Contents
- 1 ดาวน์รถแลกเงินผิดกฎหมายไหม ควรไปยุ่งเกี่ยวหรือเปล่า!?
- 2 “เงินดาวน์” (Down Payment) คืออะไร!?
- 3 ดาวน์รถแลกเงิน (Down Payment for Cash) คืออะไร!?
- 4 ขั้นตอนกลโกงของขบวนการดาวน์รถแลกเงิน ผิดกฎหมายไหมลองพิจารณาตามกัน!
- 5 ดาวน์รถแลกเงินผิดกฎหมายไหม!?
- 6 หลังจากที่ติดคุกจากการทำผิดกฎหมายคดีดาวน์รถแลกเงินต้องผ่อนค่ารถต่อไหม!?
- 7 ถ้าดาวน์รถแลกเงินผิดกฎหมาย แต่ต้องการเงินหมุนเวียนควรทำอย่างไร!?
- 8 บทสรุปส่งท้าย : การดาวน์รถแลกเงินผิดกฎหมายไหม!? อันตรายหรือเปล่า!?
ดาวน์รถแลกเงินผิดกฎหมายไหม ควรไปยุ่งเกี่ยวหรือเปล่า!?
ดาวน์รถแลกเงิน... สำหรับคนที่คุ้นเคยกับวงการเงินกู้อาจรู้จักความหมายของคำนี้เป็นอย่างดี แต่ถ้าหากใครยังใหม่กับคำนี้ แล้วกำลังให้ความสนใจอยากที่ทำธุรกรรมในด้านนี้ ขอแนะนำให้อย่าพึ่งใจร้อนแล้วหันมาอ่านบทความชิ้นนี้กันก่อนว่าที่จริงแล้วการดาวน์รถแลกเงินผิดกฎหมายไหม!? ผิดมากเพียงใด และมีขั้นตอนที่ควรรู้ให้เท่าทันอย่างไรกันบ้าง!? ถ้าหากใครพร้อมแล้วไปติดตามกันดีกว่าว่าการดาวน์รถแลกเงินผิดกฎหมายไหม!? จากบทความชิ้นนี้กันได้เลย...
“เงินดาวน์” (Down Payment) คืออะไร!?
เงินดาวน์ คือ เงินก้อนที่นำไปจ่ายให้กับธนาคารเพื่อตัดยอดของก็สินเชื่อบ้าน หรือรถยนต์ โดยทั่วไปแล้วเงินดาวน์ดังกล่าวจะต้องจ่ายประมาณ 20% ของราคาบ้านหรือรถยนต์ แต่ในบางครั้งผู้จำหน่ายบ้านและรถยนต์ก็อาจมีโปรโมชั่นที่น่าสนใจอย่าง ฟรี! เงินดาวน์ หรือโปรโมชั่นเงินดาวน์แบบ 0% ที่ถูกอกถูกใจคนที่ไม่อยากเก็บหอมรอมริบเงินก้อนที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน
ดาวน์รถแลกเงิน (Down Payment for Cash) คืออะไร!?
ดาวน์รถแลกเงิน คือ “เงินกู้นอกระบบรูปแบบหนึ่ง” เป็นเทคนิคการหลอกลวงให้เกิดหนี้จำนวนมาก โดยการใช้บริษัทรถยนต์เข้ามามีส่วนร่วมดัวย
ขั้นตอนกลโกงของขบวนการดาวน์รถแลกเงิน ผิดกฎหมายไหมลองพิจารณาตามกัน!
1.ผู้ปล่อยกู้จะทำการโฆษณาส่วนใหญ่ผ่านทางออนไลน์ว่า ต้องการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
2.ผู้ที่สนใจสมัครดาวน์รถแลกเงินทำการติดต่อ
3.ผู้ปล่อยกู้จะหลอกล่อให้ผู้ต้องการกู้ทำการซื้อรถยนต์หรือจักรยานยนต์แบบเจาะจงยี่ห้อและรุ่นที่มีราคาสูง โดยให้ทำการวางเงินดาวน์รถเหล่านั้น
4.เมื่อทำการวางเงินดาวน์ได้รับรถแล้ว ผู้ปล่อยกู้จะให้นำรถเหล่านั้นมามอบให้เพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้
5.ลูกค้าทำการผ่อนชำระเงินกู้คืนให้กับผู้ปล่อยกู้ตามปกติ
6.หลังจากผ่อนชำระได้นานประมาณ 2 เดือน ผู้ปล่อยกู้จะให้ผู้กู้ทำการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ารถที่ซื้อมาถูกขโมย
7.ลูกค้านำหลักฐานการแจ้งความไปติดต่อกับบริษัทประกัน เมื่อได้รับเงินชดเชย หลังจากนั้นผู้กู้ต้องนำเงินดังกล่าวไปจ่ายให้กับผู้ปล่อยกู้
8.ผู้ปล่อยกู้จะนำรถไปแยกชิ้นส่วนขาย หรือหลอกลวงขายต่อให้กับผู้อื่นว่าเป็นรถหลุดจำนำ แบบไม่มีทะเบียน เป็นต้น
ดาวน์รถแลกเงินผิดกฎหมายไหม!?
