- กองทุนประกันสังคม มีหน้าที่ช่วยเหลือสมาชิก (ผู้ประกันตน) ที่มีรายได้และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน
- ผู้ประกันตนมีทั้งหมด 3 ประเภทคือ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ทำงานกับนายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 39 อดีตผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จ่ายค่าประกันตนต่อด้วยตัวเองและผู้ประกันตนมาตรา 40 สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ
- ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน ตามอัตราที่แตกต่างกัน ได้แก่ มาตรา 33 = 750 บาท มาตรา 39 = 432 บาทและมาตรา 40 เลือกจ่าย 70 100 และ 300 บาท (*รับความคุ้มครองแตกต่างกัน)
- กองทุนประกันสังคมให้ความช่วยเหลือ 7 ด้าน ได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตรและว่างงาน
Contents
4 ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับประกันสังคม ที่ผู้ประกันตนทุกคนควรรู้
“ประกันสังคม” เชื่อว่าคงจะเป็นชื่อที่คุ้นหูกันดีของหลาย ๆ คน เนื่องจากเป็นสิทธิพึงมีของผู้ประกันตนที่มีรายได้และส่งเงินสมทบเข้ากับกองทุน แลกมาซึ่งสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ประกันตนเข้าใจเกี่ยวกับประกันสังคมมากยิ่งขึ้น บทความนี้จึงได้ทำการสรุปสาระน่ารู้ 10 ประเด็นมาฝากกัน ส่วนจะมีเรื่องอะไรกันบ้างนั้น มาทำความรู้จักกันเลย
1.กองทุนประกันสังคมคืออะไร
กองทุนประกันสังคม คือ กองทุนที่มีหน้าที่ช่วยเป็นหลักประกันในการดำรงชีวิตของกลุ่มสมาชิกที่มีรายได้และได้ทำการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อเป็นการช่วยกันเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากอาการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน โดยกองทุนประกันสังคมจะเข้ามาช่วยสนับสนุนในการรักษาพยาบาลและมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง
2.ผู้ประกันตนของกองทุนประกันสังคมคือใคร
ผู้ประกันตน คือ ผู้มีรายได้ที่ทำการจ่ายเงินสมทบให้กับกองทุนประกันสังคมเป็นประจำทุกเดือน เพื่อรับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองในด้านต่าง ๆ สำหรับผู้ประกันตนสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
ผู้ประกันตนมาตรา 33
ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ บุคคลที่ทำงานกับนายจ้าง เป็นพนักงานประจำหรือทำงานในบริษัทที่ได้รับเงินเดือน เงินเดือนส่วนหนึ่งของทุกเดือนจะถูกหักนำไปจ่ายค่าประกันสังคมและนายจ้างช่วยสมทบอีกส่วนหนึ่ง
ผู้ประกันตนมาตรา 39
ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน แต่ได้ว่างงานหรือทำการลาออก ไม่เกิน 6 เดือน เคยส่งเงินสมทบค่าประกันสังคมเป็นเวลา 12 เดือนขึ้นไป และทำการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 อีกครั้ง เพื่อทำการส่งเงินสมทบด้วยตัวเอง
ผู้ประกันตนมาตรา 40
ผู้ประกันตนมาตรา 40 บุคคลที่มีอาชีพอิสระ อายุระหว่าง 15-60 ปี บริบูรณ์ ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามทั้งสองมาตราในข้างต้น ไม่ได้เป็นข้าราชการหรือพนักงานของรัฐวิสาหกิจ ทำการสมัครและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมด้วยตัวเอง
3.ผู้ประกันตนต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมเท่าไหร่
ผู้ประกันตน | เงินเดือน / รายได้ | จำนวนเงินค่าประกันสังคม (สูงสุด) |
มาตรา 33 | 15,000 บาท / เดือน x 5% | 750 บาท / เดือน |
มาตรา 39 | 4,800 บาท (เท่ากันทุกคน) x 9% | 432 บาท |
มาตรา 40 | อัตราตามแผนที่เลือกจ่าย (*รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองตามแผนที่จ่าย) | แผนที่ 1 จ่าย 70 บาท / เดือน
แผนที่ 2 จ่าย 100 บาท / เดือน แผนที่ 3 จ่าย 300 บาท / เดือน |
4.ประกันสังคมให้ความคุ้มครองช่วยเหลือผู้ประกันตนด้านใดบ้าง
เมื่อผู้ประกันตนทำการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมตามระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ ผู้ประกันตนก็จะได้รับการดูแลคุ้มครองดังต่อไปนี้
- กรณีเจ็บป่วย เจ็บป่วยปกติ / ประสบอุบัติเหตุหรืออาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต และค่าทันตกรรม
- กรณีคลอดบุตร ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร
- กรณีทุพพลภาพ เงินทดแทนการขาดรายได้ / ค่าบริการทางการแพทย์
- กรณีเสียชีวิต จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน รับเงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน และค่าทำศพ 50,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบ 120 เดือนขึ้นไป นับเงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน พร้อมค่าทำศพ 50,000 บาท
- กรณีชราภาพ รับเงินบำนาญชราภาพ หรือเงินบำเหน็จชราภาพ
- กรณีสงเคราะห์บุตร รับเงินสงเคราะห์บุตรคนละ 800 บาท / เดือน (บุตรชอบโดยกฎหมายอายุไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์ ครั้งละไม่เกิน 3 คน)
- กรณีว่างงาน รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 70% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 200 วัน
ส่งท้ายก่อนจาก #ประกันสังคม ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม
จากข้อมูลในข้างต้นจะเห็นได้ว่าประกันสังคม ถือว่ามีสิทธิประโยชน์มากมายที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างมาก ถ้าหากใครกำลังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจว่าควรทำประกันสังคมหรือเปล่า ขอแนะนำว่าอย่ามัวรอช้าอยู่เลย เพราะยิ่งจ่ายเงินสมทบให้กับกองทุนประกันสังคมมากเท่าไหร่ สิทธิประโยชน์ที่ได้รับก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เพราะอย่างนั้นอย่ามัวรอให้เสียสิทธิอยู่จะดีกว่า