Contents
- 1 ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เรื่องสำคัญที่คนใช้บัตรต้องรู้! คิดดอกยังไง บัตรเครดิตใบไหนโดนใจมาดูกัน
- 2 ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิตคืออะไร?
- 3 ตัวอย่าง : ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ที่จะช่วยให้ใช้จ่ายอย่างสบายใจหายห่วง
- 4 อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดอย่างไร?
- 5 อัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตคิดยังไง?
- 6 เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตของทุกธนาคาร สะดวกสบายไม่ต้องคิดยังไงให้เมื่อย!!
- 7 ตารางเปรียบเทียบดอกเบี้ยบัตรเครดิตของธนาคารต่างๆ
- 8 ดอกเบี้ยเท่ากัน แต่ทำไมคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับบัตรเครดิตกรุงศรีเฟิร์สช้อย!?
- 9 บัตรเครดิตกรุงศรี First Choice ดอกเบี้ยต่ำ ใช้จ่ายสบายใจ
- 10 ข้อดีของบัตรเครดิตกรุงศรี First Choice
- 11 บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดเฟิร์สช้อยส์ ดอกเบี้ยเท่าไหร่!?
- 12 บัตรกรุงศรี First Choice ดีไหม!? มาลองฟังประสบการณ์จากชาว Pantip กัน!
- 13 หลังจากที่บัตรกรุงศรี First Choice ได้รับการอนุมัติแล้ว รับบัตรผ่านช่องทางใดกันได้เบ้าง!?
- 14 หลังจากกดเงินสดจากบัตรกรุงศรี First Choice มีช่องทางจ่ายคืนยังไงกันบ้าง!?
- 15 1.ชำระบัตรกรุงศรี First Choice คืนผ่านทุกช่องทางของธฯาคารกรุงศรีอยุธยา
- 16 2.บัตรกรุงศรี First Choice คืนผ่านการหักผ่านบัญชีโดยอัตโนมัติ
- 17 3.บัตรกรุงศรี First Choice ณ เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือเคาน์เตอร์ชำระเงิน
- 18 ไม่จ่ายบัตรเครดิต 2-3 เดือน ส่งผลกระทบกับดอกเบี้ยมากน้อยเพียงใด!?
- 19 1.เป็นหนี้บัตรเครดิตทำให้เสียประวัติทางการเงิน
- 20 2.เป็นหนี้บัตรเครดิตทำให้เกิดความเครียดสะสม
- 21 3.เป็นหนี้บัตรเครดิตทำให้ถูกฟ้องร้องเพื่อทำการทวงหนี้
- 22 4.เป็นหนี้บัตรเครดิตทำให้เสียโอกาสในการกู้เงินในอนาคต
- 23 5.เป็นหนี้บัตรเครดิตทำให้ไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้
- 24 4 เคล็ดลับสู่การปลอดหนี้บัตรเครดิตอย่างง่ายดายด้วยตัวเอง
- 25 1.อยากปลอดหนี้บัตรเครดิต : เลิกสร้างหนี้ก้อนใหม่
- 26 2.อยากปลอดหนี้บัตรเครดิต : สำรวจหนี้ของตัวเอง และเรียงลำดบความสำคัญ
- 27 3.อยากปลอดหนี้บัตรเครดิต : จ่ายหนี้มากกว่าขั้นต่ำ
- 28 4.อยากปลอดหนี้บัตรเครดิต : สร้างนิสัย "จ่ายเต็มจำนวน"
- 29 บทสรุปส่งท้าย : การวางผนการเงินอย่างฉลาด ช่วยแก้ปัญหาบัตรเครดิตได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เรื่องสำคัญที่คนใช้บัตรต้องรู้!
คิดดอกยังไง บัตรเครดิตใบไหนโดนใจมาดูกัน
เชื่อว่าคงไม่มีใครที่อยากเป็น “หนี้” โดยเฉพาะ “หนี้บัตรเครดิต”...
