Contents
- 1 ประสบปัญหาคดีบัตรกดเงินสด อยากรู้ว่าคดีมีอายุความกี่ปี!? รับรองว่าบทความนี้รวบรวมทุกเรื่องน่ารู้มาฝากกัน
- 2 ในทางกฎหมายบัตรกดเงินสด มีอายุความกี่ปี!?
- 3 อายุความของบัตรกดเงินสด เริ่มนับเมื่อไหร่ไปจนถึงกี่ปี!?
- 4 เป็นหนี้บัตรกดเงินสดควรปฏิบัติตัวอย่างไร!?
- 5 หากอายุความของบัตรกดเงินสดหมดไปแล้ว สถาบันการเงินฟ้องศาลได้หรือเปล่า!?
- 6 บทสรุปส่งท้าย : บัตรกดเงินสดมีอายุความกี่ปี หวังว่าบทความชิ้นนี้จะช่วยให้ได้รับคำตอบ!
ประสบปัญหาคดีบัตรกดเงินสด อยากรู้ว่าคดีมีอายุความกี่ปี!? รับรองว่าบทความนี้รวบรวมทุกเรื่องน่ารู้มาฝากกัน
เมื่อมีปัญหาเรื่องการเงิน โดยเฉพาะเงินสด... บัตรกดเงินสดอาจกลายมาเป็นหนึ่งในช่องทางสำหรับการแก้ไขปัญหาที่น่าสนใจด้วยความสะดวก รวดเร็ว สามารถเบิกถอนเงินสดออกมาใช้ได้อย่างทันใจตามวงเงิน ณ ตู้ ATM ทั่วประเทศตลอด 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม การใช้บัตรกดเงินสดเองก็จำเป็นที่จะต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมากเช่นกัน เพราะไม่อย่างนั้น การใช้บัตรกดเงินสดก็อาจจะทำให้เกิดหนี้สินตามมาเป็นจำนวนมากได้เช่นกัน ซึ่งหลายคนอาจจะมีคำถามอยู่ในใจว่าแล้วบัตรกดเงินสด มีอายุความกี่ปีกันแน่!?
รับรองว่าบทความชิ้นนี้จะมีข้อมูลที่น่าสนใจว่าบัตรกดเงินสดมีอายุความกี่ปี!? มาฝากกันอย่างแน่นอน...
ในทางกฎหมายบัตรกดเงินสด มีอายุความกี่ปี!?
บัตรกดเงินสดที่มีข้อตกลงการให้บริการสินเชื่อ ลักษณะเป็นสัญญาการกู้ยืมเงินแบบไม่ต้องผ่อนต้นเงินคืนพร้อมกับดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และไม่มีลักษณะเป็นการออกเงินทดรอง บัตรกดเงินสดประเภทนี้จะมีอายุความอยู่ที่ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ประกอบคำพิพากษาฎีกาที่ 4088/2560 แต่ไม่ได้มีการระบุเอาไว้เป็นกรณีเฉพาะ
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคำแนะนำของสมาชิกชาว Pantip เกี่ยวกับอายุความของบัตรกดเงินสด มักจะอยู่ที่ประมาณ 2 ปี อ้างอิงจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7) คือ สิทธิที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเอาเงินที่ได้ออก “ทดรองไปก่อน” ตามความตอนท้ายของมาตรานั่นเอง
อายุความของบัตรกดเงินสด เริ่มนับเมื่อไหร่ไปจนถึงกี่ปี!?
โดยพื้นฐานแล้วอายุความของบัตรกดเงินสดจะเริ่มทำการนับตั้งแต่ “วันที่ผิดนัดชำระหนี้ครั้งล่าสุด” ไม่ใช่การนับจากการผิดนัดจนเกิดการทวงถามหนี้สินและไม่ได้ทำการรับจากวันที่มีหนังสือทวงถามมาจากทางสถาบันทางการเงินด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น หากในใบเรียกเก็บเงินกำหนดวันที่ต้องชำระเป็นวันที่ 1 มี.ค. และลูกหนี้ไม่สามารถชำระได้ภายในวันนั้น อายุความก็จะเริ่มต้นนับไปจนกระทั่งถึงวันที่ 1 มี.ค. ของอีก 2 ปี ให้หลัง หากสถาบันการเงินไม่ฟ้องร้องในระยะเวลานี้ก็จะถือว่าขาดอายุความตามกฎหมายนั่นเอง
เป็นหนี้บัตรกดเงินสดควรปฏิบัติตัวอย่างไร!?
เมื่อกลายมาเป็นหนี้บัตรกดเงินสดแล้ว ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดกระบวนการทวงถามหรือฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อให้เกิดการเร่งรัดจ่ายหนี้สินอย่างเหมาะสม โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เมื่อไม่ได้ทำการชำระหนี้บัตรกดเงินสดตามระยะเวลาที่ได้กำหนดเอาไว้
- ผู้ให้บริการบัตรกดเงินสดจัดส่งหนังสือทวงถาม
- ติดต่อกับทางสถาบันทางการเงินเพื่อทำการชำระหนี้ หรือเจรจาต่อรองเพื่อลดหนี้ให้น้อยลง
- หากผู้ใช้บริการบัตรกดเงินสดไม่สามารถไปจ่ายชำระได้ ผู้ให้บริการบัตรกดเงินสดก็จะนำเรื่องส่งฟ้องร้องไปยังศาล
- ผู้ใช้บัตรกดเงินสด เดินทางไปขึ้นศาลตามวัน-เวลา ที่ศาลได้นัดหมาย เพื่อทำการไกล่เกลี่ยและหาวิธีการชดใช้หนี้สินที่เกิดขึ้นจากบัตรกดเงินสดร่วมกัน
หากอายุความของบัตรกดเงินสดหมดไปแล้ว สถาบันการเงินฟ้องศาลได้หรือเปล่า!?
อายุความ โดยพื้นฐานแล้วคือระยะเวลาที่ทางกฎหมายได้กำหนดเอาไว้เพื่อให้เจ้าหนี้มีสิทธิ์ในการยื่นเรื่องเรียกร้องต่อศาลเพื่อให้ลูกหนี้ทำการชำระหนี้คืนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าหากเจ้าหนี้ไม่ได้ทำการเรียกร้องภายในระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้กระทั่งหมดอายุความ สิทธิ์ในการเรียกร้องเหล่านั้นก็จะ “ขาดอายุความ” หากสถาบันการเงินทำการฟ้องศาลและลูกหนี้ยกอายุความขึ้นมาเพื่อปฏิเสธการชำระหนี้ ศาลก็จะไม่ทำการบังคับคดีให้กับเจ้าหนี้
บทสรุปส่งท้าย : บัตรกดเงินสดมีอายุความกี่ปี หวังว่าบทความชิ้นนี้จะช่วยให้ได้รับคำตอบ!
หลังจากที่ได้ทราบข้อมูลที่น่าสนใจมากมายของบัตรกดเงินสด และอายุความของบัตรกดเงินสดแล้วว่ามีอยู่ทั้งหมดกี่ปี เชื่อว่า ณ ตอนนี้ หลายคนก็คงจะเริ่มมองเห็นจุดเด่นที่น่าสนใจของบัตรกดเงินสดกัน รวมไปถึงอายุความของบัตรกดเงินสดแล้วว่ากี่ปีกัน!?
ดังนั้น การใช้งานบัตรกดเงินสดควรใช้โดยแนบสติด้วยทุกครั้ง ไม่ใช้จ่ายจนเกินตัว เพื่อไม่ให้ต้องกลายมาเป็นการมีปัญหาหนี้สิ้นจนต้องมานั่งกังวลว่าบัตรกดเงินสดคดีมีอายุความกี่ปีกันนั่นเอง...