Contents
- 1 บัตรกดเงินสด A
- 2 ไม่มีเงิน เงินไม่พอใช้ ต้องยืมเงินจากแหล่งไหนดี? บทความชิ้นนี้มีคำตอบ
- 2.1 หากเงินไม่พอใช้ควรทำอย่างไร?
- 2.2 เงินไม่พอใช้ ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
- 2.3 เงินไม่พอใช้ แนะนำให้หารายได้เสริม
- 2.4 เงินไม่พอใช้ แนะนำให้ยืมเงินจากแหล่งทุน
- 2.5 การยืมเงิน คืออะไร?
- 2.6 เมื่อไหร่ที่ควรยืมเงิน?
- 2.7 4 สิ่งที่ควรไตร่ตรองให้ดีก่อนตัดสินใจ “ยืมเงิน”
- 2.8 1.ความจำเป็นในการยืมเงิน
- 2.9 2.สำรวจจำนวนเงินที่จำเป็นต้องยืม และอย่ายืมมากจนเกินความจำเป็น
- 2.10 3.คิดให้ดีก่อนว่ามีศักยภาพในการคืนเงินหรือเปล่า?
- 2.11 4.มั่นใจแล้วหรือยังว่าจะคืนเงินที่ยืมไปได้เมื่อไหร่?
- 3 ถ้าหากเงินไม่พอ จำเป็นต้องใช้ด่วนมีแหล่งใดที่เหมาะกับการยืมเงินกันบ้าง?
- 4 เงินเดือนน้อยเพียง 5,000 บาท อยากยืมเงินด่วน ควรเลือกสมัครบัตรกดเงินสดใบไหนดี?
- 5 บทสรุปส่งท้าย :
บัตรกดเงินสด A
รายได้ต่อเดือน 5,000 บาท | |
ดอกเบี้ยต่อปี 17-25% | |
อัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมแบบลดต้นลดดอก | |
ชำระคืนขั้นต่ำ 3% ของยอดค้างชำระ (ไม่น้อยกว่า 100 บาท) | |
จ่ายปิดบัตรได้เมื่อต้องการ |
ไม่มีเงิน เงินไม่พอใช้ ต้องยืมเงินจากแหล่งไหนดี? บทความชิ้นนี้มีคำตอบ
เมื่อถึงยามขัดสน เดือดร้อนเรื่องเงิน หนึ่งในวิธีที่จะได้เงินมาใช้ให้เพียงพอกับความต้องการที่ได้รับความนิยมกันมากที่สุดก็คือ “การยืมเงิน” จากบุคคลใกล้ชิดหรือสถาบันทางการเงิน แต่ก่อนที่จะยืมเงิน มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ควรทราบเอาไว้ เพื่อช่วยให้การยืมเงินเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสมและปราศจากความกังวลมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
หากเงินไม่พอใช้ควรทำอย่างไร?
