Contents
- 1 แบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร ใช้เอกสารประกอบอะไรบ้าง!? บทความนี้มีคำตอบ
- 2 KYC คืออะไร!?
- 3 สถาบันทางการเงินใดบ้างที่ต้องทำ KYC และ CDD
- 4 แบบฟอร์ม KYC ของธนาคารทำการตรวจสอบอะไรบ้าง!?
- 5 เอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร : บุคคลธรรมดา
- 6 เอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร : นิติบุคคล
- 7 เอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร : ผู้เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลที่เป็นบุคคลธรรมดา
- 8 การตรวจสอบแบบฟอร์ม KYC ของเจ้าหน้าที่ธนาคาร
- 9 บทสรุปส่งท้าย : แบบฟอร์ม KYC ของธนาคารจำเป็นไหม ต้องกรอกหรือเปล่า!?
แบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร ใช้เอกสารประกอบอะไรบ้าง!? บทความนี้มีคำตอบ
เมื่อเดินทางไปทำธุรกรรมการเงิน ณ ธนาคาร... หลายคนอาจเกิดความสงสัยว่า “แบบฟอร์ม KYC” คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร!? ทำไมเจ้าหน้าที่ของทางธนาคารจึงได้นำแบบฟอร์มดังกล่าวมาให้กรอกข้อมูลกัน!? ถ้าหากใครกำลังให้ความสงสัย หรืออยากเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะทำการกรอกแบบฟอร์ม KYC รับรองว่าบทความชิ้นนี้จะมีคำแนะนำดีๆมาฝากอย่างแน่นอน
KYC คืออะไร!?
KYC ย่อมาจากคำว่า “Know Your Customer” หากแปลเป็นไทยอย่างตรงตัวก็คือ “กระบวนการทำความรู้จักกับลูกค้า” ที่ช่วยในการระบุและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง (Identification and Verification) นอกจากนี้ KYC เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอีกด้วย อย่างไรก็ตาม KYC ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีธนาคารหรือทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผู้ใช้งานจะต้องทำการเปิดเผยข้อมูลและผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อมูลของลูกค้าหรือ CDD ที่ย่อมาจาก Customer Due Diligence ที่เป็นการยืนยันและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการโจรกรรม
สถาบันทางการเงินใดบ้างที่ต้องทำ KYC และ CDD
สำหรับสถาบันทางการเงินที่ต้องทำ KYC และ CDD ภายใต้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มี 3 หน่วยงาน ดังต่อไปนี้
- สถาบันทางการเงิน
- บริษัทที่ปรึกษาทางด้านการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต)
- บริษัทให้บริการ อีเพย์เมนท์ (e-payment) การให้บริการด้านการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
แบบฟอร์ม KYC ของธนาคารทำการตรวจสอบอะไรบ้าง!?
ก่อนที่จะเข้าไปข้อใช้บริการกับทางธนาคาร ขอแนะนำว่าให้ทำการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการกรอกแบบฟอร์ม KYC กันก่อน โดยทั่วไปแล้วแบบฟอร์ม KYC ของทุกธนาคารจะมีการใช้เอกสารประกอบการพิจารณาและการกรอกข้อมูลที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน ดังต่อไปนี้
เอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร : บุคคลธรรมดา
โดยทั่วไปแล้วเอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร สำหรับบุคคลธรรมดานั้น จำเป็นจะต้องกรอกข้อมูลและมีเอกสาร ดังต่อไปนี้
- เอกสาร เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง บัตรอื่นๆ
- ชื่อ-นามสกุล
- ประวัติส่วนตัว
- ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
- ที่อยู่ปัจจุบันในประเทศไทย (ที่ติดต่อได้)
- ชื่อสถานที่ทำงาน
- อาชีพ
- แหล่งที่มาของรายได้
- ประเทศแหล่งที่มาของรายได้
เอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร : นิติบุคคล
- สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ไม่เกิน 6 เดือน
- หนังสือแสดงการจดทะเบียนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประเภทของบริษัท
- ชื่อบริษัท
- ประเภทของกิจการ
- ประเทศที่ทำธุรกิจ
- รายได้ประมาณ
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
- สถานที่ตั้ง
เอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร : ผู้เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลที่เป็นบุคคลธรรมดา
โดยทั่วไปแล้วเอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร สำหรับให้ผู้เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลที่เป็นบุคคลธรรมดานั้น จำเป็นจะต้องกรอกข้อมูลและมีเอกสาร ดังต่อไปนี้
- เอกสาร เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือ Passport และเลขที่บัตรต่างด้าว
- ชื่อ-นามสกุล
- ประเภทของธุรกิจ
- อาชีพ
- สาขาอาชีพ
- ที่อยู่ของสถานที่ทำงาน
- ทรัพย์สินของลูกค้ามีที่มาจาก
- มูลค่าของทรัพย์สินโดยประมาณ
- ประเทศที่มาของรายได้
การตรวจสอบแบบฟอร์ม KYC ของเจ้าหน้าที่ธนาคาร
หลังจากที่ผู้ขอใช้บริการธนาคารทำการกรอกข้อมูลที่กำหนดเอาไว้ในแบบฟอร์ม KYC เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ของธนาคารก็จะทำการตรวจสอบกรณีบุคคลอื่นใดได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง กับฐานข้อมูลบุคคลที่กำหนด บุคคลต้องห้ามและบุคคลกลุ่มเสี่ยง ว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ พร้อมกับทำการจัดระดับว่าคนนั้นมีความเสี่ยงอยู่ในระดับใด หากอยู่ในระดับสูง มีความน่าสงสัย เจ้าหน้าที่ก็จะทำการส่งข้อมูลต่อไปยัง ปปง. นั่นเอง
บทสรุปส่งท้าย : แบบฟอร์ม KYC ของธนาคารจำเป็นไหม ต้องกรอกหรือเปล่า!?
ถ้าหากถามว่า... แบบฟอร์ม KYC สำคัญไหม!? ต้องบอกเลยว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก และจำเป็นที่จะต้องแบบฟอร์ม KYC เนื่องจากเป็นกฎข้อบังคับของธนาคารแห่งประเทศไทยและ ปปง. แม้หลายคนอาจจะไม่ค่อยสบอารมณ์กับการกรอกเอกสารหลากหลายขั้นตอนให้รำคาญใจ แต่รับรองว่าผลลัพธ์ที่ได้รับกลับคืนมาในอนาคตนั้น จะมีค่าสำหรับตัวคุณและประเทศชาติมากกว่าเดิมอย่างมากแน่นอน...