กรุงศรีประกันสุขภาพ
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

เทคนิคสร้างมรดกให้ลูกหลานแบบไม่ต้องกลัวภาษี ด้วยประกันชีวิต

ประกันชีวิตมรดก

 

เมื่อพูดถึงประกันชีวิต... เชื่อว่าหลายคนคงคิดไปไกลถึง “ความตาย” ที่มาเยือนผู้ทำประกัน แต่สิ่งที่อยู่ไกลและสำคัญกว่าความตายก็คือสิ่งที่ลูกหลานคนข้างหลังจะได้รับเมื่อตัวเองต้องจากไป ทำให้บางคนจึงคิดที่จะทำประกันชีวิตเอาไว้ เพื่อมอบให้กับลูกหลานในฐานะของ “มรดก” ที่ไม่จำเป็นที่จะต้องเสียภาษีเหมือนกับมรดกทั่วไป ส่วนประกันชีวิตจะสามารถเป็นมรดกได้อย่างไร!? และมีเทคนิคที่ควรทราบอย่างไรกันบ้างนั้น ลองมาศึกษาจากบทความชิ้นนี้กันได้เลย

 

เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก!?

ประกันชีวิตมรดก

 

ในทางกฎหมาย ประกันชีวิตไม่ใช่มรดกทำให้ไม่ตกทอดไปสู่ทายาท หากผู้ทำประกันเกิดการเสียชีวิต เงินสินไหมทดแทนจะตกอยู่กับ “ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้รับผลประโยชน์” ตามที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยที่มีการระบุอาไว้ว่า

“เงินประกันและเงิน ชพค. เป็นเงินที่ได้มาเนื่องจากความตายของบิดามารดา ไม่ใช่เงินทรัพย์สินที่บิดามารดามีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย จึงไม่ใช่มรดก”

*** “เมื่อไม่ใช่มรดก เจ้าหนี้ผู้ตายจะฟ้องเอาเงินจากประกันนี้ไม่ได้” เพราะเงินประกันเป็นสิ่งที่บริษัทประกันภัย กับ ผู้ตายได้ทำการตกลงกันเมื่อเสียชีวิตแล้วให้ผลประโยชน์ไปตกอยู่ที่ใคร แต่ผลประโยชน์นี้ไม่ใช่ทรัพย์ของผู้ตายที่หามาได้ก่อนตาย เจ้าหนี้จึงมาหักเอาไปใช้หนี้ไม่ได้ นอกเสียจากว่าประกันนั้นระบุว่าทำเอาไว้เพื่อชำระหนี้ในกรณีเสียชีวิต เช่น ประกันสินเชื่อบ้านหรือรถ หรือทำประกันแบบไม่ระบุผู้รับผลประโยชน์ เงินถึงจะตกถึงกองมรดกและสามารถโดนหักไปชำระหนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ***เบี้ยประกันที่ส่งประกันไป กับเงินปันผลที่ได้รับจากประกัน เจ้าหนี้สามารถยึดได้

 

การรับมรดกและภาษีมรดกในประเทศไทย

ประกันชีวิตมรดก

 

ในประเทศไทยมีหลักเกณฑ์ข้อกำหนดในการรับภาษีมรดก โดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ที่ควรทราบ ดังต่อไปนี้

  • ผู้รับมรดกต้องเสียภาษีร้อยละ 5 เฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท ในกรณีที่เป็นบุพการีและผู้สืบสันดาน
  • ผู้รับมรดกต้องเสียภาษีร้อยละ 10 เฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท ในกรณีที่มิได้เป็นบุพการีและผู้สืบสันดาน

 

ประกันชีวิตช่วยแบ่งเบาภาระภาษีรับมรดกได้

ประกันชีวิตมรดก

 

หากเจ้าของมรดกมีทรัพย์สินอื่นที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ต้องการให้ทายาทขายบางส่วนเพื่อนำมาจ่ายภาษีรับมรดกที่ส่งมอบให้ทายาทโดยชอบธรรมโดยทางพินัยกรรม หรือการมอบให้ทายาทโดยธรรม ก็สามารถที่ใช้การทำประกันชีวิตตนเอง เพื่อให้ทายาทนำเงินจากประกันชีวิตดังกล่าวไปจ่ายภาษีการรับมรดกอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ เพื่อเป็นการช่วยลดภาระของลูกหลานได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสินไหมชดเชยจากประกันชีวิตไม่จำเป็นที่จะต้องผ่านขั้นตอนการร้องศาล หรือรอการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

 

เทคนิคในการใช้ประกันชีวิตเพื่อสร้างมรดกให้กับลูกหลาน

ประกันชีวิตมรดก

 

สำหรับประกันชีวิตที่เหมาะอย่างมากในการสร้างมรดกให้กับลูกหลาน คือ “ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ” (*เน้นทุนประกัน) เพราะประกันชีวิตประเภทนี้ เหมาะกับการส่งเบี้ยประกันในระยะยาว ยิ่งทำการส่งเบี้ยประกันจำนวนมากเท่าไหร่ และส่งเป็นระยะเวลานานมาเพียงใด ก็จะได้รับผลตอบแทนเมื่อเสียชีวิต ในฐานะเงินมรดกที่ไว้มอบให้กับคนด้านหลังได้มากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้หากผู้ทำประกันมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญาก็จะได้รับเงินทุนประกันคืนอีกด้วย

 

ยกตัวอย่างเช่น

หากทำการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตประมาณ 25,000 – 30,000 บาท ต่อปี เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน 20 ปี ก็จะได้รับทุนประกันชีวิตประมาณ 1,000,000 บาท เลยทีเดียว

 

บทสรุปส่งท้าย: อย่าลืมว่าประกันชีวิตมรดกไม่ใช่การออมเงิน!!!

ประกันชีวิตมรดก

 

หลายคนอาจคิดว่าประกันชีวิตมรดก คือ การออมเงินรูปแบบหนึ่ง แต่ที่จริงแล้วเงินที่ถูกนำมาชดเชยให้กับผู้เอาประกันคือ “ทุนประกัน” ที่ผู้ทำประกันชีวิตจ่ายเบี้ยให้กับกรมธรรม์ และผู้รับผลประโยชน์จะได้รับก็ต่อเมื่อผู้ทำประกันเสียชีวิต ดังนั้น ถ้าหากใครต้องการที่จะออมเงิน ขอแนะนำให้ทำประกันชีวิตควบการลงทุน ประกันชีวิตออมทรัพย์แบบระยะสั้น-ระยะยาว หรือประกันชีวิตบำนาญ เป็นต้น ประกันชีวิตเหล่านี้จะช่วยตอบโจทย์ในเรื่องของการออมเงิน อีกทั้งยั้งช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการออมเงินให้มากขึ้นกว่าเดิมได้อย่างแน่นอน...

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
ธนาคารอิออน
ธนาคาร/สถาบันการเงินผู้ให้บริการบัตรเครดิต
มารู้จักกับบัตรเครดิตธนาคารอิอน (Aeon) ดีไหม!? กดตู้ ATM ธนาคารไหนได้บ้าง!? บทความนี้มีคำตอบ
อยากสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตธนาคารอิอน (Aeon) ดีไหม มาฟังคำตอบกันเลย...