เมื่อเกิดปัญหา “เงินไม่พอใช้” ขึ้นมา เชื่อว่าคงจะทำให้หลายคนถึงกับต้องกุมขมับ เนื่องจากการใช้ชีวิตจำเป็นจะต้องใช้เงินเป็นแรงขับเคลื่อนการใช้ชีวิตในสังคมเมือง ถ้าหากไม่มีเงินก็เหมือนกับรถยนต์ที่ปราศจากน้ำมันไม่สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ แถมในปัจจุบันยังเป็นยุคที่ข้าวยากหมากแพงทำให้จำเป็นที่จะต้องใช้เงินมากมาย ถ้าหากใครมีเงินไม่พอใช้ขอแนะนำให้ลองทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ เชื่อว่าจะช่วยได้ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน
เงินไม่พอใช้ ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
เมื่อคำนวณแล้วว่าเงินไม่พอใช้จ่ายในแต่ละเดือน สิ่งแรกที่ควรทำก็คือการ “ตัดรายจ่าย” ที่ไม่จำเป็นทิ้งไปเสียก่อน โดยเฉพาะในหมวดหมู่สิ่งของฟุ่มเฟือยที่เน้นความสวยงาม ความสะดวกสบาย ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน หากประหยัดอะไรได้ก็ประหยัด เป็นการช่วยลดรายจ่ายให้น้อยลง ช่วยให้มีเงินเหลือพอใช้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
เงินไม่พอใช้ แนะนำให้หารายได้เสริม
อีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ เมื่อเงินไม่พอใช้ก็ทำการฮึด! ลุกขึ้นมาหาช่องทางสร้างรายได้เสริมเพื่อให้มีรายรับที่เหมาะสมมากขึ้น ถึงแม้ว่าการหารายได้เสริมจะทำให้เสียเวลามากขึ้น เหนื่อยมากขึ้น แต่ก็ช่วยให้มีเงินนำไปใช้จ่ายได้ตามความต้องการของตัวเองได้เป็นอย่างดีอย่างแน่นอน
เงินไม่พอใช้ แนะนำให้ยืมเงินจากแหล่งทุน
ส่วนวิธีสุดท้าย ไม่ค่อยอยากแนะนำให้ทำสักเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นการส่งเสริมให้เกิดหนี้สะสมมากขึ้น แต่ในบางครั้งการยืมเงินก็เหมือนจะเป็นเรื่องที่จำเป็นเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญหน้ากับค่าใช้จ่ายแบบไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นมาอย่างกะทันหัน เช่น ค่าเทอม ค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ในกรณีนี้ การยืมเงินจากแหล่งทุนต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นตัวช่วยทางออกของปัญหาเช่นกัน
การยืมเงิน คืออะไร?
การยืมเงิน หรือ “การกู้ยืมเงิน” เป็นการทำสัญญาขึ้นเมื่อมีคนที่ต้องการใช้เงิน (ผู้กู้) แต่กลับมีเงินไม่เพียงพอไปกู้ยืมจากอีกคน หรือสถาบันการเงิน (ผู้ให้กู้) และมีการตกลงที่จะนำเงินมาใช้คืนภายในระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้
การกู้ยืมเงินดังกล่าวจะสำเร็จ มีผลอย่างสมบูรณ์เมื่อผู้ให้กู้ทำการส่งมอบเงินให้กับผู้กู้ โดยอาจจมีการคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ตามการกู้ยืมเงินจากธนาคารและสถาบันทางการเงินล้วนแต่มีการคิดดอกเบี้ยในอัตราที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับนโยบายของทางสถาบันการเงิน
เมื่อไหร่ที่ควรยืมเงิน?
เมื่อจำเป็นใช้เงินไม่ว่าด้วยวัตถุประสงค์อะไรก็ตาม เช่น ค่าเทอม ค่าเช่าบ้าน ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่มีความจำเป็น ซึ่งอาจเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันไม่ทันตั้งตัวจนทำให้เงินที่สำรองเอาไว้ในกระเป๋าสตางค์ไม่เพียงพอ ช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้เองที่อาจช่วยตัดสินใจให้ทำการยืมเงินจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผ่านพ้นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าอย่างเหมาะสม
4 สิ่งที่ควรไตร่ตรองให้ดีก่อนตัดสินใจ “ยืมเงิน”
ก่อนที่จะตัดสินใจยืมเงินไม่ว่าจากแหล่งใดก็ตาม มีหลายประเด็นที่ควรทราบเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เพื่อให้การยืมเงินเป็นไปได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด ดังต่อไปนี้
1.ความจำเป็นในการยืมเงิน
ก่อนที่จะตัดสินใจยืมเงิน ควรคิดให้ดีก่อนว่า “เหตุผล” ในการยืมเงินคืออะไร? และสิ่งที่ต้องนำเงินไปใช้จ่ายนั้นมีราคาที่สูงมากจนกระทั่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อตัวเองหลังจากที่ทำการยืมเงินไปใช้แล้วหรือไม่? นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงการยืมเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายอย่าง “เกินตัว” เพื่อความสะดวกสบายของตัวเองโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดในอนาคต
2.สำรวจจำนวนเงินที่จำเป็นต้องยืม และอย่ายืมมากจนเกินความจำเป็น
ควรสำรวจตัวเองให้ดีก่อนว่าจำนวนเงินที่ต้องการยืม “เท่าที่จำเป็น” มีจำนวนมากน้อยเพียงใด และควรยืมเฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ควรยืมเผื่อเหลือเผื่อขาดเพราะยิ่งเงินที่ยืมมานั้นมีจำนวนมากเท่าไหร่ ก็หมายความว่า “ดอกเบี้ย” ที่จะต้องจ่ายคืนให้กับผู้ให้ยืมเงินจะต้องมากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
3.คิดให้ดีก่อนว่ามีศักยภาพในการคืนเงินหรือเปล่า?
