Contents
- 1 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแบบฟอร์มแสดงข้อมูลลูกค้า KYC/CDD พร้อมตัวอย่างเข้าใจแสนง่าย!
- 2 แบบฟอร์มข้อมูลลูกค้า KYC คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร!?
- 3 แบบฟอร์มข้อมูลลูกค้า CDD คืออะไร!? มีความสำคัญอย่างไร!?
- 4 ตัวอย่างของแบบฟอร์มแสดงข้อมูลลูกค้า KYC/CDD ที่อยากให้ทำความรู้จักกันก่อน
- 5 ตัวอย่างของแบบฟอร์มแสดงข้อมูลลูกค้า KYC/CDD ของธนาคารและสถาบันการเงิน
- 6 การตรวจสอบแบบฟอร์มข้อมูลลูกค้า KYC/CDD ของเจ้าหน้าที่ธนาคารและสถาบันการเงิน
- 7 บทสรุปส่งท้าย : แบบฟอร์มแสดงข้อมูลลูกค้า KYC/CDD ตามตัวอย่างจำเป็นต้องทำไหม ไม่ทำได้หรือเปล่า!?
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแบบฟอร์มแสดงข้อมูลลูกค้า KYC/CDD พร้อมตัวอย่างเข้าใจแสนง่าย!
ในปัจจุบันการทำธุรกรรมทางการเงิน... ได้มีการพยายามยกระดับความปลอดภัยให้มากขึ้น โดยหนึ่งในมาตรการที่ถูกนำมาใช้ให้เห็นกันบ่อยครั้งก็คือ KYC และ CDD นั่นเอง แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า KYC และ CDD คืออะไร!? มีความสำคัญแค่ไหน!? เพื่อให้เข้าใจกได้ง่ายขึ้น บทความชิ้นนี้จึงได้ทำการแนบตัวอย่างของแบบฟอร์มแสดงข้อมูลลูกค้า KYC/CDD มาให้ดูกันด้วย เพื่อที่จะได้เป็นตัวอย่างให้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเดินทางไปยังธนาคารเพื่อทำธุรกรรมด้านการเงินได้แบบเต็ม 100% นั่นเอง ส่วนแบบฟอร์มแสดงข้อมูลลูกค้า KYC/CDD จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น มาเจาะลึกในบทความชิ้นนี้กันเลย
แบบฟอร์มข้อมูลลูกค้า KYC คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร!?
KYC ย่อมาจากคำว่า “Know Your Customer” หากแปลเป็นไทยอย่างตรงตัวก็คือ “กระบวนการทำความรู้จักกับลูกค้า” ที่ช่วยในการระบุและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง (Identification and Verification) นอกจากนี้ KYC เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพราะธนาคารและสถาบันทางการเงินเป็นเส้นทางการเงินที่เปิดโอกาสให้เกิดการก่ออาชญากรรม
KYC จึงเป็นการยืนยันและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการโจรกรรมที่ ณ ปัจจุบันได้มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมไปถึงช่องทางในการขโมยข้อมูลเองก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นตามไปด้วยการอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เกิดการขโมยเลขบัตรเครดิตหรือเลขประกันสังคม เป็นต้น เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายมากขึ้น
จากกฎหมายดังกล่าว ทำให้มีการบังคับให้ธนาคารและสถาบันทางทางการเงินต้องทำการตรวจสอบลูกค้าทุกคนที่ทำการเปิดบัญชี เช่น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล บุคคล ที่ไม่มีความสามารถตามกฎหมาย (ผู้เยาว์) และองค์กรที่ไม่ใช้นิติบุคคล เช่น ชมรมชุมชน เป็นต้น ด้วยการทำ KYC นั่นเอง อย่างไรก็ตาม KYC ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีธนาคารหรือทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผู้ใช้งานจะต้องทำการเปิดเผยข้อมูลและผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อมูลของลูกค้าหรือ CDD ที่ย่อมาจาก Customer Due Diligence เป็นต้น
แบบฟอร์มข้อมูลลูกค้า CDD คืออะไร!? มีความสำคัญอย่างไร!?
