Contents
- 1 e-KYC เทคโนโลยีน่าสนใจที่จะช่วยให้การยืนยันตัวตนและทำธุรกรรมการเงินในประเทศไทยรวดเร็ว ปลอดภัยกว่าเดิม
- 2 KYC คืออะไรและมีความสำคัญที่น่าสนใจอย่างไรบ้างสำหรับประเทศไทย!?
- 3 เทคโนโลยี e-KYC คืออะไร!? มีความสำคัญแค่ไหนกับประเทศไทย!?
- 4 3.ระบบ e-KYC ที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทย
- 5 1.ระบบ e-KYC ในประเทศไทย Biometric Authentication
- 6 “ตู้บุญเติม” ระบบ e-KYC แบบ Biometric Authentication ของประเทศไทย
- 7 2.ระบบ e-KYC ในประเทศไทย Digital ID verification
- 8 3.ระบบ e-KYC ในประเทศไทย Geolocation and Identity Verification
- 9 บทสรุปส่งท้าย : เทคโนโลยี e-KYC สำคัญกับประเทศไทยเพียงใด!?
e-KYC เทคโนโลยีน่าสนใจที่จะช่วยให้การยืนยันตัวตนและทำธุรกรรมการเงินในประเทศไทยรวดเร็ว ปลอดภัยกว่าเดิม
ในปัจจุบัน.. ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่ามีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทำให้ในประเทศไทยมีการนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันกันอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงถูกนำมาใช้เพื่อช่วยให้สถาบันทางการเงินยืนยันตัวตอนของผู้ใช้บริการที่ต้องการเปิดบัญชีและทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างสะดวกสบายรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการพยายามพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆมากขึ้นมามากมาย ซึ่งเทคโนโลยี e-KYC ในประเทศไทยจะก้าวหน้าไปแค่ไหน และมีอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง!? ลองมาติดตามอ่านกันเลย
KYC คืออะไรและมีความสำคัญที่น่าสนใจอย่างไรบ้างสำหรับประเทศไทย!?
KYC ย่อมาจากคำว่า “Know Your Customer” หากแปลเป็นไทยอย่างตรงตัวก็คือ “กระบวนการทำความรู้จักกับลูกค้า” ที่ช่วยในการระบุและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง (Identification and Verification) นอกจากนี้ KYC เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพราะธนาคารและสถาบันทางการเงินเป็นเส้นทางการเงินที่เปิดโอกาสให้เกิดการก่ออาชญากรรม
KYC จึงเป็นการยืนยันและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการโจรกรรมที่ ณ ปัจจุบันได้มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมไปถึงช่องทางในการขโมยข้อมูลเองก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นตามไปด้วยการอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เกิดการขโมยเลขบัตรเครดิตหรือเลขประกันสังคม เป็นต้น เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายมากขึ้น
จากกฎหมายดังกล่าว ทำให้มีการบังคับให้ธนาคารและสถาบันทางทางการเงินต้องทำการตรวจสอบลูกค้าทุกคนที่ทำการเปิดบัญชี เช่น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล บุคคล ที่ไม่มีความสามารถตามกฎหมาย (ผู้เยาว์) และองค์กรที่ไม่ใช้นิติบุคคล เช่น ชมรมชุมชน เป็นต้น ด้วยการทำ KYC นั่นเอง อย่างไรก็ตาม KYC ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีธนาคารหรือทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผู้ใช้งานจะต้องทำการเปิดเผยข้อมูลและผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อมูลของลูกค้าหรือ CDD ที่ย่อมาจาก Customer Due Diligence เป็นต้น
เทคโนโลยี e-KYC คืออะไร!? มีความสำคัญแค่ไหนกับประเทศไทย!?
