Contents
- 1 โดนหมายศาลบัตรเครดิต KTC ควรทำอย่างไรดี!? มาลองฟังคำแนะนำกัน
- 2 4 เรื่องไม่น่าอถิรมย์ เมื่อโดนฟ้องหนี้บัตรเครดิต
- 3 หนี้บัตรเครดิต KTC กับหมายศาลบัตรเครดิต
- 4 การติดตามทวงหนี้ของบัตรเครดิต KTC
- 5 1เจ้าหน้าที่ของบัตรเครดิต KTC โทรศัพท์มาขอความร่วมมือในการชำระหนี้เป็นระยะ
- 6 2ได้รับหมายศาลจากการเป็นลูกหนี้บัตรเครดิต KTC
- 7 รู้ไหมว่า.. สามารถขอประนอมหนี้กับบัตรเครดิต KTC ก่อนขึ้นศาลได้!
- 8 ขอประนอมหนี้กับบัตรเครดิต KTC ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับอัตราส่วนลดเท่าไหร่!?
- 9 วิธีการจ่ายหนี้เมื่อทำการประนอมหนี้กับบัตรเครดิต KTC อย่างเหมาะสม
- 10 จุดยืนของลูกหนี้ หลังจากโดนฟ้องบัตรเครดิต KTC
- 11 โดนหมายศาลบัตรเครดิต KTC ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด พร้อมวิธีขึ้นศาลอย่างเหมาะสม
- 12 การต่อรองเพื่อขอลดการชำระหนี้ เมื่อโดนหมายศาล และขึ้นศาลบัตรเครดิต KTC
- 13 รายละเอียดการอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้บัตรเครดิต KTC เมื่อขึ้นศาล
- 14 การอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ หลังการขึ้นศาล
- 15 ●ลูกหนี้บัตรเครดิต KTC : ในกรณีที่ว่างงาน
- 16 ●ลูกหนี้บัตรเครดิต KTC : ในกรณีที่มีคู่สมรส
- 17 ทนายสามารถช่วยในการขึ้นศาลบัตรเครดิต KTC ได้อย่างไรกันบ้าง!?
- 18 อยากปรึกษาทนายความเพื่อซักถามเกี่ยวกับหมายศาล ก่อนขึ้นศาลกับบัตรเครดิต KTC ควรทำอย่างไร
- 19 หากได้รับหมายศาลบัตรเครดิต KTC แล้วไม่ได้ไปขึ้นศาลตามนัดควรทำอย่างไร!?
- 20 อยากติดต่อศูนย์ประนอมหนี้ KTC ผ่านช่องทางไหน เบอร์โทรหมายเลขใดได้บ้าง!?
- 21 มหกรรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี ตัวช่วยสำหรับคนที่ได้รับหมายศาลบัตรเครดิต KTC
- 22 บัตรเครดิต KTC ช่วยเหลือประนอมหนี้และแบ่งเบาภาระของสมาชิกบัตรที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ประจำปี 2564-2565
- 23 1.บัตรเครดิต KTC ปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำโดยอัตโนมัติ
- 24 2.บัตรเครดิต KTC เปลี่ยนรูปแบบประเภทของหนี้
- 25 รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต หนึ่งในทางออกของคนที่ไม่อยากได้รับหมายศาลบัตรเครดิต
- 26 สินเชื่อส่วนบุคคล อีกตัวเลือกน่าสนใจที่จะช่วยปลดภาระหนี้บัตรเครดิต
- 27 จุดเด่นที่น่าสนใจของสินเชื่อส่วนบุคคลธนาคาร Citi (Citi Personal Loan)
- 28 อัตราของดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงินของสินเชื่อส่วนบุคคล Citi
- 29 คุณสมบัติของผู้สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล Citi
- 30 เอกสารประกอบการพิจารณาของสินเชื่อส่วนบุคคล Citi
- 31 บทสรุปส่งท้าย : วิธีการป้องกันไม่ให้ปัญหาหมายเรียกขึ้นศาลบัตรเครดิต KTC มาเยือน
โดนหมายศาลบัตรเครดิต KTC ควรทำอย่างไรดี!?
มาลองฟังคำแนะนำกัน
หมายศาล...
