Contents
- 1 รู้ก่อน ลดภาษีก่อน ด้วยประกันชีวิตลดหย่อนภาษีตามสัดส่วนที่กรมสรรพากรกำหนด
- 2 ข้อกำหนดน่ารู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร และประกันชีวิตลดหย่อนภาษี
- 3 1.เบี้ยประกันชีวิตสำหรับตัวเอง ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- 4 2.เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสำหรับตัวเอง ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- 5 3.เบี้ยประกันชีวิตสำหรับบิดามารดา ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
- 6 สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันชีวิตลดหย่อนภาษี ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร
- 7 ปี 2563 กรมสรรพากรผูกฐานข้อมูลกับบริษัทประกันภัย ให้ผู้ขอลดหย่อนไม่ต้องใช้หนังสือรับรองอีกต่อไป!!!
- 8 บทสรุปส่งท้าย : ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรดีไหม!?
รู้ก่อน ลดภาษีก่อน ด้วยประกันชีวิตลดหย่อนภาษีตามสัดส่วนที่กรมสรรพากรกำหนด
ภาษี... เป็นเรื่องใกล้ตัวของมนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้ เพราะทางกรมสรรพากรได้กำหนดเอาไว้ว่า คนไทยทุกคนที่มีรายได้แม้จะไม่ถึงเกณฑ์การเสียภาษีก็ตาม ต้องทำการยื่นรายได้ของตัวเองให้ถูกต้อง เพื่อทำการจ่ายภาษีรายได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อนก็คือการทำ “ประกันชีวิตช่วยลดหย่อนภาษีได้” แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าประกันชีวิตประเภทใดที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้ และสามารถลดหย่อนภาษีได้มากน้อยเพียงใด!? ถ้าหากใครสงสัยล่ะก็ รับรองว่าบทความนี้จะช่วยไขปริศนากวนใจให้ได้อย่างแน่นอน...
ข้อกำหนดน่ารู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร และประกันชีวิตลดหย่อนภาษี
ณ ปัจจุบันกรมสรรพากรได้ยินยอมให้ผู้มีรายได้นำ “เบี้ยประกันชีวิต” มาช่วยในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมได้สูงสุดถึง 300,000 บาท / ปี โดยมีข้อกำหนดเงื่อนไขของประกันชีวิตลดหย่อนภาษี ที่ควรทราบดังต่อไปนี้
1.เบี้ยประกันชีวิตสำหรับตัวเอง ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาในการคุ้มครองชีวิตตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
- ประกันชีวิต หากมีการคืนเงินระหว่างสัญญา เงินคืนสะสมต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันภัยสะสม
2.เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสำหรับตัวเอง ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
- เบี้ยประกันจะถูกนำไปรวมกับเงินกองทุนสำรองการเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- กรณีไม่มีเบี้ยประกันตามหัวข้อที่ 1 สามารถนำเอาเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปทำการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตตามหัวข้อที่ 1 ก่อนได้ ทำให้ได้รับสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีรวมสูงสุดถึง 300,000 บาท
- กรณีคู่สมรสและทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันชีวิต สามารถยื่นภาษีในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เพื่อใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี ในส่วนของตัวเองได้สูงสุดคนละ 200,000 บาท
3.เบี้ยประกันชีวิตสำหรับบิดามารดา ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
- ผู้ซื้อประกันชีวิต ต้องเป็นบุตรโดยชอบธรรมตามกฎหมาย (*ไม่รวมบุตรบุญธรรม)
- บิดา มารดา จะต้องเป็นผู้มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท / ปี
- บิดา มารดา ต้องอาศัยอยู่ในประเทศไทย
- กรณีที่มีผู้ช่วยกันชำระเบี้ยประกันชีวิตหลายคน ให้ทำการเฉลี่ยหักค่าลดหย่อนอย่างเท่าเทียมกัน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 15,000 บาท
สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันชีวิตลดหย่อนภาษี ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร
ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรกรณีที่บิดามารดาทำประกันชีวิตให้บุตร โดยที่บิดามารดาเป็นผู้ทำการชำระเบี้ยประกันภัย บิดามารดาจะไม่สามารถนำเอาเบี้ยประกันชีวิตมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้
ปี 2563 กรมสรรพากรผูกฐานข้อมูลกับบริษัทประกันภัย ให้ผู้ขอลดหย่อนไม่ต้องใช้หนังสือรับรองอีกต่อไป!!!
นับว่าเป็นข่าวดีสำหรับคนที่ทำประกันชีวิต เพราะในปี พ.ศ.2563 สามารถที่จะใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตที่ทำการจ่ายได้อย่างง่ายดาย โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้หนังสือรับรองที่ทำการออกผ่านบริษัทประกันภัยอีกต่อไป เพราะเพียงแค่ทำการแจ้งกับตัวแทนหรือบริษัทประกันภัยว่าต้องการที่จะใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี กรมสรรพากรก็จะทำการเชื่อมโยงฐานข้อมูลประกันชีวิตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้เสียภาษีสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้สำหรับการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด 91 ได้ในทันที) เรียกได้ว่าระบบนี้ ช่วยสร้างความสะดวกรวดเร็วได้มากยิ่งขึ้นได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
บทสรุปส่งท้าย : ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรดีไหม!?
หลังจากที่ได้ทราบข้อมูลและข้อกำหนดของกรมสรรพากร เกี่ยวกับประกันชีวิตลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจกันไปแล้วจะเห็นได้ว่าประกันชีวิตนั้น มีสิทธิประโยชน์มากมาย ซึ่งหนึ่งในการลดหย่อนภาษีเอง ก็เป็นหนึ่งในข้อดีเหล่านั้นเท่านั้นเอง ดังนั้น การเลือกทำประกันชีวิต จึงไม่ควรเพียงแค่ทำเพื่อต้องการลดหย่อนภาษีตามที่กรมสรรพากรกำหนดเท่านั้น แต่ควรให้ความใส่และเลือกประกันชีวิตที่ให้การคุ้มครองอย่างคุ้มค่า ตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองให้ดีที่สุดถึงจะเป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากกว่านั่นเอง...