ประกันชีวิตคนแก่
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

Contents

ผู้สูงอายุ เรื่องอาจเยอะกว่าที่คิด มารู้จักกับ 10 เรื่องควรรู้ก่อนทำประกันอุบัติเหตุและสุขภาพผู้สูงอายุกัน!

ประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุ

 

เมื่ออายุร่วงโรยเข้าสู่วัยสูงอายุ... ไม่ว่าจะเพื่อตัวเองหรือคนใกล้ตัว ก็ควรให้ความใส่ใจกับเรื่องของสุขภาพมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากต้องทำประกันภัยสำหรับผู้สูงอายุ การเลือก “ประกันสุขภาพ+ประกันภัย” จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากนั่นเอง ดังนั้น เพื่อให้การเลือกประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพของผู้สูงอายุกลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายมากขึ้น มาดูกันดีกว่าว่า มีเรื่องอะไรที่ควรรู้และให้ความใส่ใจกันบ้าง!?

 

10 เคล็ดลับที่ควรรู้ในการเลือกซื้อประกันสุขภาพ+ประกันอุบัติเหตุสำหรับผู้สูงอายุ

ประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุ

 

1.ประกันสุขภาพ คืออะไร!?

 

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ให้คำจำกัดความหมายของการประกันสุขภาพเอาไว้ว่า “เป็นการประกันภัย ที่บริษัทประกันภัยตกลงจะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการเจ็บป่วยจากโรคภัยหรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้แก่ผู้เอาประกัน”

 

2.ประกันสุขภาพผู้สูงอายุให้ความคุ้มครองในด้านใดบ้าง!?

 

ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ ต้องให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่าย 7 ข้อ ดังต่อไปนี้

ค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว ได้แก่ ค่าห้องและค่าอาหาร ค่าบริการทั่วไปและค่าใช้จ่ายกรณีเข้ารับการรักษาฉุกเฉิน

  • ค่าใช้จ่ายจากการผ่าตัด อาทิ ค่าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด
  • ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการให้แพทย์มาดูแล (ค่าแพทย์เข้าเยี่ยม)
  • ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD)
  • ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร
  • ค่าใช้จ่ายจากการรักษาฟัน
  • การชดเชยค่าใช้จ่าย เช่น ชดเชยรายได้รายวัน

 

3.ประกันสุขภาพผู้สูงอายุควรทำในช่วงเวลาใด!?

ประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุ

 

การทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุ แบบที่หวังผลในการช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน หรือผู้ป่วยนอกควรทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุในช่วงอายุไม่เกิน 60-70 ปี และต้องยังมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่มีประวัติในการเป็นโรคประจำตัวหรือโรคร้ายแรง

 

4.ควรเลือกทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุแบบใด!?

 

โดยทั่วไปแล้วประกันสุขภาพผู้สูงอายุในปัจจุบัน มักจะเน้นเพียงแค่ความคุ้มครองการชดเชยรายได้ต่อวันเมื่อต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลและรับความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต ขึ้นอยู่กับทุนของประกันที่จ่าย ดังนั้น ขอแนะนำว่าควรทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุที่ได้รับการคุ้มครองอย่างครบถ้วนทั้ง 7 ข้อ ที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในตอนต้น ในช่วงอายุที่สามารถทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุได้ ในช่วงที่ยังแข็งแรงและยังตรวจไม่พบโรคภัยร้ายแรงที่เป็นกรณียกเว้นการรับการประกันจะเป็นการดีที่สุด

 

5.ประกันสุขภาพผู้สูงอายุที่น่าสนใจในปัจจุบันมีที่ไหนกันบ้าง!?

 

สำหรับคนที่กำลังมองหาประกันสุขภาพผู้สูงอายุที่ให้ความคุ้มครองเหมาะสมกับตัวเองแล้วยังตัดสินใจไม่ว่าควรเลือกทำกับประกันสุขภาพผู้สูงอายุที่ไหนดี ลองมารู้จักกับประกันสุขภาพผู้สูงอายุดังต่อไปนี้กัน

 

บริษัทประกัน จุดเด่นที่น่าสนใจของประกันผู้สูงอายุ
ประกันชีวิต 50 อัพ (เพื่อผู้สูงอายุ) - AIA ·        ให้ความคุ้มครองตั้งแต่ 50,000 – 300,000 บาท

·        กรณีจ่ายครบสัญญาได้รับเงินคืน 150%

เมืองไทยวัยเก๋า คุ้มทั่วไทย (เพื่อผู้สูงอายุ) - เมืองไทยประกันชีวิต ·     จ่ายค่าชดเชยรายได้รายวันเมื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (*ห้องธรรมดาและ ICU)

·        ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ

·        ไม่ต้องสำรองจ่าย

มรดกเพิ่มพูน (เพื่อผู้สูงอายุ) - ไทยประกันชีวิต ·        ครบสัญญาได้เงินคืน

·        คุ้มครองจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุสูงสุด 450,000 บาท

ประกันชีวิตสูงวัย ได้เกินร้อย (เพื่อผู้สูงอายุ) - อลิอันซ์ ·        แผนประกันชีวิตพ่วงประกันสุขภาพ

·        คุ้มครองถึงอายุ 90 ปี

·     เบี้ยประกันใช้ลดหย่อนภาษีตามชื่อของผู้เอาประกันได้

 

6.ประกันสุขภาพผู้สูงอายุช่วยลดหย่อนภาษีได้

 

ประกันสุขภาพผู้สูงอายุหลายแผนสามารถช่วยให้บุตรที่ซื้อประกันให้กับพ่อแม่ได้รับการลดหย่อนภาษีด้วย แต่จำเป็นที่จะต้องสอบถามกับตัวแทนขายประกันให้ดีว่าแผนที่เลือกใช้นั้น สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เฉพาะผู้ที่มีชื่อเอาประกันภัย หรือใช้ในการลดหย่อนภาษีในนามของบุตรที่เป็นผู้ชำระเบี้ยได้ เพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงปลายปี ทำให้มีโอกาสได้รับภาษีคืนต่อปีตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร

 

7.ประกันสุขภาพกับประกันอุบัติเหตุของผู้สูงอายุต่างกันอย่างไร!?

ประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุ

 

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือ Personal Accident (PA) เป็นเงินที่จ่ายชดเชยให้กรณีที่เกิดการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ค่ารักษาพยาบาลเหมือนกับประกันสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างที่ไม่เหมือนกันก็คือ หากทำประกันสุขภาพเอาไว้เพียงอย่างเดียว หากเกิดอาการบาดเจ็บเล็กน้อยโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาลจะไม่สามารถทำการเบิกใช้ประกันสุขภาพที่มีอยู่ได้ แต่หากมีประกันอุบัติเหตุด้วยก็จะสามารถเบิกใช้ได้นั่นเอง

 

8.ประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุช่วยลดหย่อนภาษีได้

 

ประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุ สามารถนำมาใช้ในการช่วยลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ตามนโยบายของรัฐที่ให้ความสำคัญกับการทำประกัน เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคงในชีวิต รวมไปถึงรู้จักการออมเงินให้มากขึ้นกว่าเดิม

 

9.ประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุ ไม่ต้องสำรองจ่าย

ประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุ

 

หากผู้สูงอายุเกิดประสบอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย ตามอายุที่มากขึ้นจนต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนก็ต้องไม่ต้องเป็นกังวลในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล แม่จะเป็นอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยก็จะได้รับการรักษาได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องสำรองจ่าย

 

10.ประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุเบี้ยประกันค่อนข้างถูก

 

เบี้ยประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุค่อนข้างที่จะถูก ทำให้เหมาะอย่างมากกับคนที่มีกำลังทรัพย์อาจไม่มากมากนัก แต่อยากที่จะได้รับการคุ้มครองหากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้นกับผู้สูงอายุ หรืออาจทำให้กับบิดามารดาที่สูงอายุแล้ว ก็จะเป็นการช่วยการันตีความอุ่นใจได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

 

บทสรุปส่งท้าย : ประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพผู้สูงอายุดีไหม!?

ประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุ

 

          จากข้อมูลที่ได้ยกมากล่าวถึงกันไปแล้วในตอนต้น... จะเห็นได้ว่าทั้งประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพของประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุ ประกันทั้งสองประเภทนี้ ล้วนแล้วแต่มอบข้อเสนอที่น่าสนใจเป็นอย่างมากให้กับผู้สูงอายุ หรือบุตรหลานที่ต้องการความมั่นใจว่าผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมครอบคลุม ได้อย่างสบายใจอย่างแน่นอน...

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
บัตร กด เงินสด อาชีพ อิสระ
ธนาคาร/ผู้ให้บริการบัตรกดเงินสด
แนะนำ [7 บัตรกดเงินสดสำหรับอาชีพอิสระ] ไม่มีสลิปเงินเดือนก็สมัครได้ไม่เห็นยาก
ประกอบอาชีพอิสระอยากสมัครบัตรกดเงินสดทำได้หรือเปล่า!? บทความนี้มีคำตอบ...