คนส่วนใหญ่มักจะคิดเพียงแค่วิธีที่จะหาทางยืมเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายเฉพาะหน้าให้ผ่านพ้นไปก่อน แต่ในความเป็นจริงแล้วการคิดเช่นนั้นเป็นเรื่องที่ผิดมหันต์ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ยืมเงินมาก็หมายความว่าจะต้องทำการ “คืนเงินต้นพร้อมกับดอกเบี้ย” ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนว่าตัวเองมีศักยภาพเพียงพอในการคืนเงินที่ยืมแล้วเหล่านั้นหรือเปล่า?
4.มั่นใจแล้วหรือยังว่าจะคืนเงินที่ยืมไปได้เมื่อไหร่?
ควรวางแผนให้ดีก่อนว่าจะสามารถคืนเงินที่ยืมมาให้กับผู้ให้ยืมได้เมื่อไหร่? นานแค่ไหน? เพราะอย่าลืมว่าการยืมเงินนั้นต้องแลกมาด้วยดอกเบี้ย ถ้าปล่อยให้เวลาการยืมยาวนานเท่าไหร่ จำนวนดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายคืนก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน การวางแผนเพื่อคืนเงินที่ยืมมาให้รวดเร็วที่สุดจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก
ถ้าหากเงินไม่พอ จำเป็นต้องใช้ด่วนมีแหล่งใดที่เหมาะกับการยืมเงินกันบ้าง?
สำหรับคนที่มีปัญหาการเงิน มีความต้องการที่จะยืมเงินจากแหล่งทุนต่าง ๆ มีตัวเลือกที่น่าสนใจที่อาจเป็นทางเลือกสำหรับการยืมเงิน ดังต่อไปนี้
1.การยืมเงินจากคนใกล้ตัว
การยืมเงินจากคนใกล้ตัว เพื่อนและญาติ เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากการยืมเงินในลักษณะนี้อาศัย “ความไว้เนื้อเชื่อใจ” เป็นสิ่งค้ำประกันในการยืมเงิน ที่สำคัญคือการยืมเงินส่วนใหญ่ไม่เสียดอกเบี้ย ไม่ต้องทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเรื่องง่ายที่จะขอยืมเงิน
อย่างไรก็ตาม การยืมเงินจากคนใกล้ตัวก็อาจกลายเป็นปัญหาได้หากไม่สามารถคืนเงินให้กับผู้ให้ยืมตามระยะเวลาที่รับปากเอาไว้ ทำให้มีหลายกรณีที่การยืมเงินจากคนใกล้ตัวกลายมาเป็นเรื่องความผิดใจของทั้งสองฝ่าย หากไม่ระมัดระวังให้เพียงพอ อาจลุกลามไปถึงขั้นทำให้ความสัมพันธ์อันดีที่เคยมีมากลายเป็นเรื่องอดีตได้อย่างง่ายดาย
2.การยืมเงินจากแหล่งเงินกู้นอกระบบ
แหล่งเงินกู้นอกระบบ หรือ “หนี้นอกระบบ” เป็นหนึ่งในแหล่งยืมเงินที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากได้เงินในจำนวนที่ต้องการอย่างรวดเร็ว เพียงแค่ทำสัญญาเท่านั้น อีกทั้งยังไม่มีการตรวจสอบประวัติทางการเงินอีกด้วย ทำให้ลูกหนี้จำนวนมากที่ไม่สามารถกู้ยืมเงินในระบบมักเลือกยืมเงินด้วยวิธีนี้
