ยืมเงิน ธ ออมสิน
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

เจาะลึก KYC คืออะไร!? มีขั้นตอนที่ควรทราบอย่างไรกันบ้าง!?

ขั้นตอน KYC คือ

 

หลายคนอาจสงสัยว่าคำว่า “KYC” คืออะไร!?... ย่อมาจากอะไร และมีประโยชน์ทำอะไรได้บ้าง!? โดยเฉพาะกับมือใหม่ที่พึ่งให้ความสนใจศึกษากับเรื่องของการเงิน ดังนั้น เพื่อให้สามารถเข้าใจได้อย่างง่ายดายมากขึ้นว่าที่จริงแล้ว KYC คืออะไร!? และมีขั้นตอนที่น่าสนใจควรทราบอะไรกันบ้างนั้น ลองมาติดตามอ่านจากบทความชิ้นนี้กันได้เลย

 

มาทำความรู้จักกับ KYC กันก่อนว่ามันคืออะไรกันแน่!?

ขั้นตอน KYC คือ

 

KYC ย่อมาจากคำว่า “Know Your Customer” หากแปลเป็นไทยอย่างตรงตัวก็คือ “กระบวนการทำความรู้จักกับลูกค้า” ที่ช่วยในการระบุและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง (Identification and Verification) นอกจากนี้ KYC เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพราะธนาคารและสถาบันทางการเงินเป็นเส้นทางการเงินที่เปิดโอกาสให้เกิดการก่ออาชญากรรม

KYC จึงเป็นการยืนยันและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการโจรกรรมที่ ณ ปัจจุบันได้มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมไปถึงช่องทางในการขโมยข้อมูลเองก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นตามไปด้วยการอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เกิดการขโมยเลขบัตรเครดิตหรือเลขประกันสังคม เป็นต้น เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายมากขึ้น

จากกฎหมายดังกล่าว ทำให้มีการบังคับให้ธนาคารและสถาบันทางทางการเงินต้องทำการตรวจสอบลูกค้าทุกคนที่ทำการเปิดบัญชี เช่น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล บุคคล ที่ไม่มีความสามารถตามกฎหมาย (ผู้เยาว์) และองค์กรที่ไม่ใช้นิติบุคคล เช่น ชมรมชุมชน เป็นต้น ด้วยการทำ KYC นั่นเอง อย่างไรก็ตาม  KYC ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีธนาคารหรือทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผู้ใช้งานจะต้องทำการเปิดเผยข้อมูลและผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อมูลของลูกค้าหรือ CDD ที่ย่อมาจาก Customer Due Diligence เป็นต้น

ขั้นตอนในการทำ KYC คืออะไรกันบ้าง!?

ขั้นตอน KYC คือ

 

เพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลว่าบุคคลที่ต้องการทำ KYC คือคนที่มีตัวตนอยู่จริง ไม่ได้เป็นการแอบอ้าง ต้องทำการแจ้งข้อมูลที่มีความถูกต้อง โดยขั้นตอนจะเป็นการส่งข้อมูลส่วนตัว เพื่อให้ทางธนาคารและสถาบันทางการเงินนำไปใช้ในการเปรียบเทียบพิสูจน์ตัวตนในภายหลังและยังเป็นการพิสูจน์ว่าผู้สมัครรใช้บริการมีตัวตนอยู่จริงไม่ใช่การแอบอ้าง ปลอมแปลง ใช้ข้อมูลปลอมที่นำไปสู่การโกง โดยอ้างอิงจากเอกสารตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • บัตรประชาชน หรือพาสสปอร์ต
  • หมายเลขโทรศัพท์
  • อีเมล
  • ที่อยู่
  • Stamen ของธนาคาร
  • บิลใบเสร็จค่าน้ำค่าไฟฟ้า และโทรศัพท์

ขั้นตอนตรวจสอบข้อมูล KYC คืออะไรบ้าง!?

ขั้นตอน KYC คือ

 

โดยทั่วไปแล้วขั้นตอนการทำ KYC จะเกิดขึ้นในขั้นตอนการสมัครใช้บริการของธนาคารและสถาบันทางการเงิน โดยทางธนาคารจะมีแบบฟอร์มให้กับลูกค้าทำการกรอก โดยมีรายละเอียดของแบบฟอร์มที่ควรทราบก่อนเดินทางไปยังธนาคาร รวมไปถึงมีเอกสารประกอบที่ควรเตรียมให้พร้อม เพื่อให้ขั้นตอนการสมัครคือเรื่องที่ง่ายดายมากยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้

 

ขั้นตอนและเอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร : บุคคลธรรมดา

ขั้นตอน KYC คือ

 

โดยทั่วไปแล้วเอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร สำหรับบุคคลธรรมดานั้น จำเป็นจะต้องกรอกข้อมูลและมีเอกสาร ดังต่อไปนี้

  • เอกสาร เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง บัตรอื่นๆ
  • ชื่อ-นามสกุล
  • ประวัติส่วนตัว
  • ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
  • ที่อยู่ปัจจุบันในประเทศไทย (ที่ติดต่อได้)
  • ชื่อสถานที่ทำงาน
  • อาชีพ
  • แหล่งที่มาของรายได้
  • ประเทศแหล่งที่มาของรายได้

ขั้นตอนและเอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร : นิติบุคคล

ขั้นตอน KYC คือ

 

  • สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ไม่เกิน 6 เดือน
  • หนังสือแสดงการจดทะเบียนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ประเภทของบริษัท
  • ชื่อบริษัท
  • ประเภทของกิจการ
  • ประเทศที่ทำธุรกิจ
  • รายได้ประมาณ
  • เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
  • สถานที่ตั้ง

ขั้นตอนและเอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร : ผู้เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลที่เป็นบุคคลธรรมดา

ขั้นตอน KYC คือ

 

โดยทั่วไปแล้วเอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร สำหรับให้ผู้เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลที่เป็นบุคคลธรรมดานั้น จำเป็นจะต้องกรอกข้อมูลและมีเอกสาร ดังต่อไปนี้

  • เอกสาร เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือ Passport และเลขที่บัตรต่างด้าว
  • ชื่อ-นามสกุล
  • ประเภทของธุรกิจ
  • อาชีพ
  • สาขาอาชีพ
  • ที่อยู่ของสถานที่ทำงาน
  • ทรัพย์สินของลูกค้ามีที่มาจาก
  • มูลค่าของทรัพย์สินโดยประมาณ
  • ประเทศที่มาของรายได้

 

บทสรุปส่งท้าย : การทำ KYC คือขั้นตอนที่สำคัญจริงหรือเปล่า!?

ขั้นตอน KYC คือ

 

          ขั้นตอนการทำ KYC คือ ข้อกำหนดที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยและ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้มีการกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น ธนาคารและสถาบันทางการเงินทุกแห่ง จึงต้องให้ความสำคัญในประเด็นนี้คืออย่างมาก และที่สำคัญยังเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้มีผู้แอบอ้างนำข้อมูลของคุณไปใช้ธุรกรรมทางการเงินที่จะเป็นการสร้างความเสียหายในระยะยาวทั้งด้านชื่อเสียงและการเงิน ซึ่งเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างแน่นอน...

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
สมัครทำบัตรเครดิตธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ค่าธรรมเนียม ตรวจสอบสถานะ จัดส่งกี่วัน
ธนาคาร/สถาบันการเงินผู้ให้บริการบัตรเครดิต
วิธีสมัครทำบัตรเครดิตธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ฟรีค่าธรรมเนียม ตรวจสอบสถานะง่าย จัดส่งในไม่กี่วันมาฟังชาว Pntip กัน
รวมทุกเรื่องที่คนอยากสมัครทำบัตรเครดิต ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ควรรู้จา...