Contents
- 1 ประกันสุขภาพของต่างด้าว เรื่องใหญ่ใกล้ตัวที่นายจ้างไม่ควรมองข้าม!
- 2 ประเภทของแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย
- 3 กองทุนประกันสังคมแรงงานต่างด้าว
- 4 สถานพยาบาลสำหรับแรงงานต่างด้าวที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
- 5 เขตกรุงเทพฯ
- 6 โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค
- 7 เงื่อนไขในการใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว
- 8 สิทธิพื้นฐานของประกันสุขภาพของต่างด้าว
- 9 ประกันสุขภาพของต่างด้าว กรณีการรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง
- 10 ประกันสุขภาพของต่างด้าว กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน
- 11 การส่งต่อผู้ป่วยชาวต่างชาติเพื่อการรักษาระหว่างสถานพยาบาล
- 12 บทสรุปส่งท้าย : ประกันสุขภาพของต่างด้าวเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจหรือเปล่า!?
ประกันสุขภาพของต่างด้าว เรื่องใหญ่ใกล้ตัวที่นายจ้างไม่ควรมองข้าม!
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า... ในปัจจุบันประเทศไทยในภาคของการใช้แรงงานนั้น แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมีความสำคัญอย่างมากในการผลักดันให้ยังคงสามารถเดินต่อไปได้ เพราะแรงงานต่างด้าวนั้นมีราคาของค่าจ้างที่ถูกและยังทำงานหนักได้ดีโดยไม่ค่อยบ่นเรียกร้องสิทธิ์นัก ทำให้หลายแห่งยังคงนิยมใช้แรงงานต่างด้าวเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการนำต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายนั้น นายจ้างก็ควรทราบถึงสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลของอย่างประกันสุขภาพของต่างด้าวตามกฎหมายด้วยเช่นกัน เผื่อเอาไว้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันจากการทำงานหรือต่างด้าวเกิดอาการเจ็บป่วยจะได้สามารถทำการรักษาได้อย่างเหมาะสม ส่วนเรื่องของประกันสุขภาพของต่างด้าวจะมีอะไรที่น่าสนใจกันบ้างนั้น ลองมาติดตามอ่านได้ผ่านบทความชิ้นนี้กันได้เลย
ประเภทของแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย
ในปัจจุบันแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็นสามกลุ่มดังต่อไปนี้
1.กลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชาที่หลบหนีเข้าเมืองและได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศัยและทำงานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวตามมติของคณะรัฐมนตรี
2.กลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชาที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ
3..กลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชารายใหม่ที่นำเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการจัดการแรงงานระหว่างรัฐ (MOU)
กองทุนประกันสังคมแรงงานต่างด้าว
ต้องทำการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมและทำการจ่ายเงินสมทบให้กับกองทุนประกันสังคมในอัตรา 5% ของค่าจ้าง และนายจ้างจ่ายสมทบอีก 5% รัฐบาล 2.75% โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ 7 ข้อ ดังต่อไปนี้
- กรณีเจ็บป่วย
- ประสบอุบัติเหตุ
- ทุพพลภาพ
- เสียชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน
- คลอดบุตร
- สงเคราะห์บุตร
- ชราภาพ
- ว่างงาน
*ยกเว้นกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ทำการพิสูจน์สัญชาติแล้วและกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่นำเข้าตาม MOU ที่ทำงานในประเภทงานรับใช้ในบ้าน เกษตร ปศุสัตว์ ประมง ค้าขายที่มิใช่ธุรกิจ ไม่ต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคม แต่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขโดยซื้อประกันสุขภาพ 1,300 บาท
สถานพยาบาลสำหรับแรงงานต่างด้าวที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
เขตกรุงเทพฯ
- โรงพยาบาลราชวิถี
- โรงพยาบาลพรัตนราชธานี
- โรงพยาบาลเลิดสิน
- โรงพยาบาลกลาง
- วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
- โรงพยาบาลตากสิน
- โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
- โรงพยาบาลบางกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค
กำหนดสถานพยาบาลที่ให้บริการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ ณ โรงพยาบาลของรัฐ
เงื่อนไขในการใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว
1.แจ้งสิทธิ์กับสถานพยาบาลทุกครั้งที่มาใช้บริการ พร้อมแสดงใบอนุญาตทำงาน
2.กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน สามารถใช้บริการโรงพยาบาลทุกแห่งใกล้ที่เกิดเหตุ โดยนายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามเงื่อนไข
3.รวมค่าใช้จ่ายในการรับบริการครั้งละ 30 บาท
4.การประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวจะครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ การรักษาพยาบาล การควบคุมและป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ เป็นต้น
สิทธิพื้นฐานของประกันสุขภาพของต่างด้าว
- สำหรับสิทธิ์ประกันสุขภาพของต่างด้าวนั้น มีสิ่งที่นายจ้างควรทราบดังต่อไปนี้
- การตรวจ วินิจฉัย บำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา รวมแพทย์ทางเลือกที่ผ่านการรับรองของคณะกรรมการประกอบโรคศิลป์
- การถอนฟัน (*รวมถึงการผ่าตัดฟันคุด) การอุดฟัน การขูดหินปูน
- บริการอาหารและห้องผู้ป่วยสามัญ
- ยาและเวชภัณฑ์ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ
- การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างสถานพยาบาล
ประกันสุขภาพของต่างด้าว กรณีการรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง
การรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูงตามเงื่อนไขค่าใช้จ่ายที่คณะทำงานประกันสุขภาพตรวจสุขภาพ และรักษาพยาบาลแรงงานต่างด้าวตามที่ส่วนกลางกำหนด
ประกันสุขภาพของต่างด้าว กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน
กรณีเกิดออุบัติเหตุฉุกเฉินสามารถใช้บริการของสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนประกันตน โดยทั้งนี้จังหวัด หรือกรมการแพทย์ อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
การส่งต่อผู้ป่วยชาวต่างชาติเพื่อการรักษาระหว่างสถานพยาบาล
กรณีที่สถานพยาบาลที่แรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนประกันตนเอาไว้ส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่นเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และระบบประกันสุขภาพ กรณีผู้ป่วยออกนอกเขตจังหวัด สถานพยาบาลจะต้องทำหนังสือขออนุญาต พร้อมแนบรูปถ่ายแรงงาน 2 ใบ ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทุกครั้ง ในกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามที่กรมการแพทย์กำหนด
บทสรุปส่งท้าย : ประกันสุขภาพของต่างด้าวเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจหรือเปล่า!?
นอกเหนือจากเรื่องของสิทธิมนุษยธรรม... ประกันสุขภาพของต่างด้าวยังเป็นสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับลูกจ้างที่พึงมี เพราะหากลูกจ้างชาวต่างด้าวมีสุขภาพที่ดีก็จะสามารถช่วยทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ประกันสุขภาพของต่างด้าวจึงเป็นสิ่งที่นายจ้างควรให้ความใส่ใจ และไม่ควรมองข้ามด้วยประการทั้งปวง...