- คนที่มีประกันสังคม ไม่ต้องเสียเงินค่าฝากท้องกับโรงพยาบาลที่มีสิทธิ์อยู่
- คนที่มีบัตรทอง ไม่ต้องเสียเงินค่าฝากท้อง
- คนที่มีประกันสังคมได้รับเงินช่วยเหลือฝากท้องรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,000 บาท
- หากต้องการเบิกเงินช่วยเหลือการฝากท้องจากประกันสังคมต้องเตรียมใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์หรือสมุดบันทึกการฝากท้อง และใบคำร้องขอ
Contents
- 1 อยากฝากท้องกับโรงพยาบาลใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ไหม ต้องเสียเงินหรือเปล่า?
- 1.1 ฝากท้องประกันสังคม ต้องเสียเงินเสียเงินไหม?
- 1.2 สิทธิบัตรทอง นอกเหนือประกันสังคมฝากท้องต้องเสียเงินไหม?
- 1.3 เงื่อนไขในการได้รับการคุ้มครองฝากท้องกับประกันสังคม โดยไม่ต้องเสียเงิน
- 1.4 อัตราของผลประโยชน์ทดแทนเสียสำหรับการฝากท้องตามสิทธิประกันสังคม เงินที่ได้รับมีมากน้อยแค่ไหน
- 1.5 เอกสารขอเบิกค่าฝากท้องจากประกันสังคม
- 2 ส่งท้ายก่อนจาก #มีประกันสังคม ก็ไม่ต้องกังวลว่าการฝากท้องจะต้องเสียเงินไหมอีกต่อไป
อยากฝากท้องกับโรงพยาบาลใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ไหม ต้องเสียเงินหรือเปล่า?
การตั้งครรภ์ถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับผู้หญิง แต่ในยุคที่เรียกได้ว่าค่าครองชีพค่อนข้างสูงมากในปัจจุบันการตั้งครรภ์จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีเงินสำหรับใช้ในการสนับสนุนดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมด้วยเช่นกัน
หนึ่งในคำถามที่มักพบกันบ่อย ๆ คือ ข้อสงสัยที่ว่าหากต้องการฝากท้องกับโรงพยาบาลสามารถใช้ประกันสังคมได้ไหม แล้วจำเป็นที่จะต้องเสียเงิน เสียค่าใช้จ่ายอะไรหรือเปล่า? ถ้าหากอ่านบทความชิ้นนี้จนจบ รับรองว่าจะได้คำตอบให้คลายความสงสัยได้อย่างแน่นอน
ฝากท้องประกันสังคม ต้องเสียเงินเสียเงินไหม?
ในปัจจุบันที่ท้องสามารถที่จะทำการใช้สิทธิประกันสังคมในการฝากท้องและคลอดบุตรได้ โดย “ไม่จำเป็นต้องเสียเงินอีกต่อไป” โดยทางประกันสังคมจะให้การสนับสนุนค่าฝากท้องเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,000 บาท เมื่อทำการฝากท้องกับสถานพยาบาลที่เลือกใช้สิทธิประกันสังคม
สิทธิบัตรทอง นอกเหนือประกันสังคมฝากท้องต้องเสียเงินไหม?
สำหรับคนที่ไม่ได้มีประกันสังคมแล้วมีความกังวลว่าจะต้องเสียเงินไหม ต้องตอบเลยว่าไม่ต้องกังวลไป เนื่องจากบัตรทองก็มีสิทธิในการฝากท้องโดยไม่จำเป็นที่จะต้องกังวลอีกต่อไป เนื่องจากบัตรทองเองก็สามารถที่จะทำการฝากท้อง-คลอดบุตรได้ฟรี! ด้วยเช่นกัน
เงื่อนไขในการได้รับการคุ้มครองฝากท้องกับประกันสังคม โดยไม่ต้องเสียเงิน
ความคุ้มครองในการฝากท้องผ่านสิทธิประกันสังคมจะต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ทำงานกับนายจ้าง) และมาตรา 39 (ประกันตนเอง) ที่ได้ทำการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนที่จะเข้ารับบริการฝากท้องกับแพทย์
ในกรณีผู้ประกันตนมาตรา 38 และ 41 (เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน) จะได้รับสิทธิฝากท้องเมื่อทำการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเข้ารับบริการฝากท้อง และได้รับสิทธิคุ้มครองภายในระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
อัตราของผลประโยชน์ทดแทนเสียสำหรับการฝากท้องตามสิทธิประกันสังคม เงินที่ได้รับมีมากน้อยแค่ไหน
การขอรับผลประโยชน์ทดแทนในการฝากท้องกับประกันสังคมจะต้องมีหลักฐานในการเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลที่เป็นสถานที่รับฝากท้องทุกครั้ง นอกจากนี้ยังสามารถยื่นขอรับผลประโยชน์ทดแทนในส่วนของค่าตรวจและรับฝากท้องเพิ่มเติมได้โดยไม่ต้องรอให้มีการคลอดบุตรได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ
อายุครรภ์ | อัตราประโยชน์ทดแทน (จ่ายเท่าอัตราจ่ายจริง) |
อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ | ไม่เกิน 500 บาท |
อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ไม่เกิน 20 สัปดาห์ | ไม่เกิน 300 บาท |
อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ไม่เกิน 28 สัปดาห์ | ไม่เกิน 200 บาท |
เอกสารขอเบิกค่าฝากท้องจากประกันสังคม
สำหรับคนที่ต้องการขอเบิกประกันสังคมสำหรับการขอฝากท้อง เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระไม่ต้องเสียค่าฝากครรภ์ สามารถเตรียมเอกสารและดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นการช่วยจบปัญหาว่าฝากท้องต้องเสียเงินไหมได้อย่างง่ายดายด้วยตัวเอง
- ดาวโหลดแบบฟอร์มคำขอรับผลประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม >> คลิก!
- เตรียมใบเสร็จจากการฝากท้องในแต่ละครั้ง
- เตรียมใบรับรองแพทย์หรือสมุดบันทึกการฝากท้อง
**กรณีที่ให้สามีเป็นผู้มาติดต่อแทน ให้เตรียมสำเนาทะเบียนการสมรสหรือหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส >> คลิก!
ส่งท้ายก่อนจาก #มีประกันสังคม ก็ไม่ต้องกังวลว่าการฝากท้องจะต้องเสียเงินไหมอีกต่อไป
จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าที่จริงแล้วการมีสิทธิประกันสังคม ถือว่าให้ความช่วยเหลือที่ครอบคลุมเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ข้อหนึ่งที่ช่วยได้อย่างแน่นอนคือ การลดความกังวลใจที่เกิดขึ้นจากข้อสงสัยว่าการฝากท้องประกันสังคมต้องเสียเงินไหม เพียงแค่นี้ก็เชื่อว่าคงจะช่วยให้ว่าที่คุณพ่อ คุณแม่มือมีความสบายใจมากขึ้นกว่าเดิมกันอย่างแน่นอน