ซึ่งเป็นภาระหนี้ที่ยิ่งไม่จ่ายนาน 2 เดือน 3 เดือน หรือ 6 เดือน มูลค่าของหนี้ก็จะยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้นจนรู้ตัวอีกทีก็กลายมาเป็นหนี้บัตรเครดิตก้อนโตจนหนทางในการใช้หนี้มืดมนมากขึ้นทุกขณะ
แต่ที่จริงแล้วถ้าหากใครมีวินัยในการบัตรเครดิต มีการจ่ายขั้นต่ำเต็มจำนวนอย่างสม่ำเสมอครบถ้วนทุกรอบบิล รู้จักกับระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย และสามารถคำนวณอัตราดอกเบี้ยได้ด้วยตัวเอง
เพียงเท่านี้โอกาสในการเป็นหนี้บัตรเครดิตก็จะลดน้อยลงเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
ถ้าหากใครเป็นมือใหม่ที่พึ่งหัดใช้และครอบครองบัตรเครดิตเป็นใบแรกแล้วไม่อยากพลาดพลั้งกลายมาเป็นหนี้อย่างไม่ทันรู้ตัว
ขอแนะนำให้อ่านบทความชิ้นนี้พร้อมกับทำความเข้าใจสิ่งสำคัญในหัวข้อต่างๆ รวมไปถึงการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตว่าคิดกันยังไง?
ที่จะช่วยให้คุณห่างไกลจากความเป็นหนี้ แล้วหมั่นทำตามอย่างเหมาะสม เพียงเท่านี้รับรองว่าหนี้บัตรเครดิตจะไม่โผล่มากวนใจคุณอย่างแน่นอน
ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิตคืออะไร?
ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิต เป็นบทเรียนแรกที่คนใช้บัตรเครดิตควรทราบมากที่สุด ซึ่งระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิตมีความหมายถึง ระยะเวลาที่เกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรูดใช้บัตรเครดิต จนกระทั่งถึงช่วงเวลาที่กำหนดเพื่อทำการชำระคืนให้กับผู้ให้บริการบัตรเครดิต โดยส่วนใหญ่แล้วเวลาในการชำระคืนสูงสุดจะอยู่ที่ประมาณ 45 วัน ขึ้นอยู่กับการใช้งาน อย่างไรก็ตามระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิตของแต่ละสถาบันผู้ให้บริการบัตรเครดิตมักไม่เท่ากัน ดังนั้น หากต้องการใช้บัตรเครดิตของธนาคารหรือสถาบันทางการเงินใด ก็ควรศึกษาระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิตตามข้อกำหนดให้ดีเสียก่อน เพื่อไม่ให้พลาดเกิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตขึ้น นอกจากนี้ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิตยังไม่ได้เกี่ยวกับวันสรุปยอด เพราะวันสรุปยอดเป็นเพียงรายจ่ายที่ต้องชำระในงวดบิลดังกล่าว แต่ถ้าหากมีการนำบัตรเครดิตมาใช้หลังวันสรุปยอด ยอดที่ต้องชำระก็จะถูกยกยอดไปชำระในรอบบิลต่อไปนั่นเอง
ตัวอย่าง : ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ที่จะช่วยให้ใช้จ่ายอย่างสบายใจหายห่วง
ยกตัวอย่างเช่น : ถ้าหากระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ใช้บริการอยู่มีระยะเวลา 45 วัน แล้วมีการนำมาใช้ในวันที่ 1 มีนาคม นั่นหมายความว่าระยะเวลาปลอดภัยในการชำระค่าบริการจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 เมษายน ดังนั้น ถ้าหากทำการชำระยอดบิลภายในวันที่ 30 เมษายน ก็จะยังถือว่าอยู่ในช่วงระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิตจนครบถ้วนโดยไม่ต้องเสียบัตรเครดิตนั่นเอง แต่ถ้าหากใครกังวลว่าจะคำนวณระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิตพลาดก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะโดยทั่วไปแล้วหลังจากสรุปยอดประมาณ 2 สัปดาห์ ทางผู้ให้บริการบัตรเครดิตจะทำการแจ้งเตือนผ่าน SMS หรือ Email เพื่อให้จัดเตรียมเงินมาชำระก่อนวันสุดท้ายของการเรียกเก็บเงิน ก่อนที่บิลชำระเงินจะถูกส่งไปที่บ้านอีกครั้ง
อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดอย่างไร?
เมื่อทางผู้ให้บริการบัตรเครดิตทำการส่งบิลค่าบริการมาให้ที่บ้าน หลายคนอาจสังเกตเห็นว่าจะมีช่องแจ้งอัตราเงินขั้นต่ำจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ และเป็นจำนวนที่ต้องชำระเท่าไหร่ แต่โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 20-25% ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่าแล้วดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดยังไง? ที่จริงแล้วสูตรในการดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดยังไงนั้นง่ายดายมอย่างมาก เพียงแค่ทำการคำนวณอัตราดอกเบี้ยสามารถทำได้ผ่านสูตรง่ายๆ ดังนี้
อัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตคิดยังไง?
ยอดใช้จ่ายบัตรเครดิต x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวัน หารด้วย 365 = ดอกเบี้ยบัตรเครดิต
เมื่อทำการชำระเงินขั้นต่ำ เงินต้นจะถูกทำการหักออกไป และทำการคิดดอกเบี้ย 20% จากวันที่ถูกเรียกเก็บชำระย้อนหลังจนถึงวันที่ชำระเงินจริง แต่ดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะไม่ลดลงตามเงินต้น เพียงแค่คูณวันเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ต้องชำระเท่านั้น ดังนั้น ถ้าหากทำการชำระเงินได้อย่างรวดเร็วมากที่สุดก็จะไม่เสียค่าดอกเบี้ยบัตรเครดิต ทำให้ประวัติทางการเงินของเราดีขึ้นไปด้วยซึ่งช่วยให้การอนุมัติสินเชื่อง่ายดายมากขึ้นตามไปด้วย และไม่ต้องเกิดคำถามว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดยังไง? ขึ้นมากวนใจอีกด้วย
เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตของทุกธนาคาร สะดวกสบายไม่ต้องคิดยังไงให้เมื่อย!!
สำหรับคนที่มีเวลาน้อย จนไม่สามารถมานั่งตอบคำถามกวนใจว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดยังไง? บทความชิ้นนี้ได้ทำการรบรวมอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตของธนาคารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยบัตรเครดิตกรุงศรีเฟิร์สช้อย , ดอกเบี้ยบัตรเครดิตไทยพาณิชย์ (SCB) , ดอกเบี้ยธนาคารกรุงเทพ , ดอกเบี้ยธนาคารกรุงไทย ,ดอกเบี้ยบัตรเครดิตกสิกรไทย เป็นต้น มาฝาก เพื่อให้มองเห็นภาพรวมกันไปเลยว่าอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตใบไหนต่ำสุดกัน..
ตารางเปรียบเทียบดอกเบี้ยบัตรเครดิตของธนาคารต่างๆ
ธนาคาร | ค่าธรรมเนียม /ดอกเบี้ย/ ปี | ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน / ปี |
KTC | 15-18% | 3% |
SCB (ไทยพาณิชย์) | 10-18% | 3% |
กรุงศรีเฟิร์สช้อย | 15-18% | 3% |
กรุงเทพ | 10-18% | 3% |
กสิกรไทย | 18% | 3% |
ทหารไทย | 18% | 3% |
CIMB | 18% | 3% |
ธนชาต | 9.9 - 18% | 3% |
UOB | 18% | 3% |
ธนาคารแห่งแระเทศจีน (ไทย) | 18% | 3% (ในไทยและจีน) |
ICBC (ไทย) | 18% | 3% |
จากข้อมูลในตารางเปรียบเทียบในข้างต้นจะสามารถเห็นได้อย่างชัดว่า ดอกเบี้ยบัตรเครดิตกรุงศรีเฟิร์สช้อย , ดอกเบี้ยบัตรเครดิตไทยพาณิชย์ (SCB) , ดอกเบี้ยธนาคารกรุงเทพ , ดอกเบี้ยธนาคารกรุงไทย , และดอกเบี้ยบัตรเครดิตกสิกรไทย ล้วนแล้วแต่มีอัตราที่เท่ากัน ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดเอาไว้นั่นเอง ดังนั้น ไม่ว่าจะเลือกใช้บริการธนาคารใด ดอกเบี้ยบัตรเครดิตกรุงศรีเฟิร์สช้อย , ดอกเบี้ยบัตรเครดิตไทยพาณิชย์ (SCB) , ดอกเบี้ยบัตรเครดิตกสิกรไทย , ดอกเบี้ยธนาคารกรุงเทพ , ดอกเบี้ยธนาคารกรุงไทย , ก็จะเท่าเทียมกันนั่นเอง..
ดอกเบี้ยเท่ากัน แต่ทำไมคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับบัตรเครดิตกรุงศรีเฟิร์สช้อย!?
ดอกเบี้ยบัตรเครดิตกรุงศรีเฟิร์สช้อย , ดอกเบี้ยบัตรเครดิตไทยพาณิชย์ (SCB) , ดอกเบี้ยบัตรเครดิตกสิกรไทย , ดอกเบี้ยธนาคารกรุงเทพ และดอกเบี้ยธนาคารกรุงไทย มีการเรียกเก็บที่เท่าเทียมกัน แต่ทำไม คนส่วนใหญ่ถึงมักจะสมัครบัตรเครดิตกรุงศรีเฟิร์สช้อยกัน!? มาดูกันดีกว่าว่าบัตรเครดิตกรุงศรีเฟิร์สช้อย มีดีอะไร!?
บัตรเครดิตกรุงศรี First Choice ดอกเบี้ยต่ำ ใช้จ่ายสบายใจ
บัตรเครดิตกรุงศรี First Choice เป็นหนึ่งในบัตรเครดิตที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะสมัครง่าย อนุมัติไว กดเงินสด ผ่อนสินค้าและบริการ 0% สูงสุดกว่า 24 เดือน ตามประเภทและร้านค้าที่เข้าร่วมรายการแล้ว ยังมีสิทธิพิเศษที่น่าสนใจอีกหลายประการที่เหมาะกับการพกพาเอาไว้ เพื่อช่วยในการตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างอุ่นใจ สะดวกสบายมากขึ้นโดยไม่จำเป็นที่จะต้องมีเงินก้อนในมือ คราวนี้มาดูสิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจของบัตรเครดิตกรุงศรี First Choice กันดีกว่า...
ข้อดีของบัตรเครดิตกรุงศรี First Choice
- บัตรเครดิตกรุงศรี First Choiceยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า รายปี และตลอดชีพ
- บัตรเครดิตกรุงศรี First Choiceบริการผ่อนชำระสินค้า/บริการได้อย่างง่ายดาย 0% นานสูงสุด 24 เดือน
- บัตรเครดิตกรุงศรี First Choiceบริการเบิกถอนเงินสดได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- บัตรเครดิตกรุงศรี First Choiceรับ Privileges และ Blue ตลอดทั้งปี รวมถึงฟรี ส่วนลดสูงสุด 50% เมื่อใช้บริการกับร้านค้าพันธมิตรกว่า 1000 แห่งทั่วประเทศ
- บัตรเครดิตกรุงศรี First Choiceสิทธิพิเศษในวันเกิด
- บัตรเครดิตกรุงศรี First Choiceสิทธิพิเศษในวันอาทิตย์ ทุกสิ้นเดือน
บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดเฟิร์สช้อยส์ ดอกเบี้ยเท่าไหร่!?
รายการค่าธรรมเนียม | บัตรเครดิต | สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรกดเงินสด |
ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน และค่าปรับกรณีผิดนัดชำระ
(*แบบลดต้นลดดอก) |
สูงสุดไม่เกิน 16% ต่อปี | สินเชื่อผ่อนชำระ 0-25% ต่อปี
สินเชื่อเงินสด 16-25% ต่อปี |
อัตราดอกเบี้ย | สูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี | สูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี |
ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน | สูงสุดไม่เกิน 1% ต่อปี | สูงสุดไม่เกิน 10% ต่อปี |
บัตรกรุงศรี First Choice ดีไหม!? มาลองฟังประสบการณ์จากชาว Pantip กัน!
สมาชิก Pantip บัตรกรุงศรี First Choice ดีไหม!? : 1305458
สมาชิก Pantip บัตรกรุงศรี First Choice ดีไหม!? : 1667558
สมาชิก Pantip บัตรกรุงศรี First Choice ดีไหม!? : 1068728
ผ่อนของ เติมน้ำมัน ซื้อของได้หมด
สมาชิก Pantip บัตรกรุงศรี First Choice ดีไหม!? : 2555139
ทำบัตรเครดิตกรุงศรี First Choice Platinum ในบัตรจะแยกเป็น 2 วงเงินคือ
วงเงินบัตรเครดิต(สำหรับผ่อนของ) ได้ 40,000
วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล(สำหรับกดเงินสด) 40,000
รวมเป็น 80,000
หลังจากที่บัตรกรุงศรี First Choice ได้รับการอนุมัติแล้ว รับบัตรผ่านช่องทางใดกันได้เบ้าง!?
1.รับบัตรกรุงศรี First Choice ด้วยตัวเอง ณ สาขาที่ทำการสมัคร โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนและ SMS แจ้งผลการอนุมัติ เพื่อใช้เป็นหลักฐาน
2.รับบัตรกรุงศรี First Choice ทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ได้ระบุเอาไว้ในใบสมัคร โดยใช้เวลาประมาณ 7 วันทำการ หลังจากที่ได้รับการแจ้งผลการอนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หลังจากกดเงินสดจากบัตรกรุงศรี First Choice มีช่องทางจ่ายคืนยังไงกันบ้าง!?
สำหรับคนที่ทำการกดเงินสดจากบัตรกรุงศรี First Choice ออกมาใช้งานกันแล้วและมีความต้องการที่จะชำระคืนภายในระยะเวลาการปลอดหนี้ เพื่อที่จะได้ปเ็นการตัดวงจรหนี้ของตัวเอง แต่ไม่ทราบถึงช่องทางที่จะจ่ายคืนว่าจะสามารถทำได้ยังไงกันบ้าง!? ลองมารู้จักกับ 3 ช่องทางที่จะช่วยให้เรื่องนี้ง่ายดายมากขึ้นกัน
1.ชำระบัตรกรุงศรี First Choice คืนผ่านทุกช่องทางของธฯาคารกรุงศรีอยุธยา
- บริการชำระคืนโดยหักผ่านบัญชีเงินฝากอัตโนมัติของธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ทั่วประเทศ
- ชำระที่เครื่องเอทีเอ็ม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ทั่วประเทศ
- ชำระผ่าน Krungsri Phone 1572 ชำระผ่าน Krungsri Online
- ชำระผ่าน Krungsri Mobile Application
2.บัตรกรุงศรี First Choice คืนผ่านการหักผ่านบัญชีโดยอัตโนมัติ
สามารถทำการสมัครผ่านบริการชำระบัตรกรุงศรี First Choice ผ่านช่องทางการหักบัญชีธนาคารแบบอัตโนมัติได้หลายธนาคารตามความสะดวก เช่น
- ธนาคากรุงศรีอยุธยา
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารทหารไทย
- ธนาคาร UOB
3.บัตรกรุงศรี First Choice ณ เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือเคาน์เตอร์ชำระเงิน
เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารทหารไทย
ชำระผ่านช่องทางอิเล้กทรอนิกส์ ของธนาคารพันธมิตร
เคาร์เตอร์ชำระเงินที่มีเครื่องหมาย
ไม่จ่ายบัตรเครดิต 2-3 เดือน ส่งผลกระทบกับดอกเบี้ยมากน้อยเพียงใด!?
หลายคนอาจคิดว่าการไม่จ่ายบัตรเครดิตนานสัก 2-3 เดือน อาจไม่มีปัญหากระทบกระเทือนกับการใช้ชีวิตมากนัก แต่นั่นถือว่าเป็นความเข้าใจผิดมันต์ เพราะการไม่จ่ายหนี้บัตรเครดิตอย่างเหมาะสมจะนำไปสู่การเกิดปัญหาขึ้นตามมาหลายประการ ดังต่อไปนี้
1.เป็นหนี้บัตรเครดิตทำให้เสียประวัติทางการเงิน
การไม่จ่ายบัตรเครดิต 3 เดือน หรือมากกว่าจะทำให้เกิดการทำเสียประวัติทางการเงินกับทางเครดิตบูโร จนกลายเป็นหนี้เสีย หรือ หนี้ NPL ซึ่งสถาบันทางการเงินจะมีมาตรการรับมือกับผู้ที่ก่อหนี้ประเภทนี้เป็นพิเศษ และถ้าหากไม่ทำการเคลียร์ปัญหาดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่เกิดขึ้นกับทางเครดิตบูโรอย่างเหมาะสม ก็จะติดสถานะหนี้เสียติดตัวไปนานอย่างน้อย 3 ปี เลยทีเดียว
2.เป็นหนี้บัตรเครดิตทำให้เกิดความเครียดสะสม
ความเครียดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นให้เห็นอย่างชัดเจนมากที่สุดเมื่อหนี้บัตรเครดิตเพิ่มพูนมากขึ้น ยิ่งไม่จ่ายบัตรเครดิต 3 เดือน หนี้บัตรเครดิตและความเครียดก็จะยิ่งมากขึ้นไปใหญ่ส่งผลให้นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ไปทำงานหรือทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันก็ไร้ประสิทธิภาพจนทำให้เกิดผลกระทบมากมายทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างมากเลยทีเดียว
3.เป็นหนี้บัตรเครดิตทำให้ถูกฟ้องร้องเพื่อทำการทวงหนี้
การไม่จ่ายหนี้บัตรเครดิตนาน 3 เดือน ขึ้นไป มีโอกาสสูงที่จะถูกสถาบันทางการเงินทำการตามฟ้องร้องเพื่อทวงคืนหนี้สินจนอาจต้องขึ้นศาล ทำให้เสียเวลาในการทำงานหรือทำให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตในด้านอื่นตามมา นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดการยึดทรัพย์ตามคำสั่งของศาลเพื่อนำมาใช้ในการจ่ายหนี้บัตรเครดิต รวมไปถึงการอายัดบัญชีเงินเดือนธนาคาร ในกรณีที่ลูกหนี้เสียชีวิตโดยที่ยังมีหนี้ค้างอยู่ ทางธนาคารก็อาจทำการยื่นฟ้องร้องเพื่อให้ทายาททำการจ่ายหนี้แทนได้ภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากที่ลูกหนี้เสียชีวิต ในกรณีที่ทายาทได้รับมรดกจากลูกหนี้ไม่เกินจำนวนหนี้ของบัตรเครดิตอีกด้วย ยิ่งหนี้บัตรเครดิตเป็นสิ่งที่ยิ่งปล่อยเอาไว้นานก็ยิ่งเพิ่มพูน ยิ่งไม่จ่ายหนี้บัตรเครดิตนาน 3 เดือน นอกจากจำนวนหนี้ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆแล้ว โอกาสที่จะสูญเสียโอกาสในการกู้ขอสินเชื่อกับธนาคารจะมากขึ้นแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะถูกฟ้องร้องเพื่อให้เกิดชำระหนี้จนทำให้เสียเวลาในการใช้ชีวิตอย่างมาก จนเรียกได้ว่าไม่คุ้มเสียอย่างมากเลยทีเดียว
4.เป็นหนี้บัตรเครดิตทำให้เสียโอกาสในการกู้เงินในอนาคต
การไม่จ่ายหนี้บัตรเครดิต ทำให้เสียโอกาสในการกู้เงินเพื่อขอสินเชื่อก้อนใหญ่ที่จำเป็นในอนาคต เพราะทางสถาบันทางการเงินจะมองว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีศักยภาพพอในการชำระหนี้ เพราะสถาบันทางการเงินส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร ถ้าหากไม่ทำการแก้ไขประวัติก็จะทำให้เกิดปัญหาการเงินในระยะยางตามมา
5.เป็นหนี้บัตรเครดิตทำให้ไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้