เป็นสิ่งที่ไม่ว่าลูกหนี้บัตรเครดิตคนไหนก็คงไม่อยากให้ถูกจัดส่งมาที่บ้านของตัวเอง เพราะมันเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้เป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะกับคนที่ไม่เคยได้รับหมายศาลหรือเคยขึ้นศาลมาก่อน ซึ่งหนึ่งในสถาบันบัตรเครดิตที่มีการส่งหมายศาลให้เห็นกันบ่อยครั้งมากที่สุดก็คงไม่พ้นธนาคารกรุงไทย หรือ KTC
จนมีหลายคนตั้งกระทู้ขอความช่วยเหลือหลังจากที่โดนหมายศาลบัตรเครดิต KTCเพราะไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรกันดี!?
สำหรับคนที่ได้รับหมายศาลบัตรเครดิต KTC ขอแนะนำให้ทำตามขั้นตอนแนะนำในบทความชิ้นนี้ รับรองว่าจะช่วยให้ผ่านพ้นการถูกหมายศาลบัตรเครดิต KTC ได้อย่างสบายใจมากขึ้นได้อย่างแน่นอน
4 เรื่องไม่น่าอถิรมย์ เมื่อโดนฟ้องหนี้บัตรเครดิต
เมื่อได้รับหนี้บัตรเครดิต มักจะมีเรื่องที่ไม่ชวนให้น่าอภิรมน์ใจนัก 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1.โดนฟ้องหนี้บัตรเครดิต : ถูกถามทวงงหนี้
เมื่อกลายมาเป็นลูกหนี้บัตรเครดิต ก็มักที่จะถูกทำการติดตามทวงหนี้ทั้งทางโทรศัพท์ และ SMS ซึ่งจะเป็นการทำให้เกิดความเครียดมากยิ่งขึ้นในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
2.โดนฟ้องหนี้บัตรเครดิต : เสียโอกาสในการกู้เงินในอนาคต
เมื่อถูกฟ้องร้องคดีจะเป็นการบั่นทองและเสียโอกาสในการกู้เงินในอนาคต เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังเครดิตบูโร ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลกลางของทุกสถาบันการเงิน ทำให้ไม่มีสถาบันทางการเงินได้กล้าอนุมัติสินเชื่อให้นั่นเอง
3.โดนฟ้องหนี้บัตรเครดิต : เสียเวลาในการขึ้นศาล
การถูกฟ้องร้องเป็นหนี้บัตรเครดิต ทำให้ต้องเดินทางไปไกล่เกลี่ย หรือฟังคำพิพากษาจากศาลหลายครั้ง สิ่งเหล่านี้เป็นการเสียทั้งเรื่องของเงินทองและเวลาในการเดินทางไปยังศาลหลายต่อหลายครั้ง
4.โดนฟ้องหนี้บัตรเครดิต : อาจถูกยึดทรัพย์
หากไม่เดินทางไปไกล่เกลี่ยตามหลังจากที่ถูกฟ้องศาล หรือไม่มีเงินไปชำระหนี้ได้อย่างเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด ศาลก็จะทำการสั่งกรมบังคับคดีให้ทำการยึดทรัพย์และอายัดเงินเดือนเพื่อชดใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้ จนกว่าจะครบกับจำนวนของหนี้สิ้นทั้งหมด
หนี้บัตรเครดิต KTC กับหมายศาลบัตรเครดิต
เมื่อทำการใช้จ่าย กู้ยืมสินเชื่อจากบัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นของ KTC หรือสถาบันทางการเงินใดก็ตามก็จำเป้นที่จะต้องทำการชำระหนี้ตามกฏหมาย แต่ถ้าหาหลูกหนี้ไม่สามารถทำได้จนกระทั่งหนี้สินพอกพูน ทางสถาบันทางการเงินก็จะทำการส่งส่ง "หมายศาล" เพื่อให้เดินทางไปทำการประนอมหนี้ ณ ศาล แต่ก่อนที่จะถึงขึ้นตอนดังกล่าว เจ้าหน้าที่ฝ่ายติดตามหนี้สินของบัตรเครดิต KTC จะมีกระบวนการทำงานที่น่าสนใจและควรทราบ ดังต่อไปนี้
