Contents
- 1 รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร?
- 2 รีไฟแนนซ์บ้านดีไหม ? 4 ข้อควรรู้ก่อนทำการรีไฟแนนซ์บ้าน
- 2.1 ●ข้อควรรู้ข้อที่ 1 รีไฟแนนซ์บ้านดีไหม ? : รีไฟแนนซ์บ้านไม่ได้ทำให้ดอกเบี้ยหายไป
- 2.2 ●ข้อควรรู้ข้อที่ 2 รีไฟแนนซ์บ้านดีไหม ? : การรีไฟแนนซ์บ้านไม่มีการพักชำระหนี้
- 2.3 ●ข้อควรรู้ข้อที่ 3 รีไฟแนนซ์บ้านดีไหม ? : รีไฟแนนซ์ไม่จำเป็นต้องทำทุกๆ 3 ปี
- 2.4 ●ข้อควรรู้ข้อที่ 4 รีไฟแนนซ์บ้านดีไหม ? : ค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ ที่มากับการรีไฟแนนซ์บ้าน
- 3 บทส่งท้ายกับผู้เขียน : รีไฟแนนซ์บ้านดีหรือไม่ดีดูจากอะไร บทความนี้มีคำตอบ!
รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร?
การรีไฟแนนซ์บ้านคือการขอสินเชื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัยกับทางสถาบันทางการเงินใหม่เพื่อนำไปชำระเงินกู้เก่าที่มีอยู่กับทางสถาบันทางการเงินเดิมแล้ว ซึ่งผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกธนาคารได้เองโดยเปรียบเทียบจากอัตราดอกเบี้ยที่ทางธนาคารให้ว่าธนาคารใดให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่ากัน
และโดยส่วนมากแล้วทางสถาบันทางการเงินใหม่ที่อาจเป็นตัวเลือกของผู้ที่ต้องการกู้ก็มักมีเงื่อนไขการผ่อนชำระที่ดีกว่าสถาบันทางการเงินเดิมมาดึงดูดผู้ต้องการกู้ เพราะฉะนั้นเพื่อนๆ คนไหนที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านก็ควรตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ และนำมาเปรียบเทียบกันให้ดีค่ะ
รีไฟแนนซ์บ้านดีไหม ? 4 ข้อควรรู้ก่อนทำการรีไฟแนนซ์บ้าน
●ข้อควรรู้ข้อที่ 1 รีไฟแนนซ์บ้านดีไหม ? : รีไฟแนนซ์บ้านไม่ได้ทำให้ดอกเบี้ยหายไป
การรีไฟแนนซ์บ้านนั้นไม่ได้เป็นการลบดอกเบี้ยให้หมดไปเพื่อลดภาระทางการเงิน แต่เป็นการทำให้อัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระแต่ละงวดลดลง เช่น หากปกติต้องเสียอัตราดอกเบี้ยที่ 118% แต่เมื่อทำการรีไฟแนนซ์บ้านแล้ว อาจจะเสียอัตราดอกเบี้ยที่ 80% เป็นต้น
●ข้อควรรู้ข้อที่ 2 รีไฟแนนซ์บ้านดีไหม ? : การรีไฟแนนซ์บ้านไม่มีการพักชำระหนี้
เมื่อทำการรีไฟแนนซ์บ้านแล้วจะต้องผ่อนชำระค่างวดต่อตามปกติ ไม่ได้มีสิทธิประโยชน์ใดๆ เพิ่มเติมค่ะ ในหัวข้อนี้เรามาดูขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้านโดยย่อเพื่อประกอบความเข้าใจกันดีกว่าค่ะ
การขอรีไฟแนนซ์บ้านทำยังไง มีขั้นตอนอะไรบ้าง?