CDD ย่อมาจากคำว่า Customer Due Diligence คือ การที่ผู้ใช้บริการต้องทำการเปิดเผยข้อมูลและผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อมูลของลูกค้า เพื่อเป็นการยืนยันและป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากถูกโจรกรรม รวมไปถึง การตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า และตรวจสอบข้อมูลแสดงตนที่ลูกค้าให้ไว้กับทางธนาคาร เพื่อให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ และธุรกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ให้มีความสอดคล้องกับกิจการของลูกค้า ลูกค้าทุกรายที่ติดต่อทำธุรกรรมกับธนาคาร
ตัวอย่างของแบบฟอร์มแสดงข้อมูลลูกค้า KYC/CDD ที่อยากให้ทำความรู้จักกันก่อน
ที่จริงแล้วขั้นตอนแบบฟอร์มแสดงข้อมูลลูกค้า KYC/CDD แบบพื้นฐานของธนาคารและสถาบันทางการเงินเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยุ่งยากเลย เพราะเพียงแค่ทำการกรอกข้อมูลตามความเป็นจริงตามหัวข้อที่ได้กำหนดเอาไว้แล้ว เพียงเท่านี้ก็จะพร้อมที่จะทำการยื่นแบบฟอร์มเพื่อให้พนักงานของธนาคาหรือสถาบันทางการเงินได้ในทันที สำหรับตัวอย่างของแบบฟอร์มแสดงข้อมูลลูกค้า KYC/CDD ที่น่าสนใจ มีดังต่อไปนี้
ตัวอย่างของแบบฟอร์มแสดงข้อมูลลูกค้า KYC/CDD ของธนาคารและสถาบันการเงิน
การตรวจสอบแบบฟอร์มข้อมูลลูกค้า KYC/CDD ของเจ้าหน้าที่ธนาคารและสถาบันการเงิน
หลังจากที่ผู้ขอใช้บริการธนาคารทำการกรอกข้อมูลที่กำหนดเอาไว้ในแบบฟอร์ม KYC เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ของธนาคารก็จะทำการตรวจสอบกรณีบุคคลอื่นใดได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง กับฐานข้อมูลบุคคลที่กำหนด บุคคลต้องห้ามและบุคคลกลุ่มเสี่ยง ว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ พร้อมกับทำการจัดระดับว่าคนนั้นมีความเสี่ยงอยู่ในระดับใด หากอยู่ในระดับสูง มีความน่าสงสัย เจ้าหน้าที่ก็จะทำการส่งข้อมูลต่อไปยัง ปปง. นั่นเอง
บทสรุปส่งท้าย : แบบฟอร์มแสดงข้อมูลลูกค้า KYC/CDD ตามตัวอย่างจำเป็นต้องทำไหม ไม่ทำได้หรือเปล่า!?
หลายคนอาจมีความสงสัยว่า... แบบฟอร์มแสดงข้อมูลลูกค้า KYC/CDD ที่ทางธนาคารและสถาบันทางการเงินให้ทำการกรอกข้อมูลตามตัวอย่างเป็นสิ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงไม่กรอกได้หรือเปล่า!? ที่จริงเรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ เพียงแต่ธนาคารและสถาบันทางการเงินก็มีสิทธิ์ที่จะปฎิเสธไม่ให้บริการด้านธุรกรรมทางการเงินได้เช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากใครไม่เป็นมิจฉาชีพการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มแสดงข้อมูลลูกค้า KYC/CDD เพียงไม่กี่ขั้นตอนตามตัวอย่างในข้างต้น ก็รับรองว่าจะไม่ได้ทำให้เกิดการเสียเวลาจนเกินไปอย่างแน่นอน และยังช่วยให้อุ่นใจได้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันตัวตน ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่ออีกด้วย...