การติดตามทวงหนี้ของบัตรเครดิต KTC
1เจ้าหน้าที่ของบัตรเครดิต KTC โทรศัพท์มาขอความร่วมมือในการชำระหนี้เป็นระยะ
ในช่วงแรกของการผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิตทางเจ้าหน้าที่ของธนาคาร KTC จะทำการโทรศัพท์มาติดตามหนี้เป็นระยะ เพื่อขอทำการชำระหนี้ หากไม่ทำการชำระจนกระทั่งสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ในสัญญา การทวงหนี้ก็จะเปลี่ยนจากการโทรติดตามของเจ้าหน้าที่ เป็นการส่งหมายศาลไปให้กับลูกหนี้บัตรเครดิตนั่นเอง
2ได้รับหมายศาลจากการเป็นลูกหนี้บัตรเครดิต KTC
หมายศาลจากบัตรเครดิต KTC จะถูกส่งให้กับลูกหนี้บัตรเครดิตของทางธนาคารที่ขาดการชำระเงินค่าบัตรเครดิตคืนให้กับทางธนาคารกรุงไทย ทำให้โดนหมายศาลในคดีเพ่ง สำหรับคนที่ได้รับหมายศาลจากบัตรเครดิต KTC ก็อย่าพึงวิตกกังวลมากจนเกินไปนัก เพราะการนัดหมายมายังศาลนั้น เป็นการนัดหมายเพื่อทำการไกล่เกลี่ยการชดใช้หนี้บัตรเครดิต ในอัตราที่ลูกหนี้บัตรเครดิตสามารถจ่ายไหว เพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายนั่นเอง
รู้ไหมว่า.. สามารถขอประนอมหนี้กับบัตรเครดิต KTC ก่อนขึ้นศาลได้!
สำหรับคนที่มีเงินก้อนเก็บสะสมเอาไว้ในขณะทีทำการขอพักชำระหนี้ ขอแนะนำว่าสามารถนำเงินก้อนนี้มาทำการปิดประนอมหนี้กับบัตรเครดิตด KTC ได้ โดยขั้นตอนดังกล่าวจะถูกเรียกว่า "Hair Cut" อย่างไรก็ตาม การประนอมหนี้ในลักษณะนี้จะต้องให้เจ้าหนี้ทำการออกจดหมายเพื่อเป็นการยืนยันการปรับลดหนี้และระบุวันที่ทำการชำระหนี้อย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นก็ขอให้ธนาคารทำหนังสือยินยอมการปิดยอดหนี้ให้เป็น 0 **สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในขั้นตอนของการประนอมหนี้ดังกล่าว คือ ก่อนที่จะทำการชำระหนี้ ต้องได้รับจดหมายยืนยันการปรับลดยอดหนี้เสียก่อน และควรขอให้หยุดดอกเบี้ยในระหว่างการชำระหนี้ดังกล่าว
ขอประนอมหนี้กับบัตรเครดิต KTC ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับอัตราส่วนลดเท่าไหร่!?
โดยทั่วไปแล้ว หากทำการขอประนอมหนี้กับบัตรเครดิต KTC เพื่อเป็นการปิดยอดหนี้ก่อนขึ้นศาลจะได้รับส่วนลดประมาณในอัตราส่วนประมาณ 20-60% ของยอดหนี้ก้อนเดิม + ดอกเบี้ย
วิธีการจ่ายหนี้เมื่อทำการประนอมหนี้กับบัตรเครดิต KTC อย่างเหมาะสม
ในการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากบัตรเครดิต KTC หลังจากที่ได้ทำการประนอมหนี้กันอย่างเหมาะสมแล้ว ขอแนะนำว่าไม่ควรจ่ายเงินผ่านบริษัทติดตามทวงหนี้ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบัตรเครดิต KTC แต่ควรชำระเงินให้กับบัตรเครดิต KTC โดยตรง ผ่านเคาน์เตอร์ของทางธนาคารโดยตรง สำหรับในกรณีนี้คือการชำระเงินผ่านทางธนาคารกรุงไทยนั่นเอง
จุดยืนของลูกหนี้ หลังจากโดนฟ้องบัตรเครดิต KTC