e-KYC คือ การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic Know-Your-Customer) หรือ การทำความรู้จักกับลูกค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการระบุตัวตนและยืนยันตัวตนที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม แทนการทำ KYC แบบเดิม ที่มีความยุ่งยากเสียเวลา เพราะจะต้องให้ผู้ทำการยืนยันตัวตนต้องทำการกรอกข้อมูล ส่งเอกสาร รวมไปถึงการเดินทางไป “แสดงตัวตน” ต่อหน้าของเจ้าหน้าที่สถาบันทางการเงิน
3.ระบบ e-KYC ที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทย
สำหรับระบบของ e-KYC ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยนั้น ในปัจจุบันได้มีอยู่ทั้งหมด 3 แบบ โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
1.ระบบ e-KYC ในประเทศไทย Biometric Authentication
เป็นเทคโนโลยีป้องกันการทำ KYC ด้วยการเข้าระบบผ่านการยืนยันตัวตนโดยอาศัยข้อมูลทางชีวมิติ เช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา การจดจำใบหน้า เป็นต้น
“ตู้บุญเติม” ระบบ e-KYC แบบ Biometric Authentication ของประเทศไทย
ตู้บุญเติม เป็นตู้ทำธุรกรรมการเงินสำหรับใช้ในการเติมเงินโทรศัพท์มือถือ มีลักษณะเป็นตู้สีส้มที่สามารถพบเห็นได้ตามบริเวณหน้าร้านสะดวกซื้อทั่วไป ในสมัยก่อนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่หลังจากที่ค่ายบริษัทมือถือพยายามออกโปรโมชั่นให้คนสนใจเปลี่ยนการเติมเงิน ไปเป็นลูกค้าแบบรายเดือน ทำให้ตู้บุญเติมเองก็ค่อยๆลดบทบาทความสำคัญลง แต่ในขณะเดียวกัน ตู้บุญเติมก็ได้เปลี่ยนมามีบทบาทในการร่วมมือกับสถาบันการเงินและธนาคารในการเป็นจุด e-KYC ด้วยเทคโนโลยี Facial Recognition การยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า ที่ทำการตรวจจับจุดบนใบหน้า 512 จุด ซึ่งแต่ละจุดจะแทนรหัสผ่าน 1 ตัว ทำให้เป็นการยากในการปลอมแปลงข้อมูลรหัสทั้งหมดเป็นอย่างมาก เพื่อให้เป็นจุดยืนยันการทำธุรกรรมการเงินที่สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
2.ระบบ e-KYC ในประเทศไทย Digital ID verification
การยืนยันตัวตนโดยอาศัยถ่ายภาพหนังสือเดินทาง (Passport) บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรเครดิต เป็นต้น เพื่อส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการยืนยันตัวตนต่อไป เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในหน่วยงานทางราชการ
3.ระบบ e-KYC ในประเทศไทย Geolocation and Identity Verification
เป็นการยืนยันตัวตน ด้วยการนำสถานที่ในการทำธุรกรรม เข้ามาช่วยในการตรวจสอบอีกชั้นหนึ่งของ Mobile APP ว่าที่อยู่ ณ บริเวณนั้น มีการทำธุรกรรมเกิดขึ้นจริง วิธีการนี้ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการก่ออาชญากรรมทางการเงินได้เป็นอย่างดี
บทสรุปส่งท้าย : เทคโนโลยี e-KYC สำคัญกับประเทศไทยเพียงใด!?
หากเทคโนโลยี e-KYC ในประเทศไทยได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น นอกจากจะช่วยลดอาชญากรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นให้ลดน้อยลงได้เป็นอย่างมากแล้ว e-KYC ยังช่วยส่งเสริมให้การเข้าถึงด้านธุรกรรมทางการเงินเติบโตกว่าเดิมได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว เนื่องจากการใช้งาน e-KYC นั้น มีข้อดีสำหรับคนไทยที่ไม่รู้หนังสือหรือไม่ค่อยมีความรู้ด้านเทคโนโลยี ก็ยังสามารถใช้งาน e-KYC ได้อย่างง่ายดายเป็นอย่างมากนั่นเอง....