ถึงแม้จะฟังดูสะดวกมาก แต่ก็ต้องแลกมาด้วยอัตรา “ดอกเบี้ยสูง” มากกว่าที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ ทำให้หลายครั้งกว่าที่จะรู้ตัว จำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายคืนก็มากกว่าเงินต้นเสียอีก นอกจากนี้ หลายครั้งการกู้เงินนอกระบบต้องเผชิญหน้ากับการทวงหนี้ด้วยวิธีที่รุนแรง ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้การเลือกยืมเงินจากแหล่งทุนนี้ เป็นสิ่งที่ควรคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะทำการตัดสินใจเพราะอาจจะเป็นการยืมเงินที่ได้ไม่คุ้มเสีย
3.การยืมเงินจากธนาคาร
การยืมเงินจากธนาคาร ถือเป็นช่องทางในการยืมเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ยืมเงินได้รับความคุ้มครองให้จ่ายดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด มีกำหนดระยะเวลาชัดเจนและหากเป็นลูกหนี้ที่ดี ก็เป็นการช่วยเพิ่มประวัติที่ดีของตัวเองในระบบ ทำให้การยืมเงินในครั้งถัดไปเป็นเรื่องง่ายมากขึ้นอีกด้วย รูปแบบของการยืมเงินจากธนาคารมีหลายรูปแบบ อาทิเช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ สินเชื่อบ้านแลกเงิน เป็นต้น
ถึงแม้ว่าจะมีข้อดีมากมาย แต่การยืมเงินจากธนาคารก็ต้องทำตามระเบียบมากมายที่กำหนดไว้ ที่สำคัญคือธนาคารจะมีการเช็กประวัติทางการเงินของผู้ยืมอย่างละเอียด ทำให้การยืมเงินด้วยวิธีนี้ไม่เหมาะกับคนที่มีประวัติทางการเงินที่ไม่ค่อยดีนัก
4.การยืมเงินเงินจากสถาบันการเงิน
ในปัจจุบันมีสถาบันการเงินมากมายที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความต้องการใช้เงินเร่งด่วนยืมเงินได้เช่นกัน โดยรูปแบบของการยืมเงินของสถาบันการเงินเหล่านี้ก็มีหลากหลายให้เลือกตามความต้องการ อาทิเช่น ยืมเงินจากแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ ยืมเงินจากสินเชื่อส่วนบุคคล ยืมเงินจากสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ ยืมเงินจากสินเชื่อบ้านแลกเงิน เป็นต้น
5.ยืมเงินจากบัตรกดเงินสด
การยืมเงินจากบัตรกดเงินสด เป็นหนึ่งในวิธีการยืมเงินเพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วมากที่สุดแบบหนึ่ง ขอเพียงแค่มีบัตรกดเงินสดในมือก็สามารถกดเงินจากตู้ ATM ของสถาบันการเงินหรือธนาคารพันธมิตรเพื่อรับเงินสดตามที่ต้องการนำไปใช้จ่ายได้ในทันที ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ บัตรกดเงินสดยังไม่เสียค่าธรรมเนียมในการกดและหากไม่กดเงินสดออกมาใช้ ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเสียดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมบัตรอีกด้วย อีกทั้งยังใช้เอกสารและฐานเงินเดือนค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการยืมเงินวิธีอื่น จึงไม่น่าแปลกใจนักที่การยืมเงินจากบัตรกดเงินสดจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
ข้อดีของการยืมเงินจากบัตรกดเงินสด?
สำหรับข้อดี เมื่อยืมเงินจากบัตรกดเงินสดสามารถสรุปออกเป็นข้อมูลที่มีความน่าสนใจได้ ดังต่อไปนี้
-
- บัตรกดเงินสด เปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยในยามฉุกเฉินที่ต้องการใช้เงินด่วน ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน
- บัตรกดเงินสด มอบจำนวนเงินที่เพียงพอกับความต้องการ ไม่ว่าจะจำนวนน้อยหรือเงินก้อนใหญ่ก็กดได้ (*ตามวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ)
- บัตรกดเงินสด กดจากตู้ ATM ของสถาบันการเงินและพันธมิตรได้ทุกที่ ตลอด 24 ชั่วโมง
- บัตรกดเงินสด เป็นการยืมเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
- บัตรกดเงินสด ดอกเบี้ยถูกเมื่อเทียบกับการกู้ยืมเงินนอกระบบ
- บัตรกดเงินสด สมัครง่าย ใช้เอกสารน้อย อนุมัติไว และใช้ฐานเงินเดือนน้อยกว่าการยืมเงินประเภทอื่น
- บัตรกดเงินสด เลือกชำระคืน 3-5% โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายคืนทั้งหมดในครั้งเดียว
- บัตรกดเงินสด ไม่มีค่าธรรมเนียมในการเบิกถอนเงินสดล่วงหน้า
- บัตรกดเงินสด ฟรี! ค่ากดเงินสด ไม่เก็บค่ากดเงินสด 3% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เหมือนกับบัตรเครดิตทั่วไป
เงินเดือนน้อยเพียง 5,000 บาท อยากยืมเงินด่วน ควรเลือกสมัครบัตรกดเงินสดใบไหนดี?
บัตรกดเงินสด A money | |
ฐานเงินเดือนเริ่มต้น | 5,000 บาท |
สะสมแต้ม | |
อัตราดอกเบี้ย | 17-25 % |
ช่องทางการสมัคร |
สำหรับผู้ที่ต้องการยืมเงิน โดยเลือกสมัครใช้บัตรกดเงินสด แต่มีเงินเดือนน้อยประมาณ 5,000 บาท มีบัตรกดเงินสดของสถาบันการเงินใดบ้างที่เปิดโอกาสให้ทำการสมัครได้
ถ้าหากใครมีประเด็นเรื่องฐานเงินเดือนกวนใจ แล้วยังไม่ได้ทำการตัดสินใจว่าควรสมัครบัตรกดเงินสดของสถาบันการเงินใดดี ขอแนะนำให้รู้จักกับ “บัตรกดเงินสด A money” ที่เชื่อว่าจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการในการยืมเงินได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ส่วนบัตรกดเงินสด A money จะมีความน่าสนใจอย่างไร น่าสมัครใช้บริการหรือเปล่า? ลองมาติดตามรายละเอียดที่น่าสนใจดังต่อไปนี้กันเลย
บัตรกดเงินสด A money | |
ความรวดเร็วในการสมัคร | สมัครง่าย อนุมัติไว พร้อมรับบัตรในทันที! |
การค้ำประกัน | สมัครง่าย ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน |
ค่าธรรมเนียม | ไม่มีค่าธรรมเนียมในการกดเงินสดจากตู้ ATM ของ A money |
ตู้ ATM | |
วงเงินในการเบิกถอนเงินสด | กดเงินสดที่ตู้ ATM A money สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท/ครั้ง หรือธนบัตรไม่เกิน 25 ใบ หรือตามวงเงินคงเหลือในบัญชี |
อัตราดอกเบี้ย | อัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกตามยอดจริงที่ใช้งาน หากไม่กดไม่เสียค่าบริการ |
ดอกเบี้ย | 17% - 25% ต่อปี |
ถอนขั้นต่ำ | 100 บาท |
วงเงินอนุมัติ | ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ |
ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี | ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีตลอดชีพ |
ชำระคืนขั้นต่ำ | ชำระคืนขั้นต่ำเพียง 3% ของยอดคงค้าง หรือไม่ต่ำกว่า 100 บาท |
