- กองทุน LTF หรือ Long Term Equity Fund คือ “กองทุนรวมระยะยาว” เน้นการลงทุนกับ “หุ้น” เป็นหลัก ต้องถือครองอย่างน้อย 7 ปี ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของรายได้พึงประเมิน (*สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท)
- **กองทุน LTF ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้แล้ว ตามประกาศในปี 2563
- กองทุน RMF หรือ Retiremant Mutual Fund คือ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมที่เน้นในเรื่องของการ “ออมเงินในระยะยาว” สำหรับใช้จ่ายในตอนที่ทำการเกษียณอายุ ต้องถือครองจนถึงอายุ 55 ปี ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของรายได้พึงประเมิน (*สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท)
Contents
อยากลงทุนพร้อมรับสิทธิลดหย่อนภาษี กองทุนระหว่างกองทุน LTF กับ RMF อันดีกว่ากันในปี 2564 – 2565 บทความนี้มีคำตอบ
สำหรับคนที่มีความต้องการอยากที่จะทำการลงทุนในระยะยาว เชื่อว่าชื่อของกองทุนอย่าง LTF และ RMF ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่รู้จักกัน แต่เมื่อจำเป็นที่จะต้องเลือกว่าควรลงทุนกับกองทุนใดจึงจะสามารถช่วยในการลดหย่อนภาษีได้ดีที่สุดในปี 2564 – 2565 เชื่อว่าคงจะทำให้หลายคนต้องหยุดคิดสักนิดเพื่อมองหากองทุนที่ลดหย่อนภาษีได้อย่างเหมาะสม
ถ้าหากใครกำลังมองหากองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีที่เหมาะกับตัวเอง ลองแวะมาอ่านบทความชิ้นนี้กัน เชื่อว่าจะช่วยให้สามารถเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนรวมเพื่อการลดหย่อนภาษีได้เป็นอย่างดียิ่งขึ้นอย่างแน่นอน...
กองทุน LTF คืออะไร ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ในปี 2564 – 2565?
กองทุน LTF หรือ Long Term Equity Fund คือ “กองทุนรวมระยะยาว” เน้นการลงทุนกับ “หุ้น” เป็นหลัก เป็นการลงทุนที่ช่วยกระตุ้นตลาดหุ้นในระยะยาว เหมาะกับคนที่มีรายได้ประจำปีที่ต้องเสียภาษีและมีความต้องการในการลงทุนแบบระยะยาว โดยมีเงื่อนไขที่ควรทราบดังต่อไปนี้
- ต้องถือครองหน่วยการลงทุนอย่างน้อย 7 ปี
- กรณีที่ขายคืนก่อน 7 ปี ผู้ลงทุนจะต้องชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับของเงินทุนที่ขายคืนไป รวมกับเงินได้พึงชำระภาษีตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร
- ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีในปีนั้น (*ไม่เกิน 500,000 บาท)
กองทุน RMF คืออะไร ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ ในปี 2564 - 2565
กองทุน RMF หรือ Retiremant Mutual Fund คือ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมที่เน้นในเรื่องของการ “ออมเงินในระยะยาว” สำหรับใช้จ่ายในตอนที่ทำการเกษียณอายุ สำหรับกองทุน RMF มีการเปิดให้ทำการซื้อตลอดทั้งปี โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ลงทุนกับสินทรัพย์ได้ทุกประเภท ไม่กำหนดขั้นต่ำในการซื้อ
- ถือครองอย่างน้อย 5 ปี และต้องถือครองจนถึงอายุ 55 ปี
- ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี เว้นว่างได้ไม่เกิน 1 ปี
- ลดหย่อนภาษีได้ในปีที่มีการลงทุน ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินในปีนั้น (*ไม่เกิน 500,000 บาท)
LTF กับ RMF เลือกซื้อกองทุนไหนช่วยลดหย่อนภาษีได้ดีกว่ากันในปี 2564 – 2565
ถ้าหากเปรียบเทียบกันแล้ว ทั้งกองทุน LTF และ RMF ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการ “ลงทุนระยะยาว” เหมือนกันทั้งคู่ เพียงแต่ RMF จำเป็นที่จะต้องถือครองยาวนานมากกว่าจนกว่าจะถึงอายุ 55 ปี ถ้าหากใครมีแผนที่จะลงทุนระยะยาวและไม่มาก ต้องการที่จะนำเงินออกมาใช้บ้างการเลือกกองทุน LTF เป็นทางเลือกที่ดีมากกว่า
ในขณะเดียวกันหากมองในเรื่องของสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีในปี 2564 – 2565 จะเห็นได้ว่าทั้งกองทุน LTF และ RMF สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน เพียงแค่ LTF ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้พึงประเมิน ในขณะที่ RMF ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของรายได้พึงประเมิน แต่มีเกณฑ์กำหนดเอาไว้ว่าจำนวนที่ลดหย่อนได้นั้นต้องไม่เกิน 500,000 บาท แต่สิ่งที่ควรทราบคือกองทุน LTF “ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้แล้ว” โดยมีประกาศตั้งแต่ปี 2563 ดังนั้น หากอยากลดหย่อนภาษี ในรปี 2564-2565 แลบบระยะยาว จำเป็นที่จะต้องพิจารณากองทุนแบบ RMF นั่นเอง
สับเปลี่ยนการลงทุนของ RMF เพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษีในปี 2564 - 2565 ทำได้ไม่ผิดกฎหมาย
สำหรับคนที่ซื้อกองทุน RMFมาแล้วกลับพบว่ามีหลายเหตุผลที่ทำให้กองทุนไม่เป็นไปอย่างที่เคยตั้งใจเอาไว้ก็สามารถทำการ “สับเปลี่ยนกองทุน” (Switching) ในกองทุน RMF ได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขทางภาษี เนื่องจากสับเปลี่ยนกองทุนเป็นการย้ายการลงทุนไม่ได้เป็นการขายกองทุน อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวไม่ว่าจะใน บลจ. เดียวกันหรือระหว่าง บลจ. ก็อาจจะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมในการสับเปลี่ยนกองทุนด้วยเช่นกัน
บทสรุปส่งท้าย : อยากลงทุนระยะยาวเพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษีในปี 2564 – 2565 แนะนำกองทุน RMF
ถ้าหากใครอยากที่ทำการลงทุนแบบระยะยาว เพื่อให้มีเงินใช้สำหรับการเกษียณในอนาคต เชื่อว่ากองทุน RMF อาจเป็นคำตอบที่หลายคนกำลังตามหาอยู่ โดยเฉพาะประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท ที่จะช่วยในการแบ่งเบาภาระทางด้านภาษีให้น้อยลงกว่าเดิมได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว...