Contents
- 1 ประกันภัย 40 โรคร้าย ของ AIA เหมาะกับการทำเอาไว้เพื่ออนาคตหรือเปล่า!? ลองมาฟังความเห็นจากชาว Pantip กัน
- 2 ประกันภัย 40 โรคร้าย ของ AIA รับประกันโรคอะไรกันบ้าง ตามชาว Pantip มาทำความรู้จักกัน
- 3 มาลองฟังความเห็นของชาว Pantip ที่มีต่อประกันภัย 40 โรคร้าย ของ AIA ดีกว่าว่ามีอะไรกันบ้าง!?
- 4 บทสรุปส่งท้าย : ประกันภัย 40 โรคร้าย ของ AIA ในความเห็นของชาว Pantip ดีไหม!?
ประกันภัย 40 โรคร้าย ของ AIA เหมาะกับการทำเอาไว้เพื่ออนาคตหรือเปล่า!? ลองมาฟังความเห็นจากชาว Pantip กัน
ปัญหาทางด้านสุขภาพ เป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากที่จะให้เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว โดยเฉพาะ “โรคร้ายแรง” ก็อาจทำให้หลายคนต้องหนักใจเนื่องจากต้องหาเงินมาใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลของตัวเองเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น การทำประกันภัยโรคร้ายแรงเอาไว้ก่อนเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็อาจจะเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้รับมือกับปัญหาได้อย่างอุ่นใจและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยบทความในวันนี้อยากขอพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับประกันภัย 40 โรคร้าย ของ AIA ว่ามีความน่าสนใจเพียงใด เหมาะกับการทำเอาไว้หรือเปล่า โดยอ้างอิงจากประสบการณ์ คำแนะนำจากสมาชิกชาว Pantip ที่เคยใช้บริการกัน
ประกันภัย 40 โรคร้าย ของ AIA รับประกันโรคอะไรกันบ้าง ตามชาว Pantip มาทำความรู้จักกัน
เพื่อให้สามารถมองมองเห็นภาพรวมได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ลองมาทำความรู้จักกับประกันภัย 40 (44) โรคร้าย แผน ECIR ของ AIA มีโรคที่มอบความคุ้มครองให้และความทราบ ดังต่อไปนี้
1.โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายครั้งแรกจากการขาดเลือด (First Heart Attack)
2.ความบกพร่องทางระบบประสาทอันเนื่องมาจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง (Stroke)
3.การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery Surgery) (ความคุ้มครองจะเกิดขึ้นเมื่อใบสมัครได้รับการอนุมัติแล้ว 90 วัน)
4.ความดันหลอดเลือดแดงปอดสูง (Pulmonary hypertension)
5.ไตวาย (Kidney Failure)
6.โรคระบบประสาทมัลติเพิลสะคลีโรสิส (Multiple Sclerosis)
7.อัมพาต (Paralysis) (เนื่องจากการเจ็บป่วย หรือ อุบัติเหตุ)
8.โปลิโอ (Poliomyelitis)
9.โรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy)
10.มะเร็ง (Cancer) (ความคุ้มครองจะเกิดขึ้นเมื่อใบสมัครได้รับการอนุมัติแล้ว 90 วัน)
11.การปลูกถ่ายอวัยวะ (Major Organ Transplant)
12.ไวรัสตับอักเสบชนิดรุนแรง (Fulminant Viral Hepatitis)
13.โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต (Aplastic Anaemia)
14.โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial meningitis)
15.ตาบอด (Blindness) (เนื่องจากการเจ็บป่วย หรือ อุบัติเหตุ)
16.เนื้องอกในสมอง ชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง (Benign Brain Tumor)
17.แผลจากไฟไหม้น้ำร้อนลวก (Burns) (เนื่องจากอุบัติเหตุ)
18.โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy)
19.การผ่าตัดสมองอันเนื่องมาจากโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysm requiring brain surgery)
20.การสลบหรือหมดความรู้สึก (Coma)
21.โรคเท้าช้าง (Elephantiasis)
22.สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส (Viral Encephalitis)
23.โรคปอดระยะสุดท้าย (End Stage Lung Disease)
24.การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Heart Valve Replacement Surgery)
25.ตับวาย (Liver Failure)
26.การสูญเสียความสามารถในการพูด (Loss of speech)
27.การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง (Major Head Injury)
28.โรคเซลล์ประสาทยนต์ (Motor Neurone Disease)
29.การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ Aorta (Surgery to the Aorta) (ความคุ้มครองจะเกิดขึ้นเมื่อใบสมัครได้รับการอนุมัติแล้ว 90 วัน)
30.โรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดซิสเต็มมิค ลูปูส อิริเธมาโตซูส (Systemic Lupus Erythematosus)
31.ภาวะสมองใหญ่ไม่สามารถควบคุมการทำงานของร่างกายตามปกติอย่างถาวร (Persistent Vegetative State or Apallic Syndrome)
32.การฉีกขาดหลายรากของข่ายประสาท Brachial (Multiple Root Avulsions of Brachial Plexus)
33.ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง (Severe Rheumatoid Arthritis)
34.โรคเนื้อเยื่อพังผืดอักเสบติดเชื้อและเป็นเนื้อตาย (Necrotising Fasciitis or Gangrene)
35.ภาวะตับอ่อนอักเสบที่กลับเป็นซ้ำและเรื้อรัง (Chronic Relapsing Pancreatitis)
36.โรคลำไส้อักเสบเป็นแผล (Severe Ulcerative Colitis or Cronh's Disease)
37.โรคไข้รูห์มาติกที่ทำให้หัวใจผิดปกติ (Rheumatic Fever with Heart Involvement)
38.โรคคาวาซากิที่ทำให้เกิดโรค แทรกซ้อนของหัวใจ (Kawasaki Disease with Heart Complications)
39.โรคเบาหวาน (Diabetes)
40.โรคน้ำไขสันหลัง ในสมองมาก ซึ่งเกิดภายหลังและต้องใส่ท่อระบาย (Acquired Hydrocephalus Requiring An External Shunt)
41.โรคสมองเสื่อม (Alzheimer's Disease)
42.โรคระบบประสาทพาร์กินสัน (Parkinson's Disease)
43.การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ (Loss of independent Living)
44.การทุพพลภาพทั้งหมดอย่างถาวร (Total and Permanent Disability or TPD)
มาลองฟังความเห็นของชาว Pantip ที่มีต่อประกันภัย 40 โรคร้าย ของ AIA ดีกว่าว่ามีอะไรกันบ้าง!?