หากไม่ชำระหนี้บัตรเครดิตก็จะไม่สามารถทำการเปิดบัญชีกับธนาคารเจ้าหนี้ได้ นอกจากนี้ในสัญญาในการทำบัตรเครดิตทางธนาคารเจ้าหนี้อาจสามารถหักเงินที่ฝากอยู่ในบัญชี เพื่อนำไปใช้ในการชำระหนี้บัตรเครดิตโดยที่ได้อีกด้วย
4 เคล็ดลับสู่การปลอดหนี้บัตรเครดิตอย่างง่ายดายด้วยตัวเอง
ถ้าไม่อยากเป็นหนี้บัตรเครดิต ให้พึงระลึกเอาไว้เสมอว่าการใช้บัตรเครดิตเป็นการยืมเงินจากอนาคตมาใช้ ดังนั้น ควรใช้ในจำนวนที่พอเหมาะกับความจำเป็นหรือใช้เป็นบัตรรูดเพื่อใช้จ่ายแทนเงินสดในการสะสมคะแนน และควรมีเงินเตรียมเอาไว้จ่ายบิลให้ครบจำนวนอย่างเหมาะสมในระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิต เพียงเท่านี้ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดหนี้บัตรเครดิตได้อย่างแน่นอน โดยมีขั้นตอนที่ควรทราบ ดังต่อไปนี้
1.อยากปลอดหนี้บัตรเครดิต : เลิกสร้างหนี้ก้อนใหม่
อยากปลดหนี้บัตรเครดิต สิ่งแรกที่ควรทำก่อนก็คือการเลิอกนิสัยฟุ่มเฟือย อยากได้อยากมีในสิ่งที่มีราคาแพง จนตัวเองไม่สามารถเอิ้มมือถึง เลิกการสร้างหนี้ก้อนใหม่ ก็จะช่วยให้สามารถหลุดพ้นจากวังวนของการเป็นหนี้ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิมได้อย่างแน่นอน
2.อยากปลอดหนี้บัตรเครดิต : สำรวจหนี้ของตัวเอง และเรียงลำดบความสำคัญ
ควรทำการสำรวจหนี้ของตัวเองให้ดีก่อนว่ามีอะไรบ้าง!? ก้อนไหนเล็ก กก้อนไหนใหญ่ ก้อนไหนดอกเบี้ยสูงกว่า!? จากนั้น ให้ทำการจัดการปิดหนี้ที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดก่อน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายแฝงจากดอกเบี้ยขึ้นมา แล้วจึงค่อยมาจัดการกับหนี้ก้อนเล็กในอันดับรองลงมา
3.อยากปลอดหนี้บัตรเครดิต : จ่ายหนี้มากกว่าขั้นต่ำ
โดยทั่วไปแล้ว การจ่ายหนี้บัตรเครดิตแบบขั้นต่ำ มักจะเป็นเพียงแค่การประคองหนี้ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเอาไว้เท่านั้น ถ้าหากอยากที่จะทำการปลดหนี้จริงๆ ต้องจ่ายมากกว่าขั้นต่ำเพื่อให้ส่วนของเงินต้นลดน้อยลกว่าเดิม ยิ่งจำนวนเงินต้นลดน้อยลงเท่าไหร่ ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นก็จะน้อยลงตามไปด้วย
4.อยากปลอดหนี้บัตรเครดิต : สร้างนิสัย "จ่ายเต็มจำนวน"
การจ่ายเงินเต็มจำนวนให้กับทางสถาบัตรทางการเงินภายในระยะเวลาปลอดหนี้ที่กำหนดเอาไว้ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรฝึกเอาไว้ให้เป็นนิสัย เพราะช่วยในการป้องกันไม่ให้เกิดหนี้ขึ้นมาได้เป็นอย่างดี
บทสรุปส่งท้าย : การวางผนการเงินอย่างฉลาด ช่วยแก้ปัญหาบัตรเครดิตได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
เมื่อทราบวิธีการวางแผนทางการเงินอย่างเหมาะสม.. และทราบแล้วว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดยังไง?
ก็จะช่วยปลอดภัยในระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิต โดยไม่ต้องคอยกังวลกับดอกเบี้ยบัตรเครดิตกวนใจอีกต่อไป
และที่สำคัญอย่าเผลอปล่อยหนี้บัตรเครดิตเอาไว้นานไม่จ่าย 2 เดือน 3 เดือน เพราะนั่นจะยิ่งทำให้หนี้มีแต่เพิ่มพูนมากขึ้น
เชื่อเถอะว่า “การไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ” อย่างมากเลยทีเดียว