โดนฟ้องสินเชื่อส่วนบุคคล ต้องรู้อะไร รับมืออย่างไร อ่านได้ที่นี่!
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

Contents

โดนฟ้องสินเชื่อส่วนบุคคล ต้องรู้อะไร รับมืออย่างไร อ่านได้ที่นี่!

 

การถูกฟ้อง...

ไม่ว่าใครก็ต้องรู้สึกร้อนๆหนาวๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถูกฟ้องจากสถาบันการเงิน นั่นหมายถึงเครดิตของท่านจะมีมลทินทันทีและนั่นจะส่งผลให้การยื่นขอสินเชื่อ บัตรเครดิตหรือเงินในครั้งหน้ามีปัญหา อย่างร้ายที่สุดอาจถูกศาลสั่งล้มละลายและยึดทรัพย์เพื่อนำไปขายทอดตลาดชดใช้แก่สถาบันการเงินที่ท่านไม่สามารถชำระหนี้ต่อได้

ซึ่งในบทความนี้ได้รวบรวมคำแนะนำอันเป็นประโยชน์จากผู้มีประสบการณ์มาไว้อย่างครบครันแล้ว อย่าเพิ่งตกใจเมื่อถูกฟ้อง เชิญอ่านข้อมูลด้านล่างก่อนค่ะ! 

 

 

หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล คืออะไร!?

 

ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำปี 2562 ได้ให้คำนิยาม "สินเชื่อส่วนบุคคล" เอาไว้ว่า เป็นการให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วง ซื้อลดตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด แก่บุคคลธรรมดาโดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์หรือมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ และให้รวมถึงสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อน าไปใช้ในการประกอบอาชีพ “สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การก ากับ” หมายความว่า สินเชื่อส่วนบุคคลเฉพาะที่ไม่มี ทรัพย์หรือทรัพย์สินเป็นหลักประกัน และเพื่อประโยชน์แห่งประกาศฉบับนี้ ให้รวมถึงสินเชื่อ ดังต่อไปนี้

 

(1) สินเชื่อที่เกิดจากการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งในสินค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจ มิได้จ าหน่ายเป็นทางการค้าปกติ ยกเว้นในสินค้าประเภทรถและเครื่องจักร

 

(2) สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน ทั้งนี้ ไม่รวมถึง สินเชื่อเพื่อการศึกษา สินเชื่อเพื่อการเดินทางไปท างานในต่างประเทศ สินเชื่อเพื่อรักษาพยาบาล สินเชื่อเพื่อสวัสดิการพนักงาน และสินเชื่อตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกำหนด

 

ดังนั้น... หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล คือ การที่ลูกหนี้ได้ทำการกู้ยืมเงินไปจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงินและยังไม่ได้รับการชำระคืนตามเงื่อนไขนั่นเอง

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกฎหมายสินเชื่อส่วนบุคคลใหม่ และการกู้สินเชื่อผ่านดิจิทัล

 

ในปี 2563 ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายสินเชื่อส่วนบุคคลใหม่ที่ทำการกู้ผ่านช่องทางดิจิทัล โดยมีเรื่องที่น่ารู้ ที่จะช่วยให้การกู้เงินผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นไปได้อย่างรวดเร็วเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้

"ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลแก่ผู้บริโภคแต่ละรายรวมไม่เกิน 20,000 บาท และมีกำหนดระยะเวลาการชำระคืนสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลแต่ละสัญญาไม่เกิน 6 เดือน โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์ในการกู้ยืม และกำหนดอัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ รวมกันไม่เกินร้อยละ 25 ต่อปี  "

 

 

เป็นหนี้บัตรกดเงินสด หนี้สินเชื่อส่วนบุคคลเท่าไหร่ถึงโดนฟ้อง!?

 

หลายคนอาจสงสัยว่าต้องเป็นหนี้ของสินเชื่อส่วนุคคล และบัตรกดเงินสดมากแค่ไหนถึงจะถูกสถาบันทางการเงินทำการฟ้องร้อง!? แต่ที่จริงแล้วถ้าหากทำการอ่าน "สัญญา" การให้บริการของบัตรกดเงินสดและสินเชื่อส่วนบุคคลจะทราบได้ทันทีว่า ถ้าหากทำการผิดนัด ชำระหนี้ไม่ตรงเวลา ขอเพียงแค่ยอดของหนี้เท่ากับการกู้เงิน "ขั่นต่ำ" ในการกู้ยืมเงินตามปกติ ทางสถาบันทางการเงินก็จะสามารถทำการฟ้องร้องเพื่อดำเนินคดีบังคับการจ่ายหนี้ได้ตามกฏหมาย

 

โดนฟ้องสินเชื่อส่วนบุคคล : โดนฟ้องเท่ากับจบเร็ว อายุความคือกี่ปีกัน!?

 

เมื่อถูกฟ้องศาล...แม้จะตื่นตะหนกเพียงใดแต่ข้อดีของการเข้ากระบวนการศาลนั่นคือ คดีฟ้องร้องจะมีอายุความทันที โดยอายุความที่กำหนดของบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลจะมีระยะเวลาอยู่ที่ 2 ปีและ 5 ปี ตามลำดับ ในกรณีของเงินกู้ทั่วไปจะมีอายุความราวสิบปี หลังจากวันอ่านคำพิพากษา เจ้าหนี้จะดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลา 5 ปีในกรณีสินเชื่อส่วนบุคคล โดยมีข้อควรทำความเข้าใจดังนี้

 

 

3 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการถูกฟ้องเมื่อเป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล

 

ในกรณีที่ถูกฟ้องรองจากการเป็นหนี้สินเชื่อบุคคลนั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยสำคัญที่ควรทราบ ที่รับรองว่าระช่วยทำให้ไม่ต้องตื่นตระหนกจากการถูกฟ้องอย่างแน่นอน ส่วรจะมีข้อมูลที่มีประโยชน์อะไรกันบ้างนั้น มาติดตามอ่านกันได้เลย

 

1โดนฟ้องสินเชื่อส่วนบุคคล : คดีหนี้เป็นคดีแพ่ง ไม่ถูกสั่งจำคุก

 

ผู้คนมักเข้าใจว่าการถูกฟ้องในทุกรูปแบบจะต้องได้รับโทษจำคุก แต่ในกรณีของการผิดนัดชำระหนี้ถือเป็นคดีทางแพ่ง ลูกหนี้จะไม่ได้รับโทษจำคุกแต่อย่างใด โทษจะเป็นการถูกบังคับคดีให้นำเงินไปชำระหนี้ อาจด้วยการขายสินทรัพย์หรือยึดทรัพย์แต่จะไม่ติดคุกด้วยคดีไม่ชำระหนี้สินอย่างแน่นอนค่ะ

 

2โดนฟ้องสินเชื่อบุคคล : ศาลจะช่วยให้ความเป็นธรรมกับลูกหนี้

 

ในส่วนของเรื่องดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด เมื่อเข้าสู่กระบวนการศาลแล้วลูกหนี้จะได้รับความเป็นธรรมในเรื่องนี้ ศาลจะเป็นผู้ช่วยเหลือลูกหนี้หากว่าเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด คิดค่าธรรมเนียมต่างๆที่นอกเหนือจากสิ่งพึงกระทำ โดยศาลจะให้ความเป็นธรรมกับลูกหนี้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้ ไม่ได้ทอดทิ้งแม้จะเป็นฝ่ายจำเลยค่ะ

3โดนฟ้องสินเชื่อส่วนบุคคล : การบังคับคดีชำระหนี้

 

ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ได้ถือครองทรัพย์สินอื่น มีเพียงเงินเดือนเท่านั้น เจ้าหนี้จะทำการอายัดเงินเดือนตามกฎหมายกำหนด ตามกระบวนการคดี ในกรณีที่มีเจ้าหนี้มากกว่าหนึ่งราย การอายัดเงินเดือนเพื่อบังคับชำระจะทำได้ทีละรายเท่านั้น เจ้าหนี้รายต่อไปจะสามารถบังคับชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้รายก่อนหน้าได้รับการชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว

 

 

ถ้าไม่จ่ายหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลจะเป็นอย่างไร!?

 

หลายคนอาจสงสัยว่าถ้าหากไม่มีเงินไปทำการจ่ายชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลจะเกิดอะไรขึ้นมากันบ้าง!? ลองมาติดตามรายละเอียดที่น่าสนใจ ผ่านสรุปข้อมูลที่แสนเข้าใจง่ายดังต่อไปนี้กันได้เลย

 

พ.ร.บ. ทวงหนี้ รู้ไว้ใช่ว่า

 

โดยเจ้าหนี้สามารถทวงหนี้ได้ในวันและเวลาดังนี้เท่านั้น โดยในวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08:00 - 20:00 น. และในวันหยุดทวงได้เฉพาะเวลา 18:00 น. หากเจ้าหนี้ทวงนอกเวลาจะถูกปรับเงินเป็นจำนวนไม่เกินหนึ่งแสนบาทและหากการทวงมีการข่มขู่หรือใช้ความรุนแรง เจ้าหนี้จะถูกดำเนินคดีจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท โดยพ.ร.บ. ฉบับนี้ออกมาเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ให้ปลอดภัยจากการถูกข่มขู่หรือทำร้ายร่างกาย รวมถึงการทวงหนี้ไม่เป็นเวลาและเก็บค่าธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด ซึ่งลูกหนี้สามารถร้องเรียนได้ที่ว่าการอำเภอและสถานีตำรวจทุกแห่งหากได้รับความไม่สะดวกจากเจ้าหนี้และผู้ติดตามทวงหนี้