หลังจากที่โดนหมายศาล และถูกฟ้องร้องบัตรเครดิต KTC จากเจ้าหน้า ขอแนะนำว่าให้ทำการตัดสินใจว่าจะแสดงจุดยืนของตัวเองต่อการขึ้นศาลอย่างไร เพื่อให้ง่ายสำหรับการวางแผนรับมือกับข้อกฎหมายในอนาคต โดยสามมารถแบ่งวิธีการรับมือออกได้เป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
1.ปรึกษาทนายความก่อนขึ้นศาล
2.เดินทางไปไกล่เกลี่ย ณ วันที่ได้รับมอบหมาย
โดนหมายศาลบัตรเครดิต KTC ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด พร้อมวิธีขึ้นศาลอย่างเหมาะสม
เมื่อได้รับหมายศาลบัตรเครดิต KTC อย่าพึ่งตกใจ หรือเครียดมากจนเกินไป เพราะเป็นขั้นตอนในการประนีประนอมและตกลงการชำระหนี้คืน ยังไม่ใช่ขั้นตอนการดำเนินคดีอย่างที่หลายคนเข้าใจ โดยขอแนะนำให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อให้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม
- ตรวจสอบวัน/เวลา และสถานที่ที่ศาลทำการนัดหมายที่ระบุเอาไว้ในหมายศาล
- โทรศัพท์ไปเจรจากับทางโจทย์ (KTC) เพื่อขอทำการต่อรองให้ลดยอดการชำระต่อเดือนให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะถึงการตัดสินของศาล เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ขั้นตอนไปถึงศาลที่ต้องเจรจาด้วยจะเป็นทนายของทางโจทย์ที่มีอำนาจในการตัดสินใจน้อยกว่านั้นเอง
- เดินทางไปยังศาล ตามวันเวลาที่ได้รับการนัดหมาย
- ทำการตรวจสอบรายชื่อคดีเพ่งตามหมายเลขคดีดำ เดินทางไปยังห้องไกล่เกลี่ยที่ระบุเอาไว้ แสดงบัตรประชาชน พร้อมกับลงชื่อรับบัตรคิวเพื่อเข้ารับการไกล่เกลี่ยหนี้
- ทนายของ KTC จะแจ้งยอดค้างชำระที่เรียกให้จ่ายพร้อมกับ + ดอกเบี้ย 10% และยื่นข้อเสนอให้ทำการผ่อนชำระจ่ายคืน โดยทั่วไปจะมียอดการผ่อนชำระสูงสุดอยู่ในระยะเวลาประมาณ 36 เดือน
*หมายเหตุ การผ่อนชำระงวดนั้นมีตั้งแต่ 6 งวด ไปจนถึง 60 งวด ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ว่ามากหรือน้อย และการผ่อนนั้นมีการผ่อนแบบขั้นบันได คือ ค่างวดอาจเพิ่มขึ้นในปีที่ 2 จนครบจำนวนงวดได้
- การไต่สวนผู้พิพากษาจะสอบถามว่าลูกหนี้สามารถทำการชำระคืนได้เดือนละเท่าไหร่ ให้ทำการแจกแจงรายรับและรายจ่าย รวมไปถึงยอดเงินคงเหลือในแต่ละเดือนซึ่งทางผู้พิพากษาจะใช้ประกอบดุลพินิจว่าลูกหนี้ควรใช้คืนให้กับทาง KTC เดือนละเท่าไหร่ (ควรเลือกการชำระคืนให้น้อยที่สุดเพื่อไม่ให้กระทบกับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน)
- เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงยอดในการชำระคืนได้เป็นที่เรียบร้อย หลังจากนั้นก็จะเป็นเรื่องของระยะเวลาในการชำระหนี้ ถ้าหากมีหนี้จำนวนมากก็ต้องผ่อนชำระกันนานหลายปีเลยทีเดียว
นอกจากนี้ในบางครั้งการเดินทางไปตามนัดหมายหมายศาลบัตรเครดิต KTC บางครั้งทางธนาคารกรุงไทย และลูกหนี้ก็จะมีการตกลงเรื่องจำนวนหนี้ที่ใช้คืนต่อเดือนกันที่หน้าห้องพิจารณาคดี ถ้าหากไม่สามารถตลงกันได้ ก็ต้องให้เป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาอีกด้วย
