การสับเปลี่ยนกองทุน (Switching) คืออะไร?
- การสับเปลี่ยนกองทุน คือ การสับเปลี่ยนการลงทุน RMF หรือ SSF ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาวได้โดยที่ไม่ผิดเงื่อนไขทางภาษี ช่วยจัดการกับกองทุนที่ประสบปัญหาขาดทุนได้ เพราะไม่ถือว่าเป็นการลงทุนใหม่
- การสับเปลี่ยนกองทุน ช่วยให้นักลงทุนย้ายไปยังกองทุนใหม่ที่มีผลประกอบการดีขึ้น ไม่ถือว่าเป็นการลงทุนใหม่ ลดหย่อนภาษีได้และไม่มีค่าธรรมเนียมในการสับเปลี่ยน (บมจ. เดียวกัน)
Contents
กองทุนรวมที่ซื้อเอาไว้ขาดทุนทำยังไงดี? ขายทิ้งดีไหม? บทความนี้มีคำตอบ
“กองทุนรวม” ถือว่าเป็นการลงทุนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการลงทุนที่ง่ายดาย และมีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพที่ช่วยทำหน้าที่ดูแลการลงทุนเพื่อสร้างผลกำไรให้เกิดขึ้นโดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องคอยดูแลด้วยตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกกองทุนรวมจะสามารถสร้างผลกำไรได้สำเร็จ มีหลายกองทุนที่อาจเกิดปัญหาการขาดทุนขึ้น สร้างความไม่สบายใจให้กับนักลงทุนที่ถือครองหน่วยการลงทุนกับกองทุนเหล่านั้นอย่างมาก และหลายคนก็ถึงขนาดต้องการที่จะขายหน่วยลงทุนทิ้งไปเลยทีเดียว แต่ที่จริงแล้วปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ไม่ยาก แถมไม่ผิดเงื่อนไขการเสียและลดหย่อนภาษีด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “การสับเปลี่ยนกองทุน” นั่นเอง
สิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อกองทุนรวมเกิดสภาวะขาดทุน
เมื่อกองทุนรวมที่เลือกทำการลงทุนเกิดปัญหาการขาดทุน มีบางสิ่งที่ควรทำการพิจารณาอย่างละเอียดเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าควรไปต่อกับกองทุนที่กำลังขาดทุนอยู่ หรือสับเปลี่ยนไปยังกองทุนอื่นเพื่อสร้างผลกำไรให้มากขึ้นกว่าเดิม ดังต่อไปนี้
กองทุนขาดทุนเกิดจาก : ระยะเวลาของกองทุน
หากเป็นกองทุนแบบไม่จ่ายเงินปันผลส่วนใหญ่แล้วในช่วงระยะสั้นมักที่จะเกิดสภาวะขาดทุน ทำให้ไม่สามารถสร้างผลกำไรให้กับนักลงทุนได้ แต่ที่จริงแล้วเมื่อระยะเวลาผ่านไป 3-5 ปี กองทุนระยะยาวส่วนใหญ่มักที่จะประสบผลสำเร็จในการสร้างผลตอบแทนที่ดีเช่นกัน
กองทุนขาดทุนเกิดจาก : สินทรัพย์ที่ลงทุน
ไม่มีสินทรัพย์ประเภทใดที่ทำการลงทุนแล้วจะสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนตลอดกาล หากเกิดบางวิกฤตขึ้นอาจทำให้มูลค่าของสินทรัพย์เพิ่มขึ้นหรือลดลง เป็นการปรับตัวตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ หากผู้จัดการกองทุนมีความสามารถมากพอก็จะสามารถประคองสถานการณ์เอาไว้ และกลับมาสร้างผลตอบแทนในภายหลังได้เช่นกัน
กองทุนขาดทุนเกิดจาก : การบริหารงาน
บางครั้งด้วยนโยบายการลงทุนที่ไม่เหมาะสม เช่น การเปลี่ยนผู้จัดการกองทุนบ่อยครั้งจนเกินไป เปลี่ยนนโยบายในการลงทุน สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีโอกาสที่จะทำให้กองทุนเกิดภาวะขาดทุนได้ ในกรณีนี้ถือว่ามีความรุนแรงที่กระทบต่อการลงทุนอย่างมาก และควรทารสับเปลี่ยนกองทุนให้รวดเร็วที่สุดเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
การสับเปลี่ยนกองทุน เมื่อกองทุนขาดทุนคืออะไร?
การสับเปลี่ยนกองทุน (Switching) คือ การสับเปลี่ยนการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาวได้โดยที่ไม่ผิดเงื่อนไขทางภาษี การสับเปลี่ยนดังกล่าวช่วยให้สามารถจัดการกับกองทุนที่ประสบปัญหาขาดทุนได้ เนื่องจากไม่ได้ถือว่าเป็นการลงทุนใหม่ แต่เป็นการเปลี่ยนกองทุนจากเงินทุนก้อนเดิมที่มีการลงทุนมาก่อนหน้านี้
ข้อดีของการสับเปลี่ยนกองทุนรวม ระหว่างกองทุนที่ขาดทุนไปยังกองทุนใหม่?
เพื่อให้สะดวกต่อความเข้าใจ การสับเปลี่ยนกองทุนรวมมีประโยชน์น่าสนใจที่ควรทราบดังต่อไปนี้
- การสับเปลี่ยนกองทุนรวม ช่วยให้ย้ายการลงทุนจากกองทุนที่กำลังขาดทุน ไปยังกองทุนใหม่ที่มีผลประกอบการที่ดีกว่าได้
- การสับเปลี่ยนกองทุนรวม ถือว่าเป็นการสับเปลี่ยนเงินทุนก้อนเดิมที่มีการลงทุนอยู่แล้ว จึงไม่นับว่าเป็นการลงทุนใหม่
- การสับเปลี่ยนกองทุนรวม หักสับเปลี่ยนในปีเดียวกันสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้
- การสับเปลี่ยนกองทุนรวม ไม่มีค่าธรรมเนียมหากเป็นการสับเปลี่ยนในบริษัทจัดการหลักทรัพย์เดียวกัน
สิ่งที่ควรทราบเพิ่มเติมก่อนการสับเปลี่ยนกองทุนรวม เพื่อจัดการกองทุนที่ขาดทุน
การสับเปลี่ยนกองทุนนั้นจะต้องทำในกลุ่มของกองทุนเดียวกัน เช่น จากกองทุน RMF ที่ขาดทุน ไปยังกองทุน RMF ใหม่ เท่านั้น ไม่สามารถที่จะทำการสับเปลี่ยนกองทุนจาก RMF ไปยัง SSF ได้ ซึ่งหากการสับเปลี่ยนกองทุนดังกล่าวเกิดขึ้นภายในบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) เดียวกัน ผู้ลงทุนก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการสับเปลี่ยนกองทุน อย่างไรก็ตาม หากเป็นการสับเปลี่ยนกองทุนกับกองทุนต่าง บลจ. อาจจำเป็นที่จะต้องใช้เอกสารและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละ บลจ.
บทสรุปส่งท้าย : ปัญหากองทุนรวมขาดทุน แก้ไขได้มากยากเพียงแค่ทำการสับเปลี่ยนกองทุน
การสับเปลี่ยนกองทุนรวม ถือว่าเป็นหนึ่งในเทคนิคทางด้านการลงทุนที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีความต้องการอยากที่จะรับมือกับปัญหากองทุนขาดทุนที่เกิดขึ้นมาด้วยตัวเองอย่างเหมาะสม แถมยังเป็นวิธีที่ง่ายดายและอาจที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าหากเปรียบเทียบกับการที่ต้องไปลงทุนใหม่อย่างแน่นอน...