E KYC ประเทศไทย
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

มารู้จักกับแบบฟอร์ม KYC ธนาคารออมสิน คำร้องที่ผู้ทำธุรกรรมออมสินควรรู้!

แบบฟอร์ม KYC ธนาคารออมสิน

 

การทำธุรกรรมการเงิน ณ ปัจจุบัน... การทำ KYC ถือว่าเป็นขั้นตอนที่จำเป็นอย่างมาก แต่หลายคนอาจสงสัยว่า KYC คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรและถ้าหากต้องการทำธุรกรรมกับทางธนาคารออมสินจะสามารถทำการขอเอกสารแบบฟอร์มได้ที่ไหนกันบ้าง!? ถ้าหากใครกำลังมีปัญหาเหล่านี้อยู่ใน รับรองว่าบทความนี้คำตอบที่พร้อมช่วยคลายความสงสัยได้อย่างแน่นอน

 

การทำ KYC ของธนาคารออมสินคืออะไร!? มีความสำคัญอย่างไรกันบ้าง!?

แบบฟอร์ม KYC ธนาคารออมสิน

 

KYC ย่อมาจากคำว่า “Know Your Customer” หากแปลเป็นไทยอย่างตรงตัวก็คือ “กระบวนการทำความรู้จักกับลูกค้า” ที่ช่วยในการระบุและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง (Identification and Verification) นอกจากนี้ KYC เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพราะธนาคารและสถาบันทางการเงินเป็นเส้นทางการเงินที่เปิดโอกาสให้เกิดการก่ออาชญากรรม

KYC จึงเป็นการยืนยันและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการโจรกรรมที่ ณ ปัจจุบันได้มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมไปถึงช่องทางในการขโมยข้อมูลเองก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นตามไปด้วยการอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เกิดการขโมยเลขบัตรเครดิตหรือเลขประกันสังคม เป็นต้น เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายมากขึ้น

จากกฎหมายดังกล่าว ทำให้มีการบังคับให้ธนาคารและสถาบันทางทางการเงินต้องทำการตรวจสอบลูกค้าทุกคนที่ทำการเปิดบัญชี เช่น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล บุคคล ที่ไม่มีความสามารถตามกฎหมาย (ผู้เยาว์) และองค์กรที่ไม่ใช้นิติบุคคล เช่น ชมรมชุมชน เป็นต้น ด้วยการทำ KYC นั่นเอง อย่างไรก็ตาม  KYC ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีธนาคารหรือทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผู้ใช้งานจะต้องทำการเปิดเผยข้อมูลและผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อมูลของลูกค้าหรือ CDD ที่ย่อมาจาก Customer Due Diligence เป็นต้น

ขั้นตอนที่ควรทราบในการทำ KYC กับธนาคารออมสิน

แบบฟอร์ม KYC ธนาคารออมสิน

 

เพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลว่าบุคคลที่ต้องการทำ KYC คือคนที่มีตัวตนอยู่จริง ไม่ได้เป็นการแอบอ้าง ต้องทำการแจ้งข้อมูลที่มีความถูกต้อง โดยขั้นตอนจะเป็นการส่งข้อมูลส่วนตัว เพื่อให้ทางธนาคารและสถาบันทางการเงินนำไปใช้ในการเปรียบเทียบพิสูจน์ตัวตนในภายหลังและยังเป็นการพิสูจน์ว่าผู้สมัครรใช้บริการมีตัวตนอยู่จริงไม่ใช่การแอบอ้าง ปลอมแปลง ใช้ข้อมูลปลอมที่นำไปสู่การโกง โดยอ้างอิงจากเอกสารตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • บัตรประชาชน หรือพาสสปอร์ต
  • หมายเลขโทรศัพท์
  • อีเมล
  • ที่อยู่
  • Stamen ของธนาคาร
  • บิลใบเสร็จค่าน้ำค่าไฟฟ้า และโทรศัพท์

 

เอกสารประกอบการทำ KYC และข้อมูลที่ต้องกรอกในแบบฟอร์มของธนาคารออมสิน

แบบฟอร์ม KYC ธนาคารออมสิน

 

โดยทั่วไปแล้วเอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคารออมสิน สำหรับบุคคลธรรมดานั้น จำเป็นจะต้องกรอกข้อมูลและมีเอกสาร ดังต่อไปนี้

  • เอกสาร เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง บัตรอื่นๆ
  • ชื่อ-นามสกุล
  • ประวัติส่วนตัว
  • ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
  • ที่อยู่ปัจจุบันในประเทศไทย (ที่ติดต่อได้)
  • ชื่อสถานที่ทำงาน
  • อาชีพ
  • แหล่งที่มาของรายได้
  • ประเทศแหล่งที่มาของรายได้

ขั้นตอนและเอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร : นิติบุคคล

แบบฟอร์ม KYC ธนาคารออมสิน

 

  • สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ไม่เกิน 6 เดือน
  • หนังสือแสดงการจดทะเบียนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ประเภทของบริษัท
  • ชื่อบริษัท
  • ประเภทของกิจการ
  • ประเทศที่ทำธุรกิจ
  • รายได้ประมาณ
  • เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
  • สถานที่ตั้ง

 

อยากดาวน์โหลดแบบฟอร์ม KYC และธุรกรรมสินเชื่อของธนาคารออมสินทำได้จากที่ไหนบ้าง!?

แบบฟอร์ม KYC ธนาคารออมสิน

 

สำหรับคนที่ต้องการอยากที่จะดาวน์โหลดแบบฟอร์ม KYC ของธนาคารออมสิน สามารถทำได้ผ่านทางช่องทางออนไลน์ จาก Link ดังต่อไปนี้กันได้เลย!

 

 

 

บทสรุปส่งท้าย : แบบฟอร์ม KYC ธนาคารออมสิน สำคัญหรือเปล่า!?

แบบฟอร์ม KYC ธนาคารออมสิน

 

          แบบฟอร์ม KYC ธนาคารออมสิน... เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป้นข้อมูลสำหรับช่วยยืนยันตัวตนสำหรับธนาคารเพื่อป้องกันไม่ให้เหล่าอาชญากรนำชื่อของคุณไปแอบอ้างแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่จะช่วยให้ธนาคารป้องกันการฟอกเงินหรือกลายเป็นแหล่งส่งมอบเงินทุนให้กับผู้ก่อการร้าย ซึ่งเป็นอันตรายต่อสังคมอย่างมากอีกด้วย...

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
บัตร กด เงินสด เฟิ ร์ ส ช้อย ส์
ธนาคาร/ผู้ให้บริการบัตรกดเงินสด
สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้ตลอด 24 ชม.!! กับ “บัตรกดเงินสดกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์”
บัตรกดเงินสดกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ บัตรที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้คุณกดเงิน...