การต่อรองเพื่อขอลดการชำระหนี้ เมื่อโดนหมายศาล และขึ้นศาลบัตรเครดิต KTC
แม้ว่าเมื่อโดนหมายศาลบัตรเครดิต KTC หนี้ที่เกิดการค้างชำระสามารถที่จะเจรจาขอต่อรองลดหนี้ให้น้อยลงได้ ในกรณีที่มียอดค้างชำระเกิน 100,000 บาท ขึ้นไป แม้จะไม่มากนัก แต่เจ้าของบัตรเครดิตก็ยังสามารถทำการเจรจาเพื่อขอต่อรองได้ในอัตราที่ต่ำกว่า ยกตัวอย่างเช่น หากถูกอายัดเงินเดือนประมาณ 30 ของเงินเดือน เป็นจำนวนเงิน 3,500 บาท / เดือน เจ้าของบัตรเครดิต KTC ที่เป็นลูกหนี้ สามารถขอเจรจาเพื่อชำระหนี้ได้ในจำนวน 2,500 บาท / เดือน ได้เช่นกัน
รายละเอียดการอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้บัตรเครดิต KTC เมื่อขึ้นศาล
สำหรับคนที่โดนหมายศาลของบัตรเครดิต KTC แล้วกลัวว่าหากทำการไกล่เกลี่ยแล้วจะไม่เป็นผลสำเร็จจนกระทั่งทำให้เกิดการยึดทรัพย์นั้น ขอแนะนำให้ลองมาติดตามรายละเอียดในการอายัดทรัพย์สิน จากรมบังคับคดีดังต่อไปนี้
การอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ หลังการขึ้นศาล
1.ลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ เจ้าหนี้ไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้
2.ห้ามทำการอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท
3.อายัดเงินโบนัสได้ไม่เกิน 50%
4.อายัดเบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลาได้ไม่เกิน 30%
5.เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน หรือบำเน็จ อายัดได้ไม่เกิน 3 แสนบาท
6.บัญชีเงินฝากธนาคารสามารถอายัดได้ทั้งหมด
7.เงินในสหกรณ์ออมทรัพย์ เงินปันผล ค่าหุ้น ทำการอายัดได้ต่อเมื่อสิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพแล้วเท่านั้น
8.บำเน็จตกทอด ไม่สามาถบังคับชำระหนี้ได้
9.หุ้น ยึดใบหุ้นขายทอดตลาด อายัดเงินปันผล
10.ค่าเช่ารายเดือน เจ้าพนักงานบังคับคดี สามารถอายัดเงินค่าเช่าไปยังผู้เช่าได้
*หากต้องการทำอายัดเงินเดือน เจ้าของบัตรเครดิตต้องมีทรัพย์สินที่เจ้าหนี้สามารถทำการอายัดได้หนือไม่ เช่ร รถยนต์ บ้าน และเงินในบัญชีต่างๆ ที่ได้ทำการฝากสะสมได้เช่นกัน นอกจากหากมีเจ้าหนี้หลายราย เจ้าหนี้ตั้งแต่รายแรกจนถึงรายสุดท้ายก็สามารถที่จะทำการฟ้องร้องเพื่อขอายัดเงินเดือนได้เช่นกัน
●ลูกหนี้บัตรเครดิต KTC : ในกรณีที่ว่างงาน
ศาลจะขอทำการขอยึดทรัพย์สินเพื่อแทนยอดหนี้ แต่ถ้าหากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ ทางศาลจะให้ทำการชะลอการชำระหนี้เอาไว้ก่อน จนกระทั่งสืบทราบว่าเริ่มทำงาน มีรายได้ หลังจากนั้นก็จะทำการยื่นเรื่องเข้าไปยังบริษัทที่ทำงานอยู่ เพื่อทำการหักยอดหนี้ผ่านทางเงินเดือนทุกเดือน จนกระทั่งหนี้สินหมดไปนั่นเอง
●ลูกหนี้บัตรเครดิต KTC : ในกรณีที่มีคู่สมรส
ในกรณีนี้ คู่สมรสอาจต้องเป็นผู้ทำการชำระหนี้แทน ถ้าหากยอดหนี้นั้นได้รับการอนุมัติหลังจากที่ได้ทำการแต่งงานแล้ว
ทนายสามารถช่วยในการขึ้นศาลบัตรเครดิต KTC ได้อย่างไรกันบ้าง!?