การดาวน์รถแลกเงิน ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ดังนั้น ถ้าหากถามว่าดาวน์รถแลกเงินติดคุกไหม!? ขอตอบเลยว่า “ติดแน่” โดยมีรายละเอียดของบทลงโทษทางกฎหมายที่ควรทราบ ดังต่อไปนี้
- ข้อหาแจ้งความเท็จ มีความผิดอาญา โทษจำคุก 5 ปีและปรับไม่เกิน 4,000 บาท (*ส่วนใหญ่มักติดคุกโดยไม่รอลงอาญา)
- ข้อหายักยอกทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา ตามมาตรา 352 กรณีผู้เช่าซื้อขายรถให้กับเต็นท์หรือบุคคลอื่น หรือนำรถไปจำนำ หรือนำรถให้เช่าต่อและติดตามรถคืนให้แก่บริษัทไฟแนนซ์ไม่ได้ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ผู้รับซื้อดาวน์รถแลกเงิน ถือว่ามีความผิดในโทษฐานรับซื้อของโจร ตามาตรา 357 ระวางจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หลังจากที่ติดคุกจากการทำผิดกฎหมายคดีดาวน์รถแลกเงินต้องผ่อนค่ารถต่อไหม!?
หลายคนอาจคิดว่าหลังจากที่ติดคุกไปแล้ว เพื่อชดเชยในความผิดที่ได้ก่อขึ้นจะรอดตัว แต่ที่จริงแล้วหลังตากที่พ้นโทษออกมาจากคุกแล้ว ก็ยังต้องทำการผ่อนชำระค่ารถที่นำไปให้นายทุนดาวน์รถแลกเงิน รวมถึงดอกเบี้ยในการผ่อนอีกด้วย ในขณะที่รถที่นำไปจำนำเอาไว้ก็จะถูกนำไปขายต่อหรือแยกชิ้นส่วนขายอย่างผิดกฎหมาย
ถ้าดาวน์รถแลกเงินผิดกฎหมาย แต่ต้องการเงินหมุนเวียนควรทำอย่างไร!?
สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องเงินทุนจริงๆ ก็ยังมีทางเลือกอื่นเช่น การนำรถไปเข้าโครงการสินเชื่อรถผ่อนอยู่ก็กู้ได้ของสถาบันทางการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพียงเท่านี้ก็จะได้รับเงินทุนมาหมุนเวียนใช้จ่ายและยังไม่ต้องกังวลว่าจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายเหมือนกับการดาวน์รถแลกเงินอีกด้วย แต่อย่าลืมผ่อนชำระคืนให้กับทางสถาบันทางการเงินอย่างสม่ำเสมอด้วย ไม่อย่างนั้นก็อาจต้องเสี่ยงกับการแบกภาระอัตราดอกเบี้ยและอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายเพื่อเร่งรัดการจ่ายหนี้สินได้เช่นกัน
บทสรุปส่งท้าย : การดาวน์รถแลกเงินผิดกฎหมายไหม!? อันตรายหรือเปล่า!?
จากข้อมูลในตอนต้นจะเห็นได้ว่า... การดาวน์รถแลกเงินผิดกฎหมายอย่างแน่นอน แต่รับรองว่าบรรดาเหล่าผู้ปล่อยกู้นอกระบบในลักษณะนี้จะไม่ให้การยอมรับอย่างแน่นอน แต่ถ้าถามว่าดาวน์รถแลกเงินผิดกฎหมายไหม!? ก็มีตำรวจและทนายหลายคนที่ออกมาฟันธงแล้วว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แถมยังมีการพูดถึงโทษทัณฑ์ที่ได้รับเอาไว้อย่างชัดเจนออกสื่อกระแสหลักกันอย่างมากมาย ดังนั้น ถ้าหากใครกำลังสนใจดาวน์รถแลกเงินขอให้คิดใหม่ แล้วหันไปพึ่งสินเชื่อเงินสดอย่างอื่นที่ถูกต้องตามกฎหมายจะดีกว่า...