เพื่อเป็นการช่วยประกอบการตัดสินใจว่าประกันภัย 40 โรคร้าย ของ AIA ดีหรือเปล่า!? ลองมาฟังประสบการณ์ของชาว Pantip ที่มีต่อกรมธรรม์นี้กันก่อนดีกว่าว่ามีประเด็นอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง
ใช่ครับ ECIR ตัวนี้ ที่ผมได้ทำไว้ แล้วสามารถทำเรื่องเคลมได้จากทาง AIA โดยผ่านระยะเวลามาประมาณ 3 ปี นิดๆ และมาตรวจพบเจอโรคร้ายแรง ถ้าสำหรับเคสผมนั้น ผมถือว่าทาง AIA ได้ทำตามสัญญาที่ผมได้ทำไว้กับ AIA เรียบร้อยแล้ว สำหรับโรคร้ายแรง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมต้องขอชื่นชมตัวแทนที่ผมได้ทำด้วย ที่ให้คำปรึกษาและเก็บข้อมูลเอกสารทางการแพทย์ต่างๆ และเขียนสรุป เพื่อนำส่งให้ฝ่ายพิจารณาสินไหมของบริษัท AIAคลิก! อ่านกระทู้ต้นฉบับ
จ่ายจริงค่ะ ล่าสุดทางลูกค้าเบิกเรื่องการผ่าตัดบายพาสหัวใจ ที่ผ่านมา บริษัทจ่ายทุกรายค่ะ ถ้าตรวจสอบแล้ว ว่าไม่ได้เป็นโรคต่างๆๆ ก่อนทำประกันคลิก! อ่านกระทู้ต้นฉบับ
ทำมาเกิน 2 ปีไม่มีปัญหานะครับ บริษัทประกันมีหน้าที่ จ่ายค่าสินไหมตามสัญญา มีคนที่เป็นแล้วตามโรคที่กล่าวมานี้ บริษัทก็จ่ายคลิก! อ่านกระทู้ต้นฉบับ
เคลมได้จริงค่ะ ใช้เวลาไม่เกืน 1 สัปดาห์ AIA โอนเข้าบัญชี 1 ล้านบาท (โรคร้ายแรง) แต่เอกสารการเคลมหมอต้องเขียนชัดเจนตามนิยามของประกันนะคะ เคลมไว ได้จริง เราเป็นลูกค้า AIA ตัวจริงคลิก! อ่านกระทู้ต้นฉบับ
ทำกับ AIA เงื่อนไขเป็นมะเร็งจ่ายให้วันละ 5,000 บาท รักษาต่อเนื่องเป็นเวลา 500 วัน ทำประกันวงเงิน 5 แสนบาท เมื่อเข้ารับการรักษานอนโรงพยาบาล ผมเป็นจริง เข้าผ่าตัดและให้คีโมเขาจ่ายค่าผ่าตัดให้บางส่วนตามวงเงินประกัน และจ่ายให้วันละ 5,000 บาท ตอนนอนโรงพยาบาลรักษามะเร็ง จ่ายจริงเท่ากับวันที่นอนโรงพยาบาลคลิก! อ่านกระทู้ต้นฉบับ
บทสรุปส่งท้าย : ประกันภัย 40 โรคร้าย ของ AIA ในความเห็นของชาว Pantip ดีไหม!?
โดยรวมแล้วประกันภัย 40 โรคร้าย ของ AIA ในความเห็นของชาว Pantip ส่วนใหญ่แล้วมองว่าทำเอาไว้สามารถช่วยให้มีความอุ่นใจ ไม่ต้องปราศจากความกังวลใจว่าจะเกิดปัญหาสุขภาพขึ้นกับตัวเองในอนาคต เรียกได้ว่าเป็นการทำเพื่อวางแผนเอาไว้เสียตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ไม่ทำให้ผิดหวังกันอย่างแน่นอน