 

โดนฟ้องสินเชื่อส่วนบุคคล: อายุความฟ้องร้อง

 

1. หนี้บัตรเครดิต มีอายุความฟ้องร้องหลังจากการผิดนัดสัญญาเป็นเวลา 2 ปี

 

2. หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล มีอายุความฟ้องร้องหลังจากการผิดนัดสัญญาเป็นเวลา 5 ปี

 

3. หนี้วงเงินเบิกเกินบัญชี มีอายุความฟ้องร้องหลังจากการผิดนัดสัญญาเป็นเวลา 10 ปี

 

4. หนี้เงินกู้ มีอายุความฟ้องร้องหลังจากการผิดนัดสัญญาเป็นเวลา 10 ปี

 

5. หนี้บัตรสัญญาเช่าซื้อ มีอายุความฟ้องร้องหลังจากการผิดนัดสัญญาเป็นเวลา 2 ปี

 

โดนฟ้องสินเชื่อส่วนบุคคล : การผิดนัดสัญญา

 

กฎหมายการผิดชำระหนี้กล่าวว่า “นับจากวันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จนถึงวันที่ฟ้องร้อง” นั่นหมายถึงวันที่ถึงเวลาชำระหนี้ที่ต้องชำระเงินคืนแต่ท่านไม่ได้ชำระตามวันเวลากำหนด ไม่ใช่วันที่ได้ชำระครั้งสุดท้ายนะคะ ต้องเป็นวันแรกที่ไม่ได้ชำระ นี่เป็นอีกหนึ่งข้อสังเกตนะคะ ถ้าหากต้องการใช้วิธี ‘คดีขาดอายุความ’ ในชั้นศาลเพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ฟ้องได้ การคำนวณระยะเวลาผิดนัดชำระจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก และข้อควรระวังคือ ถึงแม้ท่านจะมั่นใจว่าคดีของท่านขาดอายุความแน่แล้ว แต่ถ้าหากถูกฟ้องร้องและมีหมายศาลเรียกแต่ท่านไม่ยอมไปต่อสู้คดีในชั้นศาล ท่านจะได้รับการพิพากษาให้มีความผิดและต้องชดใช้หนี้สินทันทีเพราะ ศาลจะพิจารณาว่าท่านหนีคดีความค่ะ

 

โดนหมายศาลสินเชื่อส่วนบุคคล มีขั้นตอนที่ควรรู้ก่อนไปขึ้นศาลอย่างไรบ้าง!?

 

สำหรับคนที่โดนหมายศาลสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นครั้งแรก อาจทำให้เกิดความกังวลใจว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรสำหรับการเดินทางไปขึ้นศาล แต่ที่จริงแล้วขั้นตอนดังกล่าวมีขั้นตอนที่ง่ายดาย ไม่ยุ่งยาก โดยสามารถทำการสรุปเป็นแนวทางได้ ดังต่อไปนี้

 

1.ยื่นเรื่องของทำการเลื่อนนัดกับศาล เพื่อทำการเจรจาไกล่เกลี่ยกับเจ้าหนี้ (*โดยทั่วไปสามารถขอยืดเวลานัดหมายได้ 1-2 เดือน)

2.ยื่นคำให้การเพื่อสู้คดีกับศาล

3.ทำการประนอมยอมความหน้าศาล

4.ศาลทำการพิจารณาพิพากษา พร้อมกับเลือกว่าจะทำการจ่ายหนี้ทั้งหมด หรือเจรจากับตัวแทนสถาบันการเงินว่าจะทำการชำระหนี้เป็นจำนวนมากน้อยเพียงใดและนานกี่งวด และในกรณีที่ไม่มีเงินจ่ายจริงๆ รอเวลาให้สถาบันทางการเงินทำเรื่องไปยังกรมบังคัยคดีเพื่อทำการอายัดเงินเดือน หรือทรัพย์สินบางส่วนมาใช้ในการชดใช้หนี้

 

ไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน แต่มีชื่อเป็นเจ้าบ้าน เจ้าหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลสามารถยึดทรัพย์ได้หรือเปล่า!?