บัตรกดเงินสด A money
บัตรกดเงินสด A money เป็นบริการทางการเงินจากบริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน) ด้วยทุนจดทะเบียนถึง 4,000 ล้านบาทระหว่างบริษัท ไอร่า แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ไอฟุล คอร์เปอเรชั่น ผู้ให้บริการธุรกิจการเงินชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น บัตรกดเงินสด A money เป็นบัตรกดเงินสดที่มอบวงเงินสำรองในโอกาสพิเศษหรือยามฉุกเฉินที่ยอดเยี่ยมที่สุด เพราะเป็นบัตรที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้จากการกำหนดฐานเงินเดือนในการสมัครขั้นต่ำเอาไว้เพียง 5,000 บาทเท่านั้น นอกจากนี้ บัตรกดเงินสด A money ยังมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ สามารถติดต่อเพื่อทำการสมัครหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้อย่างง่ายดายอีกด้วย
- สมัครง่าย อนุมัติไว พร้อมรับบัตรในทันที
- รายได้ประจำเพียง 5,000 บาท ก็สมัครได้
- ไม่มีค่าธรรมเนียมในการกดเงินสดจากตู้ ATM ของ A money
- ไม่จำกัดจำนวนครั้งในการกดเงิน (กดเงินได้สูงสุด 25,000 บาท/ครั้ง หรือธนบัตรไม่เกิน 25 ใบ หรือตามวงเงินคงเหลือในบัญชี)
- กดเงินขั้นต่ำเพียง 100 บาท ก็กดได้
- โอนเงินจากบัตรกดเงินสดเข้าบัญชีธนาคารได้โดยทำรายการผ่านแอปพลิเคชัน
- ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก
- สมัครง่าย ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน
ระยะเวลาในการชำระหนี้
วันสรุปยอดบัญชี | วันชำระเงิน |
วันที่ 17 ของเดือน | วันที่ 2 ของเดือน |
**คิดดอกเบี้ยแบบรายวัน
อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
รายการค่าธรรมเนียมประเภทต่าง ๆ | อัตราค่าบริการ / ค่าปรับ (บาท) |
ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใด ๆ | 17 – 25% / ปี |
ค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายจริงและพอสมควรต่อเหตุ | |
ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้แก่หน่วยงานราชการ | |
ค่าอากรแสตมป์ | 1 บาท ทุก ๆ เงินกู้ 2,000 บาท หรือเศษของเงินกู้ 2,000 บาท |
ค่าใช้จ่ายให้แก่บุคคลอื่น หรือหน่วยงานภายนอก | |
ค่าใช้จ่ายในการถอนเงิน | |
ถอนเงินจากตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย / ธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทย | 13 บาท / ครั้ง |
ถอนเงินสดจากเคาน์เตอร์เซอร์วิส | 20 บาท / รายการ |
โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร | ไม่เกิน 12 บาท / รายการ |
ค่าใช้จ่ายในการชำระเงิน | |
ชำระที่จุดบริการชำระ (ขึ้นอยู่กับจุดรับชำระเงินแต่ละแห่งกำหนด) | 10 – 20 บาท / ครั้ง |
ชำระโดยหักผ่านบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ (ขึ้นอยู่กับเขตสำนักหักบัญชี) | 5-30 บาท / ครั้ง |
ชำระผ่านธนาคารกรุงไทย
-ช่องทางเคาน์เตอร์ธนาคาร
-ช่องทาง ATM
