Contents
- 1 ไขทุกปริศนากวนใจ ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ดีไหม น่าทำหรือเปล่า!?
- 2 ประกันชีวิตสะสมทรัพย์คืออะไร น่าทำไหม มาเจาะลึกรายละเอียดกัน!
- 3 ข้อดีของประกันชีวิตสะสมทรัพย์ คืออะไรกันบ้าง!?
- 4 ข้อด้อยที่ควรทราบเกี่ยวกับประกันชีวิตสะสมทรัพย์
- 5 ระหว่างทำการฝากเงินกับธนาคารและประกันชีวิตสะสมทรัพย์แบบไหนดีกว่ากัน!?
- 6 1.การฝากเงินออมทรัพย์กับธนาคาร
- 7 2.การทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์
- 8 เรื่องน่ารู้ก่อนการตัดสินใจทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์
- 9 1.อยากทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ : สำรวจความต้องการของตัวเอง
- 10 2.อยากทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ : เบี้ยประกัน
- 11 3.อยากทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ : เป้าหมายทางการเงิน
- 12 4.อยากทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ : ความน่าเชื่อถือของบริษัท
- 13 5.อยากทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ : การให้บริการของพนักงาน
- 14 6.อยากทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์: เน้นวัตถุประสงค์
- 15 7.ประกันชีวิตสะสมทรัพย์: หากเน้นการลดหย่อนภาษี
- 16 บทสรุปส่งท้าย : เลือกทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์จากที่ไหนดี!?
ไขทุกปริศนากวนใจ ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ดีไหม น่าทำหรือเปล่า!?
ประกันชีวิตสะสมทรัพย์... อาจเป็นชื่อของประกันที่ไม่ค่อยคุ้นหูของหลายคนนัก เพราะเป็นประกันที่น้อยคนจะให้ความสนใจเนื่องจากส่วนใหญ่จะให้ความใส่ใจกับประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพที่ดูเข้าใจง่าย อีกทั้งยังเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่า แต่ที่จริงแล้วประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เหมาะอย่างมากในการรับสิทธิ์ประกันชีวิตควบคู่ไปกับการออมทรัพย์ในระยะสั้นและระยะยาวอีกด้วย ส่วนประกันชีวิตสะสมทรัพย์จะมีความน่าสนใจอย่างไรกันบ้างนั้น มาติดตามอ่านรายละเอียดที่น่าสนใจกันเลย...
ประกันชีวิตสะสมทรัพย์คืออะไร น่าทำไหม มาเจาะลึกรายละเอียดกัน!
ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ คือ ประกันชีวิตที่เน้นในการ “ออมเงิน” เมื่อทำการส่งเบี้ยประกันตามระยะเวลาที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ ทางบริษัทประกันชีวิตก็จะจ่ายเงินคืนให้โดยอาจเป็นการจ่ายก้อนเดียวหรือเงินคืนตลอดสัญญา นอกจากนี้ถ้าหากผู้ทำประกันเกิดเสียชีวิตในระหว่างที่ยังส่งเบี้ยกรมธรรม์ ญาติสนิทที่ได้รับการระบุชื่อเอาไว้เป็นผู้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับเงินก้อนจาก “จำนวนเงินเอาประกัน” ตามที่ระบุเอาไว้ได้อีกด้วย นอกจากนี้ผู้ทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ก็จะได้รับการคุ้มครองในระหว่างที่ส่งเบี้ยประกันอีกด้วย เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวกันเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ประกันสะสมทรัพย์ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการออมเงินเป็นระยะเวลายาวนานจนเกือบทั้งชีวิต เพราะผู้ที่ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ สามารถที่จะทำการออมเงินได้ว่ากี่ปี เช่น ออมระยะสั้นเป็นเวลา 5 ปี หรืออมระยะยาวเป็นเวลา 20 ปี เป็นต้น
ข้อดีของประกันชีวิตสะสมทรัพย์ คืออะไรกันบ้าง!?
- ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ได้รับผลตอบแทนที่แน่นอน ปราศจากความเสี่ยง
- คุ้มครองชีวิตของผู้ประกัน
- สร้างความมั่นคงให้กับญาติพี่น้องและบุตรหลาย (*กรณีผู้ส่งเบี้ยประกันเสียชีวิตในระหว่างการส่งกรมธรรม์)
- เมื่อส่งดอกเบี้ยครบตามอายุสัญญา มีเงินก้อนสำรองไว้ใช้ในอนาคต
- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 1 แสนบาท (*ลดหย่อนได้ตามจำนวนปีที่ทำการชำระเบี้ยประกัน)
- ไม่เสียภาษีเหมือนดอกเบี้ยบัญชีธนาคารสะสมทรัพย์
- ช่วยสร้างวินัยด้านการออม เพราะจะได้รับเงินก้อนใหญ่หลังจากที่ครบกำหนดสัญญา
- ช่วยทำมีเงินก้อนไว้ใช้ในอนาคต
ข้อด้อยที่ควรทราบเกี่ยวกับประกันชีวิตสะสมทรัพย์
- ประกันชีวิตสะสมทรัพย์สภาพคล่องทางการเงินน้อยกว่าบัญชีสะสมทรัพย์ เพราะไม่สามารถถอนออกมาใช้จ่ายได้
- ทุนประกันไม่สูง หากเปรียบเทียบกับประกันชีวิตอื่น
- ผลตอบแทนของประกันชีวิตสะสมทรัพย์ไม่สูงมาก หากเทียบกับการนำไปลงทุนกับ หุ้นกองทุน หรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ระหว่างทำการฝากเงินกับธนาคารและประกันชีวิตสะสมทรัพย์แบบไหนดีกว่ากัน!?
1.การฝากเงินออมทรัพย์กับธนาคาร
การฝากเงินกับธนาคารจะมีความยืดหยุ่นสูง สามารถทำการถอนเงินออกมาใช้จ่ายเมื่อไหร้ก็ได้ อย่างไรก็ตามอัตราของดอกเบี้ยที่ได้รับจะไม่สูงนัก
2.การทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์
การทำประกันออมทรัพย์ สามารถทำการเลือกระยะเบี้ยและผลประโยชน์ที่เหมาะสมกับตัวเองได้เป็นอย่างดีมากกว่า นอกจากนี้ยังช่วยในการคุ้มครองชีวิต ช่วยสร้างวินัยในการออมเงินเพื่อรับเงินก้อนใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
เรื่องน่ารู้ก่อนการตัดสินใจทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์
ก่อนที่จะทำการตัดสินใจเลือกทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ มีข้อแนะนำที่ควรทำการสำรวจตัวเองอย่างถี่ถ้วนก่อน เพื่อให้การตัดสินใจประกันชีวิตสะสมทรัพย์กลายเป็นเรื่องที่มีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ดังต่อไปนี้
1.อยากทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ : สำรวจความต้องการของตัวเอง
สำรวจตัวเองก่อนว่าประกันชีวิตสะสมทรัพย์เหมาะกับตัวเองหรือไม่ เพราะประกันชีวิตสะสมทรัพย์เหมาะกับคนที่ต้องการรับการคุ้มครองชีวิตสูงมากกว่าการสะสมทรัพย์ แต่ถ้าหากจุดมุ่งหมายเป็นเรื่องของผลกำไร ขอแนะนำว่าให้เลือกนำเงินไปลงทุนในกองทุนหรือธุรกิจอื่นจะให้ผลการตอบแทนที่ดีกว่า
2.อยากทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ : เบี้ยประกัน
สำรวจตัวเองก่อนว่ามีความสามารถเพียงพอในการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตสะสมทรัพย์หรือเปล่า!? สำหรับความเหมาะสมของเบี้ยประกันนั้น ไม่ควรเกิน 10% ของรายได้ / ปี ดังนั้น ควรให้แน่ใจว่าไม่มีหนี้สินอื่นที่จะทำให้ไม่สามารถจ่ายเบี้ยประกันชีวิตสะสมทรัพย์ได้อย่างเหมาะสมด้วย ไม่เช่นนั้น อาจจะไม่สามารถทำการส่งเบี้ยประกันชีวิตสะสมทรัพย์ได้จนจบสัญญานั่นเอง
3.อยากทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ : เป้าหมายทางการเงิน
สำรวจตัวเองก่อนว่าต้องการได้รับการคุ้มครองจากประกันชีวิตสะสมทรัพย์ระยะสั้นและระยะยาว เช่น เลือกการทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ระยะสั้นระยะเวลา 5 ปี หรือ 10 ปี เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายลงทุนในด้านต่างๆ หรืออาจวางแผนทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ 20 ปี เพื่อนำเงินมาใช้หลังจากที่เกษียณ เป็นต้น การสำรวจความต้องการของตัวเองดังกล่าวจะช่วยในการวางแผนได้เป็นอย่างดี เลยทีเดียว
4.อยากทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ : ความน่าเชื่อถือของบริษัท
ควรทำการตรวจสอบความน่าเชื่อถือ รวมไปถึงความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยที่กำลังให้ความสนใจในเรื่องของประกันชีวิตสะสมทรัพย์ว่ามีมากน้อยเพียงใด เพราะถึงแม้ว่าบริษัทประกันภัยจะให้ผลตอบแทนเป็นจำนวนมาก แต่เป็นบริษัทขนาดเล็กที่ไม่มีความมั่นคงก็ไม่ควรทำเป็นอันขาด เนื่องจากประกันชีวิตสะสมทรัพย์ เป็นการทำกรมธรรม์เพื่อรับผลการตอบแทนในระยะยาว ดังนั้น ควรเลือกบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ที่ไว้ใจได้จะเป็นสิ่งที่ดีกว่านั่นเอง
5.อยากทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ : การให้บริการของพนักงาน
ควรทำการสำรวจรีวิวก่อนว่าพนักงานของบริษัทประกันภัย ที่กำลังให้ความสนใจอยู่นั้นมีการให้บริการเป็นอย่างไรทั้งในส่วนของบริการทำประกันภัย และบริการหลังการขายเช่น สามารถตอบข้อซักถามสงสัยได้อย่างเหมาะสมหรือเปล่า!? เคลมได้รวดเร็วไม่เรื่องมากจุกจิกหรือไม่!? เป็นต้น โดยสามารถทำการสำรวจการให้บริการของพนักงานเหล่านี้ได้จากความพึงพอใจโดยรีวิวของผู้ใช้งานจริงจากเว็บไซต์ต่างๆ หรือ Pantip เป็นต้น
6.อยากทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์: เน้นวัตถุประสงค์
ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ มีวัตถุประสงค์ในการ “คุ้มครองชีวิต” และการ “ออมเงิน” ถ้าหากเลือกประกันชีวิตสะสมทรัพย์แบบคุ้มครองชีวิตหรือออมเงินมากเป็นพิเศษ ให้ทำการตรวจสอบผลตอบแทนของเงินเอาประกันว่าเน้นไปที่แบบใดมากกว่า
7.ประกันชีวิตสะสมทรัพย์: หากเน้นการลดหย่อนภาษี
โดยทั่วไปแล้วประกันชีวิตสะสมทรัพย์ สามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท สำหรับกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป และมีเงินรายปีไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันรายปีและยิ่งเสียภาษีในฐานที่สูงมากก็จะได้รับเงินคืนมากกว่านั่นเอง
บทสรุปส่งท้าย : เลือกทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์จากที่ไหนดี!?
ประกันชีวิตสะสมทรัพย์... เป็นกรมธรรม์ที่ดีเป็นอย่างมาก แต่ถ้าหากใครอยากที่จะเลือกประกันชีวิตสะสมทรัพย์ให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด โดยควรทำการเลือกประกันชีวิตสะสมทรัพย์โดยอ้างอิงจากตัวเลือกเล็กน้อยที่ควรให้ความใส่ใจ ดังต่อไปนี้
- ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ต้องจ่ายดอกเบี้ยประกันในระยะสั้น หรือระยะยาว เป็นเวลานานกี่ปี!?
- ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ต้องการรับเงินคืนในระหว่างปีหรือไม่!?
- ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ต้องการได้รับผลตอบแทนคืนเท่าไหร่เมื่อจบสัญญา!?
ขอเพียงแค่ทำการเลือกประกันชีวิตสะสมทรัพย์ที่น่าสนใจจากข้อมูลอ้างอิงในข้างต้น รับรองว่าก็จะสามารถเลือกประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ได้อย่างเหมาะสมกับตัวเอง โดยปราศจากความกังวลได้เป็นอย่างดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน...