Contents
- 1 อยากใช้บัตรกดเงินสดให้สบายใจ รู้ทันกฎหมายหนี้บัตรกดเงินสดเอาไว้ รับรองสบายใจกว่าเดิม
- 2 1.กฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด : การปรับโครงสร้างหนี้
- 3 2.กฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด : เป็นคดีเพ่ง
- 4 3.กฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด : อายุความยาวนานเพียงใด
- 5 4.กฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด : สินเชื่อไม่มีหลักประกันเจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์ได้
- 6 5.กฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด : สิ่งที่สถาบันการเงินสามารถอายัดจากลูกหนี้ได้
- 7 6.กฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด : กรณีลูกหนี้เสียชีวิต
- 8 บทสรุปส่งท้าย : เป็นหนี้บัตรกดเงินสดอย่าพึ่งตกใจ สามารถจัดการได้ตามกฎหมาย
อยากใช้บัตรกดเงินสดให้สบายใจ รู้ทันกฎหมายหนี้บัตรกดเงินสดเอาไว้ รับรองสบายใจกว่าเดิม
“บัตรกดเงินสด” เป็นหนึ่งในรูปแบบของสินเชื่อส่วนบุคคลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ณ ปัจจุบัน เพราะสามารถที่จะช่วยให้ได้รับเงินสดมาใช้จ่ายได้ตามความต้องการอย่างเหมาะสม รวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันมันก็สามารถทำให้เกิดหนี้ขึ้นมาได้เช่นกันหากไม่ระวัง!!!
สำหรับบทความในวันนี้ ผู้เขียนอยากขอพาไปทำความรู้จักกับกฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด ที่รับรองว่าหากทำการศึกษาเอาไว้ก่อนจะช่วยให้ไม่ต้องปวดหัวกับการเป็นหนี้ แถมยังเป็นการช่วยเตือนใจไม่ให้กลายมาเป็นลูกหนี้แบบระยะยาวกันอีกด้วย ส่วนกฎหมายหนี้บัตรกดเงินสดจะมีอะไรที่ควรรู้กันบ้างนั้น!? มาติดตามอ่านกันเลย
1.กฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด : การปรับโครงสร้างหนี้
เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้หนี้สินสะสมจนกระทั่งเกิดการฟ้องร้องกันของสถาบันการเงินกับลูกหนี้ ขอแนะนำว่าควรใช้บัตรกดเงินเท่าที่จำเป็นและคืนเงินอย่างเหมาะสมเป็นประจำ หรือรีบทำการปรับโครงสร้างหนี้ก่อนเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ ผ่านกระบวนการดังต่อไปนี้
- เปลี่ยนเป็นหนี้ระยะยาว หรือลดค่างวด ขยายเวลาชำระหนี้
- รวมหนี้ให้เป็นก้อนเดียว
- ใช้บริการคลินิกแก้หนี้ by SAM
- เข้าร่วมมหกรรมการไกล่เกลี่ยหนี้
2.กฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด : เป็นคดีเพ่ง
สำหรับคนที่เป็นหนี้บัตรกดเงินสดก็ไม่ต้องกลัวจนเกินไป เพราะตามกฎหมายหนี้บัตรกดเงินสดถือว่าเป็น “คดีเพ่ง” เป็นการบังคับคดีให้มีการชำระหนี้และชดใช้ค่าเสียหาย ไม่ได้เป็นคดีอาญาที่ไม่สามารถทำการยอมความระหว่างกันได้
กฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด : อายุความทางกฎหมายจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่!?
โดยพื้นฐานแล้วถ้าหากทางสถาบันการเงินได้ทำการแจ้งกำหนดวันชำระหนี้ให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่สามารถทำการชำระหนี้ได้ อายุความทางกฎหมายจะเริ่มขึ้นในวันหลังจากที่ครบกำหนดการชำระ 1 วัน ทันที
3.กฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด : อายุความยาวนานเพียงใด
ตามกฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด อายุความจะมีระยะเวลาทั้งสิ้น 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ครบกำหนดในการชำระหนี้ หากสถาบันการเงินไม่ได้ทำการฟ้องร้องภายในระยะเวลา 2 ปี อายุความก็ขาดไปตามกฎหมายและทางสถาบันทางการเงินจะไม่มีสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ได้อีก หรือถูกยกฟ้องหากนำเรื่องของอายุความที่ขาดมาเป็นองค์ประกอบพิจารณาในชั้นศาล เป็นต้น
4.กฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด : สินเชื่อไม่มีหลักประกันเจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์ได้
ถึงจะเป็นหนี้แบบไม่มีบุคคลค้ำประกัน หรือใช้ทรัพย์สินค้ำประกัน เจ้าหนี้สามารถส่งเรื่องให้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายได้ และหากเจ้าหนี้ชนะคดีก็มีสิทธิ์ตามกฎหมายในการบังคับให้ทำการจ่ายหนี้ได้เช่นกัน
5.กฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด : สิ่งที่สถาบันการเงินสามารถอายัดจากลูกหนี้ได้
เมื่อศาลมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ชนะคดี ลูกหนี้จะต้องทำการชำระหนี้คืนให้ภายในระยะเวลา 30 วัน แต่ถ้าหากไม่ได้เจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ในการอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ได้เช่นกัน โดยรายการสิ่งที่สามารถทำการอายัดได้นั้น มีดังต่อไปนี้
- เงินเดือนไม่เกิน 30% และลูกหนี้ต้องมีเงินเดือนมากกว่า 200,000 บาท
- เงินโบนัส ไม่เกิน 50%
- เงินตอบแทนจากการออกจากงาน ไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามที่เจ้าหน้าที่บังคับคดีเห็นสมควร
- เงินตอบแทนจากสวัสดิการต่าง ๆ ไม่เกิน 30% ของจำนวนเงินที่ได้รับ
- เงินในบัญชีเงินฝากหรือเงินปันผลจากการลงทุน อายัดตามที่ขอ
- ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน
ทรัพย์สินที่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ไม่สามารถอายัดได้
- เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ และเบี้ยหวัดของลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ
- เงินเบี้ยเลี้ยงชีพ เช่น เบี้ยคนชรา เบี้ยคนพิการ เป็นต้น
- เงินค่าวิทยฐานะ กรณีเป็นข้าราชการ
- เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
- เงินกองทุนสำรองการเลี้ยงชีพ
6.กฎหมายหนี้บัตรกดเงินสด : กรณีลูกหนี้เสียชีวิต
ในกรณีที่ลูกหนี้เสียชีวิตในขณะที่ยังไม่สามารถชำระหนี้ทั้งหมดได้ เจ้าหนี้สามารถทวงถามต่อกองมรดกของลูกหนี้ได้ แต่ผู้รับมรดกไม่จำเป็นต้องทำการชำระหนี้เกินกว่ากองมรดกที่ได้รับมา
บทสรุปส่งท้าย : เป็นหนี้บัตรกดเงินสดอย่าพึ่งตกใจ สามารถจัดการได้ตามกฎหมาย
ถึงแม้ว่าการเป็นหนี้บัตรเครดิตจะฟังดูน่ากลัว แต่ที่จริงแล้วก็เป็นปัญหาทางด้านกฎหมายที่สามารถทำการแก้ไขได้อย่างไม่ยากเย็น ขอเพียงแค่มีความเข้าใจในเรื่องของการชำระหนี้อย่างเหมาะสม เพียงเท่านี้ก็จะสามารถจัดการกับปัญหาหนี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ต้องคอยกังวลกับมันอีกต่อไป...