ทนายความเป็นอาชีพที่มีความรู้ ความเข้าใจอย่างมากในเรื่องของกฏหมายและหากทนายความคนดังกล่าว มีความชำนาญอย่างมากในเรื่องของคดีสินเชื่อ การเงินและบัตรเครดิต ก็จะสามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษา รวมไปถึงการช่วยแบ่งเบาในส่วนของคดีบัตรเครดิตจากหนักให้เป็นเบาได้มากขึ้น สำหรับการขอคำปรึกษาจากทนายนั้น ขอแนะนำว่าให้เตรียมหมายศาลไปมอบให้กับทนาย เพื่อให้ทางทนายตรวจสอบและมองหาช่องทางที่จะช่วยในการต่อสู้ทางกฏหมายได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น และถ้าหากใครต้องการระยะเวลาเพิ่มเติมในการเก็บเงินมาชำระหนี้บัตรเครดิตหลังจากโดนหมายศาล ก็สามารถขอให้ทางทนายความทำการยื่นคำให้การได้เช่นกัน
อยากปรึกษาทนายความเพื่อซักถามเกี่ยวกับหมายศาล ก่อนขึ้นศาลกับบัตรเครดิต KTC ควรทำอย่างไร
สำหรับคนที่ไม่สามารถขจัดความกังวลใจของตัวเองหลังจากที่ได้รับหมายศาลบัตรเครดิต KTC สามารถทำการขอปรึกษาสายด่วนสภาทนายความหมายเลขโทรศัพท์ 1167 ในเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. ก่อนที่จะเดินทางไปตามหมายเรียกของศาลได้เช่นกัน
หากได้รับหมายศาลบัตรเครดิต KTC แล้วไม่ได้ไปขึ้นศาลตามนัดควรทำอย่างไร!?
สำหรับคนที่ได้รับหมายศาลบัตรเครดิต KTC แล้วแต่ไม่ไปตามนัดไม่ว่าจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือจงใจก็ตาม ทางศาลจะทำการพิพากษาให้ชำระหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าหนี้แจ้ง +ดอกเบี้ย 10% ในวันนั้นเลย โดยศาลจะให้ระยะเวลากับทางลูกหนี้เพื่อให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดแล้วลูกหนี้ไม่สามารถทำการชำระคืนได้ หรือไม่ยินยอมในการชำระหนี้ตามคำพิพากษา จะมีการจัดตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินต่อไป อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้สามารถทำการขอไกล่เกลี่ยกับเจ้าหนี้ได้ แต่หากไม่ยอมไกล่เกลี่ยก็ต้องเข้าสู่กระบวนการยึดทรัพย์ต่อไป นอกจากนี้ การเป็นหนี้บัตรเครดิต KTC แล้วไม่ยอมทำการไกล่เกลี่ยกับเจ้าหนี้อย่างเหมาะสมก็จะทำให้เกิดปัญหา “แบล็กลิสต์” ของเครดิตบูโร ทำให้เกิดปัญหาในการกู้สินเชื่อก้อนใหญ่ในอนาคตได้อีกด้วย ดังนั้น ขอแนะนำว่าให้ควรเดินทางไปยังศาลตามวันเวลาที่ได้รับการนัดหมายเพื่อให้มีโอกาสในการต่อรอง เพื่อขอทำการลดหย่อนหนี้ เพราะเป็นโอกาสที่ดีที่สุดนั่นเอง...
อยากติดต่อศูนย์ประนอมหนี้ KTC ผ่านช่องทางไหน เบอร์โทรหมายเลขใดได้บ้าง!?