 

ในกรณีที่ทำการตกลงไกล่เกลี่ยหนี้หนี้สินเชื่อส่วนบุคคลกับทางสถาบันทางการเงิน หลายคนอาจกังวลว่าบ้านอาจถูกยึดทรัพย์เพื่อนำเงินส่วนต่างจากการขายทอดตลาดมาใช้ในการชำระหนี้ตามกฏหมาย ในประเด็นนี้ ทางกฏหมายมักที่จะทำการสันนิษฐานเอาไว้ว่า "เจ้าบ้านคือเจ้าของบ้าน" ในขณะเดียวกัน แม้จมีชื่อเป็นเจ้าบ้าน แต่บ้านดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินของตัวเอง ก็จำเป็นที่จะต้องนำเอาเอกสารต่างๆมาช่วยในการพิสูจน์ขอเท็จจริงเสียก่อน ดังนั้น สถาบันทางการเงินเจ้าหนี้สินเชื่อส่่วนบุคคลก็จะไม่สามารถทำการยึดทรัพย์ได้ในทันที เนื่องจากต้องทำการพิสูจน์สิทธิในการเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงเสียก่อน

 

ถ้าหากไม่ได้รับหมายศาล แต่ถูกฟ้องร้องให้ขึ้นศาลฐานเป็นหนี้สินเชื่อบุคคลต้องทำอย่างไร!?

 

ถ้าหากใครถูกนัดไปขึ้นศาลเนื่องจากเป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล โดยที่ไม่เคยได้รับหมายศาลมาก่อน หรือทำให้เกิดการผิดนัดไม่ไปศาลตามกำหนดเนื่องมาจากไม่ได้รับหมายศาล ในกรณีควรทำารการเช็คตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไปกับสถาบันทางการเงินตอนที่ทำการกู้ยืมสินเชื่อส่วนบุคคลอีกครั้งว่าเคยมีหมายศาลส่งไปหรือเปล่า!? ถ้าหากไม่เคยได้รับ หรือไม่ทราบเกี่ยวกับหมายศาลจริงๆ ก็จำเป็นที่จะต้องไปพิสูจน์ในประเด็นนี้ที่ศาบอีกครั้ง และยื่นคำร้องเพื่อให้ยกคดีดังกล่าวขึ้นมาทำการพิจารณาอีกครั้ง

 

วิธีการนับอายุความหมายศาลของสินเชื่อส่วนบุคคล

 

คนส่วนใหญ่อาจไม่เคยทราบมาก่อนว่าการนับอายุความของคดรหมายศาลสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น ต้องเริ่มต้นจากวันไหนดี!? โดยทั่วไปแล้วอายุความของหมายศาลสินเชื่อส่วนบุคคลจะเริ่มนับจาก "วันที่ผิดนัดชำระเป็นครั้งสุดท้าย" ถึงจะถูกต้องมากที่สุด ไม่ใช้การชำระเป็นครั้งสุดท้าย

 

เป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลยังถูกฟ้องร้องขึ้นศาลได้หรือเปล่า!?

บัตร เครดิต กสิกร passion

 

หลายคนอาจสบายใจว่าเมื่อนับวันที่การขาดอายุความจากที่ได้แนะนำกันไปแล้วในตอนต้นแล้วพบว่าคดีหมดอายุความไปแล้ว แต่ที่จริงแล้วเจ้าหนี้ยังสามารถทำการฟ้องร้องได้ตามกฏหมายได้เช่นกัน ในกรณีให้ทำการยกประเด็นการ "ขาดอายุความ" ขึ้นมาสู้ในชั้นศาล เพื่อสร้างความได้เปรียบในชั้นศาลให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

 

 

 

โดนฟ้องสินเชื่อส่วนบุคคล : ส่งท้าย เมื่อถูกฟ้องร้องต้องตั้งสติ

สินเชื่อบุคคล ซิตี้

 

สินเชื่อบุคคล ซิตี้

 

 

ถึงแม้ว่าการถูกฟ้องร้องจะเป็นเรื่องราวใหญ่โต...

แต่หากท่านมาถึงขั้นนี้ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ตั้งสติและคิดหาวิธีประณีประนอมกับผู้เป็นเจ้าหนี้ อย่างน้อยหากมีการไกล่เกลี่ยเกิดขึ้นย่อมดีกว่าการเข้าสู่กระบวนบังคับคดีที่ท่านจะเป็นฝ่ายเสียมากกว่าได้ แต่ถึงอย่างไรข้อมูลด้านบนคงช่วยให้ข้อมูลกับท่านผู้ประสบปัญหาการถูกฟ้องร้องได้ไม่มากก็น้อยค่ะ

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