- พันธบัตรกระทรวงการคลัง คือ ตราสารหนี้ภาครัฐ หมายถึง “ตราสารหนี้” ที่กระทรวงการคลังของรัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ได้นำออกมาจำหน่ายเพื่อทำการระดมทุนในประเทศจากประชาชนและสถาบันทางการเงิน เพื่อนำเงินที่ได้มาใช้ในการบริหารประเทศ
- พันธบัตรกระทรวงการคลัง แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ พันธบัตรรัฐบาล (Government Bonds) และ พันธบัตรออมทรัพย์ (Government Saving Bonds)
- พันธบัตรกระทรวงการคลัง มีความน่าเชื่อถือสูง ช่วยสร้างวินัยในการออมเงิน เป็นการลงทุนที่ง่ายไม่ซับซ้อนและไม่มีความเสี่ยงในการลงทุน
- พันธบัตรกระทรวงการคลัง เหมาะกับคนที่มี “เงินเย็น” ที่ต้องการทำการลงทุนในระยะปานกลาง – ยาว
Contents
มาทำความรู้จักกับพันธบัตรกระทรวงการคลัง น่าลงทุนกันหรือเปล่า?
พันธบัตร อาจเป็นชื่อที่ฟังดูคุ้นหูของคนทั่วไป แต่ถ้าหากกล่าวถึงพันธบัตรกระทรวงการคลัง หลายคนอาจจะเกิดความสงสัยว่าพันธบัตรนี้ มีความแปลกแตกต่างจากพันธบัตรทั่วไปอย่างไรกันบ้าง ถ้าหากใครสงสัยลองมาติดตามอ่านข้อมูลที่น่าสนใจจากบทความชิ้นนี้ เชื่อว่าจะช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับพันธบัตรกระทรวงการคลังได้มากขึ้นอย่างแน่นอน
พันธบัตรกระทรวงการคลัง คืออะไร?
พันธบัตรกระทรวงการคลัง คือ ตราสารหนี้ภาครัฐ หมายถึง “ตราสารหนี้” ที่กระทรวงการคลังของรัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ได้นำออกมาจำหน่ายเพื่อทำการระดมทุนในประเทศจากประชาชนและสถาบันทางการเงิน เพื่อนำเงินที่ได้มาใช้ในการบริหารประเทศ
ประเภทของพันธบัตรกระทรวงการคลัง
พันธบัตรกระทรวงการคลัง สามารถแบ่งแยกย่อยออกได้อีกสองประเภท โดยมีลักษณะระยะเวลาไถ่ถอนและการมอบค่าตอบแทนที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
1.พันธบัตรกระทรวงการคลัง : พันธบัตรรัฐบาล (Government Bonds)
พันธบัตรกระทรวงการคลัง ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป มีจุดประสงค์ในการออกเพื่อชดเชยการขาดงบดุล งบประมาณ เมื่อรัฐมีรายจ่ายที่สูงมากกว่ารายได้ หรือนำมาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงการนำมาปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ ส่วนใหญ่แล้วมีการจ่ายดอกเบี้ยตอบแทน 2 งวด / ปี เมื่อครบกำหนดในการไถ่ถอน ผู้ซื้อก็จะได้รับเงินต้นคืนเท่ากับราคาของพันธบัตรพร้อมกับดอกเบี้ยงวดสุดท้าย
ในปัจจุบัน พันธบัตรที่นำออกมาจำหน่ายมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป อาทิเช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ เป็นต้น
2.พันธบัตรกระทรวงการคลัง: พันธบัตรออมทรัพย์ (Government Saving Bonds)
พันธบัตรที่นำออกมาขายให้กับบุคคลธรรมดาทั่วไปและองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรตามประกาศของกระทรวงการคลัง อาทิเช่น มูลนิธิ สภากาชาดไทย และสมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการลงทุนและการออม ส่วนใหญ่จะมีการจ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้ง / ปี เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ผู้ที่ซื้อจะได้รับเงินคืนเท่ากับราคาของพันธบัตร พร้อมกับดอกเบี้ยในงวดสุดท้าย
ข้อดีของการลงทุนกับพันธบัตรกระทรวงการคลัง
ถ้าหากใครกำลังอยากเลือกลงทุนกับพันธบัตรกระทรวงการคลัง อยากแนะนำให้รู้จักกับข้อดีของพันธบัตรกระทรวงการคลังว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
- พันธบัตรกระทรวงการคลัง มีความน่าเชื่อถือสูง เพราะเป็นหน่วยงานที่มีความมั่นคงของภาครัฐ
- พันธบัตรกระทรวงการคลัง ช่วยสร้างวินัยในการออมเงินด้วยการซื้อพันธบัตร
- พันธบัตรกระทรวงการคลัง เป็นการลงทุนที่ง่ายไม่ซับซ้อน ทุกคนสามารถซื้อได้
- พันธบัตรกระทรวงการคลัง ไม่มีความเสี่ยงในการลงทุน เมื่อครบกำหนดเวลาได้รับเงินต้นคืนอย่างแน่นอน
- พันธบัตรกระทรวงการคลัง ได้รับดอกเบี้ยตอบแทนในระดับที่มากกว่าการนำไปฝากในธนาคาร
พันธบัตรกระทรวงการคลัง เหมาะกับใครกันบ้าง?
พันธบัตรกระทรวงการคลัง เหมาะกับคนที่มี “เงินเย็น” ที่ต้องการทำการลงทุนในระยะปานกลาง – ยาว เนื่องจากพันธบัตรกระทรวงการคลัง เมื่อทำการซื้อมาแล้วก็จำเป็นที่จะต้องครอบครองเอาไว้จนกว่าจะถึงระยะเวลาที่กำหนด ถึงจะได้รับดอกเบี้ยตอบแทนในจำนวนที่สูงขึ้น (*พันธบัตรส่วนใหญ่อัตราดอกเบี้ยเป็นแบบขั้นบันได ยิ่งเวลาผ่านไปนานก็จะยิ่งได้รับดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ) และถ้าหากนำมาขายในตลาดรองก่อนเวลาก็อาจจะทำให้ไม่ได้รับเงินคืนในการลงทุนอย่างเหมาะสม จึงเหมาะกับคนที่ไม่ได้รีบร้อนใช้เงินนั่นเอง
บทสรุปส่งท้าย : พันธบัตรกระทรวงการคลังน่าลงทุนหรือเปล่า?
พันธบัตรกระทรวงการคลัง ถือว่าเป็นการลงทุนที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะผู้ที่ทำการออกธนบัตรคือกระทรวงการคลัง ที่ถือว่าเป็นหน่วยงานราชการที่มีความมั่นคงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ถ้าหากใครกำลังสนใจแล้วยังตัดสินใจไม่ได้ว่าควรลงทุนกับพันธบัตรกระทรวงการคลังดีหรือเปล่า? ขอแนะนำเลยว่าการลงทุนกับพันธบัตรกระทรวงการคลังเป็นสิ่งที่ไม่ควรพลาดอย่างแน่นอน