สำหรับคนที่ต้องการติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการประนอมหนี้ของบัตรเครดิต KTC สามารถทำได้ผ่านศูนย์ประนอมหนี้บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2631 3700 และ 0-2631 3639
มหกรรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี ตัวช่วยสำหรับคนที่ได้รับหมายศาลบัตรเครดิต KTC
มหกรรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่ทางกรมบังคับคดี และบริษัทผู้ให้บริการบัตรเครดิต โดยเฉพาะ KTC ได้จัดขึ้นเพื่่อให้ลูกหนี้ที่ได้รับหมายศาลจากทาง KTC ได้พบกับตัวแทนของสถาบันทางการเงินและทำการไกล่เกลี่ยกัน โดยมีอัตราดความสำเร็จที่เรียกได้ว่าค่อนข้างสูงอย่างน่าประทับใจเป็นประจำทุกปี โดยลูกหนี้ที่ได้รับหมายศาลจาก KTC จะได้รับผลประโยชน์ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
- ผลประโยชน์ของคนที่ได้รับหมายศาล KTC และเข้าร่วมกับมหกรรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี
- ช่วยสนับสนุนการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
- เปิดโอกาสให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ทำการเจรจากันด้วยความสะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม
- เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้และลูกหนี้สามารถทำการชำระหนี้ได้จริง
- ลูกหนี้ไม่ต้องถูกฟ้องร้อง บังคับคดีและฟ้องล้มละลาย
- ช่วบลดความเหลื่อมล้ำ ให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างง่ายดายมากขึ้นกว่าเดิม
บัตรเครดิต KTC ช่วยเหลือประนอมหนี้และแบ่งเบาภาระของสมาชิกบัตรที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ประจำปี 2564-2565
หลังจากที่ทั่วโลกและในประเทศไทยได้ประสบปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้มีสมาชิกบัตรเครดิต รวมไปถึงลูกหนี้จำนวนมากได้รับผลกระทบ ทางบัตรเครดิต KTC จึงได้มีการออกมาตราการมาเพื่อช่วยในการแบ่งเบาภาระที่เกิดขึ้น ดังต่อไปนี้
1.บัตรเครดิต KTC ปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำโดยอัตโนมัติ
- อัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ 5% : มีผลกับบัญชีบัตรเครดิตที่มีการสรุปยอดบัญชี ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 2563 - 1 ธ.ค. 2564
- อัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ 8% มีผลกับบัญชีบัตรเครดิตที่มีการสรุปยอดบัญชี ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 2565
- อัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ 10% มีผลกับบัญชีที่มีการสรุปยอดบัญชี ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2565 เป็นต้นไป
2.บัตรเครดิต KTC เปลี่ยนรูปแบบประเภทของหนี้
เปลี่ยนประเภทของหนี้บัตรเครดิจ ให้กลายเป็นสินเชื่อเงินกู้ส่วนบุคคลระยะยาว โดยมีอัตราของดอกเบี้ย 10% ต่อปี นาน 48 เดือน
รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต หนึ่งในทางออกของคนที่ไม่อยากได้รับหมายศาลบัตรเครดิต
เมื่อรู้ตัวว่าตัวเองกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการเป็นหนี้ โดยที่ไม่สามารถหมุนเงินมาชำระเงินต้นและดอกเบี้ยที่ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยได้ ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถช่วยในการแก้ไขปัญหาด้งกล่าวได้คือ การ "รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต" นั่นเอง ซึ่งการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตจะเป็นการช่วยรวมยอดหนี้ของบัตรเครดิตมาไว้ในที่เดียว
หลังจากนั้นทางสถาบันทางการเงินก็จะทำการอนุมัติจำนวนเงินที่เพียงพอในการปิดหนี้ให้เพื่อนำไปใช้ปิดยอดบัตรเครดิตที่เหลืออยู่จนหมด จากนั้นจึงค่อยมาทำการผ่อนชำระคืนกับทางสถาบันทางการเงินใหม่ในอัตราของดอกเบี้ยที่ถูกกว่าและมีข้อเสนอที่ดีกว่านั้นเอง อย่างไรก็ตามการรีไฟแนนซืบัตรเครดิต จำเป็นที่จะต้องทำตั้งแต่ก่อนที่จะได้รับหมายศาลเพื่อที่จะได้ไม่ต้องวุ่นวายกับการเดินทางไปขึ้นศาลในภายหลังที่ต้องเสียเวลามากมายนั่นเอง
สินเชื่อส่วนบุคคล อีกตัวเลือกน่าสนใจที่จะช่วยปลดภาระหนี้บัตรเครดิต
สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นหนึ่งในสินเชื่ออนกประสงค์ที่ไม่ได้จำกัดวัตุประสงค์ในการใช้งานเอาไว้ ทำให้สามารถนำมาใช้ในการ โปะหนี้! ของบัตรเครดิตได้ จากนั้นค่อยทำการผ่อนชำระสินเชื่อส่วนบุคคลในภายหลังโดยมีอัตราของดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าบัตรเครดิตเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีระยะเวลาในการผ่อนชำระคืนที่มากกว่า ทำให้ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากนี้ของบัตรเครดิตได้เป็นอย่างดี
สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีความน่าสนใจอย่างมากในปัจจุบัน ทั้งในส่วนของข้อเสนอ อัตราของดอกเบี้ย รวมไปถึงระยะเวลาในการผ่อนชำระที่อยากแนะนำให้รู้จักกันก็คือ "สินเชื่อส่วนบุคคลธนาคาร Citi (Citi Personal Loan)" นั่นเอง
จุดเด่นที่น่าสนใจของสินเชื่อส่วนบุคคลธนาคาร Citi (Citi Personal Loan)
- สินเชื่ออเนกประสงค์
- กู้ง่าย อนุมัติเงินก้อนรวดเร็วทันใจ
- อนุมัติวงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้
- ขั้นตอนการสมัครแสนง่ายดาย
- อัตราดอกเบี้ยต่ำ แบบลดต้นลดดอก
- ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน เมื่อต้องการใช้เงินสดฉุกเฉิน
- ผ่อนสบาย นานสูงสุด 60 เดือน
อัตราของดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงินของสินเชื่อส่วนบุคคล Citi
ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงินของสินเชื่อส่วนบุคคลธนาคาร Citi (Citi Personal Loan) เป็นแบบลดต้นลดดอก โดยมีอัตราของดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 13.99 -25 % ต่อปี
คุณสมบัติของผู้สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล Citi
- สัญชาติไทย
- อายุ 21 ปี ขึ้นไป และเมื่อรวมกับระยะเวลาในการผ่อนชำระต้องไม่เกิน 60 ปี
- รายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 20,000 บาท ขึ้นไป
- พนักงานบริษัท ต้องมีอายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
- เจ้าของกิจการ ต้องดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกันอย่างน้อย 2 ปี
- ผู้กู้รายใหม่ที่ไม่เคยทำการกู้เงินสินเชื่อกับบริษัทฯ ก่อนวันที่ 1 ก.ย. 2560 และมีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาท ต่อเดือน จะต้องมีการกู้สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรรกดเงินสดหรืออยู่ในระหว่างการยื่นเรื่องขอสินเชื่อกับสถาบันทางการเงินอื่นไม่เกิน 3 แห่ง ภายในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนทำการยื่นขอกู้ Citi Personal Loan (*ในกรณีนี้ จำนวนการอนุมัติวงเงินสูงสุด 1.5 เท่า ของรายได้ต่อเดือน และผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 30,000 บาท ต่อเดือนขึ้นไป จะได้รับวงเงินสินเชื่อสูงสุด 5 เท่า ของรายได้ ต่อเดือน)
เอกสารประกอบการพิจารณาของสินเชื่อส่วนบุคคล Citi
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สลิปเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือน ย้อนหลังไม่เกิน 2 เดือน
- สำเนาสมุดบัญชีหน้าแรก และสำเนารายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
- *กรณีเจ้าของกิจการ ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
บทสรุปส่งท้าย : วิธีการป้องกันไม่ให้ปัญหาหมายเรียกขึ้นศาลบัตรเครดิต KTC มาเยือน
สำหรับวิธีการป้องกันไม่ให้หมายศาลบัตรเครดิต KTC มาเยือน..
เป็นสิ่งที่ทำได้อย่างง่ายดายด้วยการหมั่นใช้ “สติ” ในการใช้จ่ายไม่ให้เกินตัว เกินความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเองอย่างสม่ำเสมอเพียงเท่านี้รับรองว่าปัญหาหมายศาลบัตรเครดิต KTC จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
แต่ถ้าหากใครที่เกิดปัญหาขึ้นมาแล้วทางออกที่ดีที่สุดคือการประนีประนอมยอดการจ่ายชำระคืนขั้นต่ำ
และทำการตั้งใจหาเงินแล้วทยอยชำระหนี้คืน เพียงเท่านี้ปัญหาการเป็นหนี้บัตรเครดิตกรุงไทยก็จะปิดฉากลงได้ด้วยดีได้อย่างแน่นอน...