Contents
- 1 ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) กับสิทธิ์และประโยชน์ ที่รู้ก่อน สบายใจกว่า!!!
- 2 ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) คืออะไร!?
- 3 ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) คุ้มครองอะไรบ้าง!?
- 4 ข้อยกเว้นที่ไม่ได้รับการคุ้มครองจากประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)
- 5 ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ใช้บริการที่โรงพยาบาลใดได้บ้าง
- 6 ใครบ้างที่ไม่ได้รับสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)
- 7 อยากรับสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ต้องทำอย่างไร!?
- 8 บทสรุปส่งท้าย : อยากรับสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ดีไหม!?
ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) กับสิทธิ์และประโยชน์ ที่รู้ก่อน สบายใจกว่า!!!
ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)… เป็นหนึ่งในโครงการที่ทางรัฐบาลได้ดำเนินมาอย่างยาวนาน ในการช่วยรักษาพยาบาลของประชาชน สำหรับโครงการนี้จะมีประโยชน์อย่างไร คุ้มครองการรักษาพยาบาลเพียงใดและกำลังหารายละเอียดเกี่ยวกับประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) อยู่ รับรองว่าบทความชิ้นนี้จะมีคำตอบให้อย่างแน่นอน...
ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) คืออะไร!?
ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เป็นแนวคิดของ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคนแรก ที่ให้ความสำคัญกับการเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะผู้ที่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล จนทำให้เกิดการร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับแรกที่ถูกร่างโดยภาคประชาชนขึ้น หลังจากนั้นใน พ.ศ.2544 ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าไทยรักไทย ได้นำแนวคิดนี้มาใช้ในการหาเสียง ผ่านโครงการ “30 บาท รักษาทุกโรค” จนทำให้ได้รับคะแนนเสียงอย่างงท่วมท้น และนำประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) มาให้บริการประชาชน ซึ่งในปัจจุบัน ไม่จำเป็นที่จะต้องพพกบัตรทองแล้ว เนื่องจากสามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนได้นั่นเอง
ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) คุ้มครองอะไรบ้าง!?
1.การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
2.การตรวจ วินิจฉัย การรักษาพยาบาล ตั้งแต่โรคทั่วไป เช่น ไข้หวัด โรคเรื้อรัง โรคเฉพาะทางที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง ไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ วัณโรค เป็นต้น
3.การคลอดบุตร สามารถใช้สิทธิ์ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
4.บริการทันตกรรม เช่น อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคฟันผุ การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม การเคลือบหลุมร่องฟัน ฝ่าฟันคุด ใส่เพดานเทียมเด็กปากแหว่ง เพดานปากโหว่และการทำฟันปลอมฐานพลาสติก เป็นต้น
5.ค่ายาและเวชภัณฑ์
6.ค่าอาหารและค่าคลอดสามัญ
7.การจัดส่งต่อ
8.บริการแพทย์แผนไทย
9.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ให้กับคนพิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่จำเป็นจะต้องได้รับการฟื้นฟู เช่น กายภาพบำบัด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด กิจกรรมบำบัด ฟื้นฟูการได้ยิน ฟื้นฟูการมองเห็น และรับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการได้ตามหลักเกณฑ์ที่ สปสช.กำหนด
ข้อยกเว้นที่ไม่ได้รับการคุ้มครองจากประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)
1.ภาวะการมีบุตรยากหรือการผสมเทียม
2.การศัลยกรรมความงามที่ไม่มีการบ่งชี้จากแพทย์ การแปลงเพศ
3.การดำเนินการใดๆทางการแพทย์ โดยปราศจากการบ่งชี้ทางการแพทย์
4.การดำเนินการรักษาโดยวิธีหรือขั้นตอนที่ยังเป็นการทดลองอยู่
5.อาการเจ็บป่วยที่เป็นผลมาจากอุบัติเหตุทางยานพาหนะ แต่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่บริษัทหรือกองทุนเป็นผู้จ่าย
6.การรักษาหรือขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ติดสารเสพติด ยกเว้นกรณีเฉพาะที่ประกาศจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น
7.ผู้ป่วยในที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลมากกว่า 180 วัน ด้วยโรคเดียวกัน ยกเว้นภาวะแทรกซ้อนที่จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรือมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
8.การปลูกถ่ายอวัยวะขึ้นอยู่กับการประกาศของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น การปลูกถ่ายตับกับเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี หรือปลูกถ่ายได้ เพื่อรักษาโรคไตวาย เรื้อรังในระยะสุดท้าย เป็นต้น
ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ใช้บริการที่โรงพยาบาลใดได้บ้าง
สำหรับคนที่ต้องการใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ต้องเป็นโรงพยาบาลในระดับโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไป หรือสถานพยาบาลที่มี 10 เตียงขึ้นไป
ใครบ้างที่ไม่ได้รับสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)
ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่คนไทยทุกคนต้องได้รับ ยกเว้นบุคคลกลุ่มดังต่อไปนี้
- ข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ (*ยกเว้นผู้เกษียณก่อนกำหนดและไม่รับบำเน็จ บำนาญ)
- ผู้อยู่ในกองทุนประกันสังคม
- เด็กที่ผู้ปกครองได้ทำการซื้อประกันสุขภาพเอาไว้ให้
- บุตรหลานของข้าราชการที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี (*ยกเว้นลูกคนที่ 4 เป็นต้นไป)
อยากรับสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ต้องทำอย่างไร!?
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สูจิบัตร (*กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (*หากที่อยู่ไม่ตรงกับบัตรประชาชน ต้องเตรียมสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่อาศัยมาแสดงด้วย พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน หรือหลักฐานที่แสดงว่าอยู่ในพื้นที่นั้นจริง เช่น สัญญาเช่าที่พัก เป็นต้น)
บทสรุปส่งท้าย : อยากรับสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ดีไหม!?
อยากรับสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เป็นสิทธิ์การรักษาพยาบาลพื้นฐานที่คนไทยควรได้รับ เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพให้ดีมากยิ่งขึ้น ถ้าหากใครเข้าเกณฑ์ในการรับอยากรับสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ก็อย่าลืมศึกษารายละเอียดการใช้สิทธิประโยชน์ให้ดี เผื่อเอาไว้ในกรณีที่เจ็บป่วยจะได้ทราบสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลของตัวเองให้ดีที่สุดกัน...