- ผู้ประกันตนมาตรา 33 คำนวณจาก 15,000 บาท / เดือน x 5% = 750 บาท / เดือน
- ผู้ประกันตนมาตรา 39 คำนวณจาก 4,800 บาท (เท่ากันทุกคน) x 9% = 432 บาท / เดือน
- ผู้ประกันตนมาตรา 40 อัตราตามแผนที่เลือกจ่าย 70 / 100 และ 300 บาท /เดือน (*รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองตามแผนที่จ่าย)
Contents
ใกล้ถึงสิ้นเดือนผู้ประกันมาตรา 33 39 และ 40 ต้องจ่ายค่าประกันสังคมคนละเท่าไหร่กันนะ?
เมื่อถึงเวลาสิ้นเดือน หนึ่งในหน้าที่ของผู้ประกันมาตรา 33 39 และ 40 คือการ “จ่ายค่าประกันสังคม” เพื่อนำเงินไปสมทบกับกองทุนกระจายความเสี่ยงของผู้ประกันตนตามสิทธิของตัวเองต่อไป แต่เชื่อว่าหลายคนคงอยากที่จะทราบว่าจำนวนของค่าประกันสังคมที่ต้องจ่ายให้กับประกันสังคมนั้นคือจำนวนเท่าไหร่กันแน่
ถ้าหากใครกำลังหาข้อมูลในประเด็นนี้กันอยู่ ขอแนะนำให้อ่านบทความนี้ให้จบ รับรองว่าจะมีคำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับค่าประกันสังคมมาฝากกันอย่างแน่นอน
ผู้ประกันตนคือใคร ต้องจ่ายค่าประกันสังคมเท่าไหร่?
เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับการจ่ายค่าประกันสังคมอย่างเหมาะสม ก่อนอื่นควรมาทำความรู้จักกับเหล่าผู้ประกันตนทั้งสามมาตรากันก่อนว่าคืออะไร และมีหลักการในการจ่ายค่าประกันสังคมที่มีความแตกต่างกันอย่างไรกันบ้าง
- ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ บุคคลที่ทำงานกับนายจ้าง เป็นพนักงานประจำหรือทำงานในบริษัทที่ได้รับเงินเดือน เงินเดือนส่วนหนึ่งของทุกเดือนจะถูกหักนำไปจ่ายค่าประกันสังคมและนายจ้างช่วยสมทบอีกส่วนหนึ่ง
- ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน แต่ได้ว่างงานหรือทำการลาออก ไม่เกิน 6 เดือน เคยส่งเงินสมทบค่าประกันสังคมเป็นเวลา 12 เดือนขึ้นไป และทำการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 อีกครั้ง เพื่อทำการส่งเงินสมทบด้วยตัวเอง
- ผู้ประกันตนมาตรา 40 บุคคลที่มีอาชีพอิสระ อายุระหว่าง 15-60 ปี บริบูรณ์ ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามทั้งสองมาตราในข้างต้น ไม่ได้เป็นข้าราชการหรือพนักงานของรัฐวิสาหกิจ ทำการสมัครและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมด้วยตัวเอง
ตารางสรุปผู้ประกันมาตรา 33 39 และ 40 ต้องจ่ายประกันสังคมคนละเท่าไหร่?
เพื่อให้สามารถเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับค่าประกันสังคมของผู้ประกันมาตรา 33 39 และ 40 ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผู้เขียนขอทำการสรุปจำนวนของค่าประกันสังคมที่ต้องจ่ายเป็นตารางดังต่อไปนี้
ผู้ประกันตน | เงินเดือน / รายได้ | จำนวนเงินค่าประกันสังคม (สูงสุด) |
มาตรา 33 | 15,000 บาท / เดือน x 5% | 750 บาท / เดือน |
มาตรา 39 | 4,800 บาท (เท่ากันทุกคน) x 9% | 432 บาท |
มาตรา 40 | อัตราตามแผนที่เลือกจ่าย (*รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองตามแผนที่จ่าย) | แผนที่ 1 จ่าย 70 บาท / เดือน
แผนที่ 2 จ่าย 100 บาท / เดือน แผนที่ 3 จ่าย 300 บาท / เดือน |
ลดเงินสมทบค่าประกันสังคมผู้ประกันมาตรา 33 39 และ 40 เพื่อช่วยเหลือโควิด-19 ระหว่างเดือน พ.ค. – ก.ค. 2565
คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบในการลดอัตราส่งเงินสมทบของผู้ประกันมาตรา 33 39 และ 40 ในเดือน พ.ค. – ก.ค. 2565 เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื่อไวรัสโควิด – 19 โดยมีรายละเอียดที่ควรทราบดังต่อไปนี้
ผู้ประกันตน | เงินสมทบเดิม | เงินสมทบใหม่ |
มาตรา 33 | 750 บาท / เดือน | 150 บาท / เดือน |
มาตรา 39 | 432 บาท / เดือน | 91.2 บาท |
มาตรา 40 | แผนที่ 1 จ่าย 70 บาท / เดือน
แผนที่ 2 จ่าย 100 บาท / เดือน แผนที่ 3 ต่าย 300 บาท / เดือน |
แผนที่ 1 จ่าย 42 บาท / เดือน
แผนที่ 2 จ่าย 60 บาท / เดือน แผนที่ 3 จ่าย 180 บาท / เดือน |
ส่งท้ายก่อนจาก# ค่าประกันสังคมต้องจ่ายเท่าไหร่ หวังว่าบทความชิ้นนี้จะให้คำตอบที่ดี
หลังจากที่ได้ทราบเกี่ยวกับจำนวนของค่าประกันสังคมที่ต้องจ่ายของผู้ประกันมาตรา 33 39 และ 40 กันไปแล้วในตอนต้น เชื่อว่าตอนนี้หลาย ๆ คนก็คงจะมองเห็นภาพรวมแล้วว่าการประกันตนนั้น ถึงแม้ว่าจะเสียค่าเงินสมทบที่บางคนอาจมองดูว่ามาก แต่ที่จริงแล้วมันก็เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อแลกมากับความคุ้มครองและยังได้รับคืนมาเมื่อเกษียณจากการทำงานในอนาคตอีกด้วย การสมัครและจ่ายค่าประกันสังคมจึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง