Contents
- 1 นิติบุคคลต้องเตรียมตัวและเอกสารสำหรับการทำ KYC อย่างไรกันบ้าง!?
- 2 มาทำความเข้าใจถึงความสำคัญในการทำ KYC สำหรับนิติบุคคลกันก่อน
- 3 เอกสารประกอบการทำ KYC สำหรับนิติบุคคล มีอะไรกันบ้าง!?
- 4 สิ่งที่นิติบุคคลจำเป็นจะต้องกรอกเพื่อทำ KYC มีอะไรกันบ้าง!?
- 5 รวมช่องทางสำหรับคนที่ต้องการดาวน์โหลดเอกสารสำหรับการทำ KYC นิติบุคคลของสถาบันการเงิน
- 6 บทสรุปส่งท้าย : การทำ KYC สำหรับนิติบุคคล ยากหรือเปล่า!?
นิติบุคคลต้องเตรียมตัวและเอกสารสำหรับการทำ KYC อย่างไรกันบ้าง!?
การทำ KYC... เป็นสิ่งที่คนที่มาติดต่อทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงินครั้งแรกจำเป็นที่จะต้องทำทุกคนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่สำหรับนิติบุคคลอาจเกิดคำถามขั้นมาว่าการทำ KYC จะมีขั้นตอน รวมไปถึงการใช้เอกสารที่เหมือนกับของบุคคลธรรมดาทั่วไปหรือเปล่า!? ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยไขข้อข้องใจดังกล่าว บทความในวันนี้จึงได้ทำการรวบรวมเรื่องที่น่ารู้ในการทำ KYC สำหรับนิติบุคคล ว่ามีขั้นตอนและเอกสารที่ต้องจัดเตรียมให้พร้อมอย่างไรกันบ้าง!? เพื่อให้การทำ KYC สำหรับนิติบุคคล สำเร็จลุล่วงอย่างรวดเร็วและปราศจากปัญหา
มาทำความเข้าใจถึงความสำคัญในการทำ KYC สำหรับนิติบุคคลกันก่อน
KYC ย่อมาจากคำว่า “Know Your Customer” หากแปลเป็นไทยอย่างตรงตัวก็คือ “กระบวนการทำความรู้จักกับลูกค้า” ที่ช่วยในการระบุและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง (Identification and Verification) นอกจากนี้ KYC เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพราะธนาคารและสถาบันทางการเงินเป็นเส้นทางการเงินที่เปิดโอกาสให้เกิดการก่ออาชญากรรม
KYC จึงเป็นการยืนยันและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการโจรกรรมที่ ณ ปัจจุบันได้มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมไปถึงช่องทางในการขโมยข้อมูลเองก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นตามไปด้วยการอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เกิดการขโมยเลขบัตรเครดิตหรือเลขประกันสังคม เป็นต้น เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายมากขึ้น
ด้วยกฎหมายดังกล่าว ทำให้มีการบังคับให้ธนาคารและสถาบันทางทางการเงินต้องทำการตรวจสอบลูกค้าทุกคนที่ทำการเปิดบัญชี เช่น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล บุคคล ที่ไม่มีความสามารถตามกฎหมาย (ผู้เยาว์) และองค์กรที่ไม่ใช้นิติบุคคล เช่น ชมรมชุมชน เป็นต้น ด้วยการทำ KYC นั่นเอง อย่างไรก็ตาม KYC ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีธนาคารหรือทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผู้ใช้งานจะต้องทำการเปิดเผยข้อมูลและผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อมูลของลูกค้าหรือ CDD ที่ย่อมาจาก Customer Due Diligence เป็นต้น
เอกสารประกอบการทำ KYC สำหรับนิติบุคคล มีอะไรกันบ้าง!?
โดยทั่วไปแล้วเอกสารที่จำเป็นอย่างมากในการทำ KYC สำหรับนิติบุคคล จะต้องแนบเอกสารที่น่าสนใจและควรทราบดังต่อไปนี้
- สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ไม่เกิน 6 เดือน
- หนังสือแสดงการจดทะเบียนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประเภทของบริษัท
- ชื่อบริษัท
- ประเภทของกิจการ
- ประเทศที่ทำธุรกิจ
- รายได้ประมาณ
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
- สถานที่ตั้ง
***สำเนาเอกสารทั้งหมดจะต้องได้รับการลงนามสำเนาถูกต้อง
สิ่งที่นิติบุคคลจำเป็นจะต้องกรอกเพื่อทำ KYC มีอะไรกันบ้าง!?
สำหรับข้อมูลในการทำ KYC ที่ผู้สมัครทำธุรกรรมด้านการเงินกับสถาบันการเงินจำเป็นจะต้องทำการกรอกนั้น มีดังต่อไปนี้
- ชื่อนิติบุคคล
- ประเภทเอกสารของนิติบุคคล
- สถานที่ตั้งของสำนักงาน และสำนักงานใหญ่
- ประเภทของกิจการ
- วัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการ
- แหล่งที่มาของรายได้หลายหลัก
- ประเทศที่มาของรายได้หลัก
- ระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคล (ผู้บริหารสูงสุด / กรรมการผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรับรอง / ผู้ถือหุ้นและผู้รับมอบอำนาจในการธุรกรรม เป็นต้น)
รวมช่องทางสำหรับคนที่ต้องการดาวน์โหลดเอกสารสำหรับการทำ KYC นิติบุคคลของสถาบันการเงิน
สำหรับคนที่ต้องการอยากที่จะดาวน์โหลดแบบฟอร์ม KYC สำหรับนิติบุคคลของธนาคารและสถาบันการเงิน สามารถทำได้ผ่านทางช่องทางออนไลน์ จาก Link ดังต่อไปนี้กันได้เลย!
บทสรุปส่งท้าย : การทำ KYC สำหรับนิติบุคคล ยากหรือเปล่า!?
การทำ KYC สำหรับนิติบุคคล... ไม่ใช่เรื่องที่ยากนัก เพราะโดยพื้นฐานแล้วก็มีขั้นตอนที่ไม่ได้แตกต่างจากการทำ KYC ของบุคคลทั่วไปนัก อาจต่างกันเพียงเรื่องของจำนวนเอกสารเล็กน้อยและเป็นเอกสารที่อาจต้องใช้เวลาในการรวบรวมสักนิด เนื่องจากไม่ได้เป็นเอกสารเฉพาะบุคคลที่สามารถทำการรวบรวมได้ในทันทีนั่นเอง แต่ถ้าหากใจเย็นสักนิด ใช้ความอดทนอีกสักหน่อย รับรองว่าการทำ KYC สำหรับนิติบุคคล ก็จะไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินความสามารถอย่างแน่นอน...