทางการเงินอื่นไม่เกิน 3 แห่ง ภายในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนทำการยื่นขอกู้ Citi Personal Loan (*ในกรณีนี้ จำนวนการอนุมัติวงเงินสูงสุด 1.5 เท่า ของรายได้ต่อเดือน และผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 30,000 บาท ต่อเดือนขึ้นไป จะได้รับวงเงินสินเชื่อสูงสุด 5 เท่า ของรายได้ ต่อเดือน)

 

เอกสารประกอบการพิจารณาของสินเชื่อส่วนบุคคล Citi

 

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สลิปเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือน ย้อนหลังไม่เกิน 2 เดือน
  • สำเนาสมุดบัญชีหน้าแรก และสำเนารายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
  • *กรณีเจ้าของกิจการ ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด

 

 

บทสรุปส่งท้าย : ไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน ควรกลุ้มใจหรือเปล่า!?

 

 

ปัญหาการไม่จ่ายบัตรอิออน (Aeon) 1-3 เดือน...

แม้ฟังดูเป็นเรื่องที่ควรกลุ้มใจ แต่ที่จริงแล้วปัญหาทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีทางออกทางแก้ไขได้อย่างเหมาะสม

ดังนั้น ขอให้ใจเย็นสักนิดแล้วทำการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมตรงจุด เพียงเท่านี้ก็จะสามารถช่วยจัดการกับปัญหากวนใจได้อย่างแน่นอน...

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
เอมันนี่ มีสาขาไหนบ้าง เอมันนี่ สาขา บิ๊กซี เอมันนี่ โทร เอมันนี่ สระบุรี เอมันนี่ สาขาชลบุรี เอมันนี่ สาขาอยุธยา เอมันนี่ ขอนแก่น เอมันนี่ หาดใหญ่ เอมันนี่ ฉะเชิงเทรา เอมันนี่ พิษณุโลก เอมันนี่ ภูเก็ต เอมันนี่ นนทบุรี เอมันนี่ ระยอง เอมันนี่ สาขาเดอะมอลล์ บางกะปิ
ธนาคาร/ผู้ให้บริการบัตรกดเงินสด
อยากสมัครบัตรกดเงินสดเอมันนี่ (A Money) มีสาขาไหนใกล้บ้านบ้าง พร้อมเบอร์โทรติดต่อสะดวกทันใจให้สมัครกันเลย [*ข้อมูลปี 2022]
สมัครบัตรกดเงินสดเอมันนี่ (A Money) เร็วทันใจ สาขาไหนบ้างใกล้บ้านบ้าง ...