-ช่องทางอินเทอร์เน็ต ชำระผ่านบริการชำระบิลข้ามธนาคาร -ช่องทางเคาน์เตอร์ธนาคาร -ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ชำระผ่านโมบาย แอปพลิเคชั่น ค่าตรวจสอบข้อมูลเครดิต -ผลการตรวจสอบ พบข้อมูลบัตรเครดิต -ผลการตรวจสอบ ไม่พบข้อมูลบัตรเครดิต ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ e-KYC (ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล) -ค่าธรรมเนียมทำรายการ สำหรับ API การยืนยันตัวตน -ค่าธรรมเนียมพิสูจน์และยืนยันตัวตนข้ามธนาคารผ่าน NDID Platform -ค่าธรรมเนียมทำรายการแสตมป์ผ่าน ADID Platform |
-15 บาท / รายการ (จำกัดวงเงิน 50,000 บาท ส่วนเกินคิด 0.1% ไม่เกิน (1,000 บาท) - ในเขต 10 บาท / รายการ นอกเขต 20 บาท / รายการ (จำกัดวงเงิน 50,000 บาท ส่วนเกินคิด 0.1% ไม่เกิน 1,000 บาท) - 5 บาท / รายการ
-สูงสุดไม่เกิน 20 บาท / รายการ -สูงสุดไม่เกิน 5 บาท / รายการ สูงสุดไม่เกิน 10 บาท / รายการ
-12 บาท / ครั้ง - 5 บาท / ครั้ง 100 บาท / งวด
-5 บาท / ครั้ง
-200 บาท / ครั้ง
-สูงสุดไม่เกิน 21 บาท / รายการ |
ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนการดำเนินงานของบริษัท | |
ค่าใช้จ่ายในการติดตามถามทวงหนี้ | สูงสุดไม่เกิน 100 บาท / งวด |
ค่าใช้จ่ายกรณีเช็คคืน | ไม่เกิน 200 บาท / ครั้ง |
ค่าออกบัตรใหม่กรณีบัตรหาย / ชำรุด (กรณีใช้บัตรในการเบิกถอน) | 100 บาท / ครั้ง |
ค่าขอใบแจ้งยอดบัญชีของแต่ละงวด (ชุดที่ 2 เป็นต้นไป) | 100 บาท / ครั้ง |
ค่าขอรหัสประจำตัวใหม่ทดแทนรหัสเดิม (กรณีใช้บัตรในการเบิกถอน) | ไม่มี |
ค่าขอตรวจสอบรายการ | 100 บาท / ครั้ง |
ช่องทางติดต่อกับบัตรกดเงินสด A money
ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าสัมพันธ์ | 02-004-5000 |
สถานที่ตั้ง | บริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน) เลขที่ 90 อาคารซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์ ชั้น 33,34 ห้องเลขที่ บี 3301-2, บี 3401-2 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
เวลาทำการ : จ – ศ. 8.30 -17.30 น. |
รีวิวของชาว Pantip ที่เลือกใช้บัตรกดเงินสด A money
ก่อนที่จะทำการตัดสินใจสมัครบัตรกดเงินสด A money ลองมาฟังเสียงรีวิวจากชาว Pantip กันก่อนดีกว่าว่าบัตรใบนี้มีข้อดีที่น่าสนใจอะไรกันบ้าง
อนุมัติได้วงเงินมา 100000 บาทครับ เก็บเอาไว้ใช้บ้างเล็กน้อย เผื่อกรณีฉุกเฉิน
สมัครง่ายผ่านไวครับ ไปสมัครสายๆที่บูธ บ่ายแก่ๆอนุมัติแล้ว ตอนสมัครผมมีสินเชื่อหลายบัตรเหมือนกัน แต่ไม่เคยติดบูโรครับ ได้มา 1.5เท่าของเงิน
ผมได้บัตรมาแล้ว อนุมัติแล้วครับ ทำเรื่องไวดี บัตรเหมือนในรูป ตัวเลขหน้าบัตร เป็นแบบพิมพ์ ไม่ใช่เป็นตัวปั๊ม วงเงินสูงสุด 5 เท่าของเงินเดือน
บทสรุปส่งท้าย :
บัตรกดเงินสด A money | |
ฐานเงินเดือนเริ่มต้น | 5,000 บาท |
สะสมแต้ม | |
อัตราดอกเบี้ย | 17-25 % |
ช่องทางการสมัคร |
การยืมเงินจากแหล่งทุนต่าง ๆ ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินความสามารถจนเกินไป ขอเพียงแค่ทำตามขั้นตอน กฎระเบียบ ข้อบังคับที่ได้ทำการแนะนำไปแล้วในตอนต้น เชื่อว่าสามารถช่วยทำให้การยืมเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายในการฝ่าวิกฤตทางตันและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับตัวเองเป็นไปได้อย่างเหมาะสมมากกว่าเดิมกันได้อย่างแน่นอน...