ในการรีไฟแนนซ์บ้านมีขั้นตอนโดยสรุปคือ ติดต่อทางธนาคารเดิมให้สรุปยอดหนี้สินเชื่อบ้านแล้วนำไปยื่นขอรีไฟแนนซ์กับทางธนาคารใหม่ เมื่ออนุมัติผ่านต้องติดต่อกับทางธนาคารเก่าเพื่อนำเอกสารไปไถ่ถอนบ้านจากสินเชื่อเดิม
จากนั้นจึงติดต่อกับทางธนาคารใหม่เพื่อทำสัญญาใหม่และนัดแนะทั้งสองธนาคารมาชำระหนี้ภายในวันเดียวกัน แล้วจึงไปยังสำนักงานที่ดินเพื่อทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์และมอบโฉนดให้กับธนาคารใหม่เป็นอันเสร็จเรียบร้อยและจะเห็นได้ว่าไม่มีขั้นตอนของการพักชำระหนี้เลยค่ะ
●ข้อควรรู้ข้อที่ 3 รีไฟแนนซ์บ้านดีไหม ? : รีไฟแนนซ์ไม่จำเป็นต้องทำทุกๆ 3 ปี
หลายๆ คนอาจทราบอยู่แล้วว่าการรีไฟแนนซ์บ้านสามารถทำได้ทุกๆ 3 ปี และอาจคิดว่าก็ทำทุก 3 ปีไปเลยดอกเบี้ยจะได้ถูกลง แต่อันที่จริงไม่ใช่เลยค่ะ ในการทำรีไฟแนนซ์บ้านนั้นไม่จำเป็นต้องทำทุก 3 ปี แต่ให้ดูในส่วนของดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขอื่นๆ ของทางธนาคารว่าเหมาะสมต่อการรีไฟแนนซ์แค่ไหนค่ะ
●ข้อควรรู้ข้อที่ 4 รีไฟแนนซ์บ้านดีไหม ? : ค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ ที่มากับการรีไฟแนนซ์บ้าน
ในการรีไฟแนนซ์บ้านนั้นยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติมด้วยจึงควรตรวจสอบให้ดีว่าคุ้มค่าหรือไม่ก่อนทำรีไฟแนนซ์บ้าน โดยค่าใช้จ่ายอื่นๆ มีดังต่อไปนี้
1 ค่าเบี้ยปรับการไถ่ถอนก่อนกำหนด
หากรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนดจะเสียค่าปรับประมาณ 0-3% ของวงเงินกู้เดิม ซึ่งส่วนใหญ่มักกำหนดไว้ที่ 3 ปี และหากรีไฟแนนซ์ไปก่อนกำหนดโดยที่ดอกเบี้ยไม่ได้แพงจนเกินไปก็จะทำให้ไม่คุ้มค่ากับการรีไฟแนนซ์
2 ค่าธรรมเนียมการจอง
คิดเป็นจำนวนประมาณ 1% ของวงเงินกู้ใหม่ แต่จะไม่ต้องจ่ายหากรีไฟแนนซ์ที่สถาบันทางการเงินที่เดิม
3 ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน
คิดเป็นจำนวนประมาณ 0.25%-2% หรือคิดเป็นจำนวนประมาณ 1,500-10,000 บาท ขึ้นอยู่กับสถาบันทางการเงินแต่ละแห่งแต่จะไม่ต้องจ่ายหากรีไฟแนนซ์ที่สถาบันทางการเงินที่เดิม
4 ค่าธรรมเนียมการปล่อยกู้
คิดเป็นจำนวนประมาณ 0%-3% ของวงเงินกู้ใหม่ แต่บางสถาบันทางการเงินก็ไม่คิดค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จึงต้องตรวจสอบให้รอบคอบ
5 ค่าอากรแสตมป์
คิดเป็นจำนวนประมาณ 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่และคิดเท่ากันทุกสถาบันทางการเงิน
6 ค่าประกันอัคคีภัย
ไม่ว่าจะรีไฟแนนซ์ที่สถาบันทางการเงินเก่าหรือใหม่ก็จะต้องเสียค่าประกันอัคคีภัยโดยแต่ละสถาบันทางการเงินจะมีอัตราค่าประกันที่ไม่เท่ากัน
ซึ่งทั้ง 6 ข้อดังกล่าวเป็นปัจจัยประกอบที่ควรตรวจสอบให้รอบคอบว่าการรีไฟแนนซ์ของเพื่อนๆ นั้นคุ้มค่าหรือไม่ หากคำนวณออกมาแล้วคุ้มค่าก็สามารถทำการรีไฟแนนซ์ได้โดยไม่ต้องลังเลค่ะ!
บทส่งท้ายกับผู้เขียน : รีไฟแนนซ์บ้านดีหรือไม่ดีดูจากอะไร บทความนี้มีคำตอบ!
แม้ว่าการรีไฟแนนซ์บ้านจะทำให้ลดอัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระลงและยืดเวลาการชำระออกไปเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายหรือสภาพคล่องทางการเงินก็จริง แต่ยังมีปัจจัยที่ต้องคิด คำนวณอยู่เพราะการรีไฟแนนซ์บ้านอาจไม่ได้คุ้มค่าทุกช่วงเวลา หากเพื่อนๆ ตรวจสอบข้อควรรู้ทั้ง 4 ข้อและพบว่าการรีไฟแนนซ์นั้นคุ้มค่าก็อย่ารอช้า รีบรีไฟแนนซ์บ้านได้เลย!